@article{อิศรางกูร ณ อยุธยา_อิศรางกูร ณ อยุธยา_2019, title={ลักษณะการเจริญเติบโตของผลแก้วมังกร และปัจจัยบางประการที่มีผลต่อคุณภาพผล}, volume={47}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/249849}, abstractNote={<p>การศึกษานี้ต้องการศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตผลแก้วมังกรที่ปลูกในเขตพื้นที่สูง และผลของช่วงเวลาออกดอก ขนาดผล อายุผล ต่อคุณภาพผลแก้วมังกร โดยทำการคัดเลือกแก้วมังกรจำนวน 20 ต้น ซึ่งปลูกด้วยค้างเดี่ยวสูง 1.5 เมตร ทำการติดเครื่องหมายวันที่ดอกบานในแก้วมังกรจำนวน 120 ดอก ซึ่งมีการออกดอกสองช่วง คือ กลางเดือนกรกฎาคม และต้นเดือนสิงหาคม ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างผลที่อายุต่างๆ ต่อเนื่องโดยห่างกันประมาณ 4-7 วัน ตั้งแต่ผลมีอายุ 7 วัน จนถึง 41 วันหลังดอกบาน พบว่าการเจริญเติบโตของผลแก้วมังกรจากการประเมินด้วยนำ้หนักผลรวมและนำ้หนักเนื ้อเป็นการเจริญแบบ simple sigmoid curve ส่วนการศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตด้วยความกว้างและความยาวผลเป็นการเจริญแบบ double sigmoid curve ซึ่งแก้วมังกรที่ปลูกในเขตพื ้นที่สูงควรเก็บเกี่ยวเมื่อผลมีอายุ 33-35 วันหลังดอกบาน การเก็บเกี่ยวแก้วมังกรที่ 40 วันหลังดอกบาน พบว่าเนื ้อแก้วมังกรมีปริมาณ (total soluble solid, TSS) เพิ่มขึ้น และปริมาณ (titratable acidity, TA) ลดลง แต่ลักษณะเนื ้อมีอาการฉ่ำนำ้ไม่เหมาะกับการรับประทาน การเปรียบเทียบขนาดผลที่มีผลต่อคุณภาพผล พบว่าผลแก้วมังกรที่มีนำ้หนักมากกว่า 600 กรัมมีปริมาณ TSS และ TA สูงกว่าผลขนาดอื่นๆ นอกจากนี้การศึกษาจำนวนผลต่อกิ่งพบว่าผลที่ได้จากกิ่งที่มีผลเดียวมี TA น้อยกว่าผลที่มาจากกิ่งที่มีสองผล</p>}, number={3}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={อิศรางกูร ณ อยุธยา สุภัทร์ and อิศรางกูร ณ อยุธยา พรศุลี}, year={2019}, month={มิ.ย.}, pages={527–538} }