@article{พรแก้วประเสริฐ_สนิทชน_สุริหาร_จันทร์แก้ว_มอญขาม_2019, title={ความดีเด่นของข้าวลูกผสมเซบั้งไฟ 1 ภายใต้สภาพปกติและสภาพแล้งในระยะการเจริญเติบโตช่วงสืบพันธุ์}, volume={47}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/249956}, abstractNote={<p><span dir="ltr">พันธุ์ข้าวเซบั้งไฟ 1 เป็นข้าวเหนียว นิยมปลูกอย่างแพร่หลายในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชน</span><span dir="ltr">ลาว เนื่องจากมีคุณภาพการหุงต้มดี และให้ผลผลิตสูง นอกจากนี้ยังทนทานต่อน้ำ</span><span dir="ltr">ท่วมฉับพลัน แต่ยังมีข้อ</span><span dir="ltr">จำกัดในเรื่องความอ่อนแอต่อสภาพแล้ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความดีเด่นของลูกผสม </span><span dir="ltr">ในลักษณะผลผลิตและความทนแล้ง โดยใช้พันธุ์ข้าวเซบั้งไฟ 1 เป็นพันธุ์พ่อ และข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองของไทย</span><span dir="ltr">ที่มีรายงานความทนทานต่อสภาพความแล้งจำ</span><span dir="ltr">นวน 5 พันธุ์ ได้แก่ ULR 113, ULR 199, ULR 012, ULR </span><span dir="ltr">125 และ ULR 007 เป็นพันธุ์แม่ จากการศึกษาความดีเด่นของลูกผสมทั้ง 5 คู่ผสมในสภาพปกติและสภาพ</span><span dir="ltr">แล้ง พบว่าคู่ผสมระหว่างข้าวพันธุ์ ULR199 และพันธุ์ข้าวเซบั้งไฟ 1 ให้ค่าความดีเด่น Mid-parent heterosis </span><span dir="ltr">(MH) และ Better-parent heterosis (BH) ในสภาพแล้งของลักษณะผลผลิตทั้งหมดสูงกว่าคู่ผสมอื่นๆ (MH </span><span dir="ltr">= 221.2**, BH = 168.6**) นอกจากนี้ยังให้ค่า Mid-parent heterosis (MH) และ Better-parent heterosis </span><span dir="ltr">(BH) ในสภาพแล้งของลักษณะการม้วนใบ (MH = -22.66*,-32.69*) และใบตาย (MH = -21.4*,-32.5*) ที่ต่ำ</span><span dir="ltr">กว่าคู่ผสมอื่นๆ จึงเป็นคู่ผสมที่ดีที่สุด นอกจากนี้พบว่าเมื่ออยู่ในสภาพแล้งผลผลิตมีสหสัมพันธ์เชิงบวก กับ</span><span dir="ltr">ลักษณะทางการเกษตร เช่น เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี (r = 0.91**), น้ำ</span><span dir="ltr">หนัก 100 เมล็ด (r = 0.72**), ความยาวรวง </span><span dir="ltr">(r = 0.76**), จำ</span><span dir="ltr">นวนเมล็ดต่อรวง (r = 0.73**), จำ</span><span dir="ltr">นวนหน่อต่อกอ (r = 0.76**), จำ</span><span dir="ltr">นวนรวงต่อกอ (r = 0.73**), </span><span dir="ltr">มวลชีวภาพ (r = 0.90**), น้ำ</span><span dir="ltr">หนักแห้งราก (r = 0.82**), การฟื้นตัวข้าวอายุ 92 วัน (r = 0.77**) และค่าดัชนี</span><span dir="ltr">เก็บเกี่ยว (r = 0.91**) แต่ผลผลิตเมล็ดในสภาพแล้ง มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับลักษณะเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ (r = </span><span dir="ltr">-0.90**), คะแนนใบตาย (r = -0.46**), คะแนนม้วนใบ (r = -0.46**) และค่าศักย์ของน้ำ</span><span dir="ltr">ในข้าวอายุ 79 วัน (r = </span><span dir="ltr">-0.48**) ซึ่งค่าสัมประสิทธิ</span><span dir="ltr">์</span><span dir="ltr">ของสายสัมพันธ์เหล่านี้สามารถนำ</span><span dir="ltr">มาใช้เป็นลักษณะในการคัดเลือกข้าวทนแล้งได้.</span></p>}, number={5}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={พรแก้วประเสริฐ โพธิ์เพชร and สนิทชน จิรวัฒน์ and สุริหาร พลัง and จันทร์แก้ว สมพงศ์ and มอญขาม ธิดารัตน์}, year={2019}, month={ต.ค.}, pages={1005–1014} }