@article{รักษาศิริ_กันทรรศยศ_ทองคล้าย_ปิ่นทอง_นพรัตน์ไมตรี_แพงคำ_แดงสังวาลย์_2021, title={การพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตนมแพะพร้อมดื่มผสมน้ำตาลสดเพื่อสร้างอัตลักษณ์สินค้าเกษตรของจังหวัดเพชรบุรี}, volume={49}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250284}, abstractNote={<p>การพัฒนาผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตนมแพะพร้อมดื่มผสมน้ำตาลสดเพื่อสร้างอัตลักษณ์สินค้าเกษตรของจังหวัดเพชรบุรี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาช่วงเวลาของการบ่มต่อการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ การทดลองที่สองศึกษาการใช้สารให้ความหวานแตกต่างกัน ได้แก่ นมข้นหวาน นมข้นหวานร่วมกับนมอัลมอลด์ นมข้นหวานร่วมกับน้ำตาลสด นมอัลมอลด์ร่วมกับน้ำตาลสด นมอัลมอลด์ และน้ำตาลสด รวมถึงการยอมรับของผู้บริโภค การศึกษาระยะการบ่ม พบว่า ค่าความหวานมีค่าลดลงในระยะเวลาการบ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ค่าความหนืดและค่าความแข็งของโยเกิร์ตมีค่าสูงขึ้นเมื่อระยะเวลาการบ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (P<0.05) ค่าความเป็นกรดด่างของในกลุ่มทดลองที่ 4 5 และ 6 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขณะที่ค่าความหวาน ในวันที่ 28 ในกลุ่มทดลองที่ใช้น้ำตาลสดมีค่าความหวานสูงกว่า กลุ่มที่ 2 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ค่าการสะท้อนกลับของแสงสีแดง (a*) และค่าความหนืด กลุ่มทดลองที่ใช้น้ำตาลสดมีค่าสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และการศึกษาการยอมรับได้ของผู้บริโภค พบว่า การยอมรับสี กลิ่น และรสชาติของโยเกิร์ตที่ใช้น้ำตาลสดมากกว่ากลุ่มที่ 1 4 และ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่เนื้อสัมผัส และการยอมรับโดยรวม พบว่าผู้บริโภคให้การยอมรับกลุ่มที่ใช้น้ำตาลสดมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อย่างไรก็ดีผู้บริโภคให้การยอมรับ สี กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาติ และการยอมรับโดยรวมในกลุ่มทดลองที่ใช้น้ำตาลสดในระดับชอบมาก (5.30-6.15)</p>}, number={6}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={รักษาศิริ ภูธฤทธิ์ วิทยาพัฒนานุรักษ์ and กันทรรศยศ กีรตยา and ทองคล้าย คมกฤช and ปิ่นทอง วัชรา and นพรัตน์ไมตรี มนัสนันท์ and แพงคำ ศิวพร and แดงสังวาลย์ ณนนท์}, year={2021}, month={ส.ค.}, pages={1644–1657} }