@article{ชมชิด_เจมส์ แมกกอฟเวิ่น_ชีวังกูร_โตอนันต์_2020, title={ประสิทธิภาพของเชื้อราสกุล Chaetomium ในการควบคุมโรครากเน่าของส้มเขียวหวาน}, volume={48}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/251270}, abstractNote={<p>แยกเชื้อราไฟทอฟธอรา (<em>Phytophthora</em> spp.) สาเหตุโรครากเน่าจากดินที่เก็บจากบริเวณรากส้มที่แสดงอาการของโรค ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 25 ไอโซเลท และนำมาทำการทดสอบความสามารถในการเกิดโรคบนใบส้มโดยการปลูกเชื้อบนใบส้มด้วยชิ้นเชื้อสาเหตุโรคโดยวิธี Detached leaf พบ เชื้อราไฟทอฟธอราที่มีความสามารถในการทำให้เกิดโรคบนใบส้มในระดับที่รุนแรง 3 ไอโซเลท ได้แก่ YY002 WF185 และ PS85 จากนั้นทดสอบความต้านทานของเชื้อราไฟทอฟธอราต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราเมทาแลกซิล พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 250 ppm ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราไฟทอฟธอราไอโซเลท YY002 เมื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาพบว่า เชื้อราไฟทอฟธอรา มีลักษณะที่ตรงกับเชื้อรา <em>Phytophthora parasitica</em> ทำการแยกเชื้อราปฏิปักษ์คีโตเมียม (<em>Chaetomium</em> spp.) จากตัวอย่างดินและวัสดุทางการเกษตร ได้ 25 ไอโซเลท และศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อราคีโตเมียมในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าของส้ม ด้วยวิธี Dual culture บนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA พบว่า เชื้อราคีโตเมียมไอโซเลท HT1 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา <em>P. parasitica</em> ไอโซเลท YY002 ได้ดีที่สุด คือ 64.56 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการศึกษาสารสกัดจากเชื้อราคีโตเมียมไอโซเลท HT1 พบว่า สารสกัดหยาบที่สกัดด้วยเอทิล อะซิเตท ระดับความเข้มข้น 1,000 ppm สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและการสร้าง chlamydospore ของเชื้อราสาเหตุโรคได้สูงที่สุดโดยมีค่า ED<sub>50</sub> ของการยับยั้งการเจริญเติบโตเท่ากับ 12.65 ppm และมีค่า ED<sub>50</sub> ของการยับยั้งการสร้าง chlamydospore เท่ากับ 38.28 ppm</p>}, number={3}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={ชมชิด สุณิสา and เจมส์ แมกกอฟเวิ่น โรเบิร์ต and ชีวังกูร รัชดาวรรณ and โตอนันต์ ชัยวัฒน์}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={651–660} }