@article{อินทจักร์_สมมิตร_มณีพิทักษ์สันติ_2021, title={ปรสิตภายนอกของปลากดเกราะจาก ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่}, volume={50}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250707}, abstractNote={<p>ปลากดเกราะ (<em>Pterygoplichthys</em> <em>disjunctivus</em>) จัดเป็นปลาต่างถิ่นที่มีรายงานการพบได้บ่อยครั้งจากแหล่งน้ำของประเทศไทย และอาจเป็นแหล่งแพร่โรคสัตว์น้ำได้โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากปรสิต ดังนั้นการศึกษาการแพร่กระจายของปรสิตจากปลากดเกราะ อาจสามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการควบคุม ป้องกันโรคในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ จากการเก็บรวบรวมตัวอย่างปลากดเกราะในบ่อดินภายในศูนย์วิจัย สาธิต และอบรมการเกษตรแม่เหียะโดยการลงข่ายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือน มกราคม 2563 ถึง มกราคม 2564 ตัวอย่างปลาถูกสลบด้วยน้ำแข็ง ชั่งน้ำหนัก วัดความยาว และตรวจหาปรสิตภายนอก จากตัวอย่างปลาทั้งหมด 58 ตัว มีความยาวมาตรฐานเฉลี่ย 27.0±4.10 (20.5-40.0) ซม. มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 419.6±192.3 (190.0-1250.0) กรัม ค่าความชุกชุมของตัวอย่างปลาที่พบปรสิตเท่ากับร้อยละ 60 (35/58) ค่าความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 14 ปรสิตที่พบจัดจำแนกเป็นปรสิตปลิงใส 2 ชนิด (<em>Heteropriapulus</em> sp. และ <em>Trinigyrus</em> sp.) จากเหงือกปลา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนปรสิตกับความยาวปลา และน้ำหนักตัวปลา พบว่ามีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) (R=-0.41 และ R=-0.28) โดยขนาดปลาที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ปรสิตมีจำนวนน้อยลง  นอกจากนี้อุณหภูมิน้ำส่งผลต่อจำนวนการติดเชื้อของปลากดเกราะอย่างมีนัยสำคัญที่ (P<0.05) (R=0.65) โดยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทำให้พบปลาติดเชื่อเพิ่มสูงขึ้น การศึกษาในครั้งนี้จัดเป็นการพบปรสิต <em>Heteropriapulus </em>sp. และ <em>Trinigyrus</em> sp. เป็นครั้งแรกในประเทศไทย</p>}, number={2}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={อินทจักร์ สุรศักดิ์ and สมมิตร นภสินธุ์ and มณีพิทักษ์สันติ วรวิทย์}, year={2021}, month={ส.ค.}, pages={362–370} }