@article{อาจบุราย_ตังควานิช_2021, title={ผลของอุณหภูมิต่ำต่อการเก็บรักษาดักแด้แมลงวันบ้านเพื่อการเลี้ยงเพิ่มปริมาณ และการเบียนของแตนเบียนดักแด้แมลงวันบ้าน (Spalangia gemina Boucek)}, volume={50}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/251796}, abstractNote={<p>การศึกษาการเก็บดักแด้เพื่อชะลอการเจริญเติบโตของแมลงวันบ้านจำเป็นต่อการเลี้ยงเพิ่มปริมาณในห้องปฏิบัติการและการเลี้ยงเพิ่มปริมาณแตนเบียนดักแด้แมลงวันบ้าน การศึกษาในครั้งนี้ทดสอบการชะลอฟักของดักแด้แมลงวันบ้านเพื่อการเลี้ยงเพิ่มปริมาณ ด้วยอุณหภูมิต่ำ ได้แก่ 8, 12 และ 16°C โดยเปรียบเทียบข้อมูลทางชีววิทยากับแมลงวันบ้านที่เลี้ยงในอุณหภูมิ 25°C โดยทดสอบกับดักแด้อายุ 2 และ 4 วัน เป็นเวลา 1-4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อระยะเวลาการเก็บดักแด้นานขึ้น อัตราการฟักเป็นตัวเต็มวัย และอายุของตัวเต็มวัยลดลง การเก็บรักษาดักแด้แมลงวันบ้านเป็นเวลา 1 สัปดาห์ มีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าระยะเวลาการเก็บอื่นๆ และดักแด้อายุ 4 วัน สามารถชะลอการฟักได้ทั้ง 3 อุณหภูมิ และมีการรอดชีวิตสูงกว่าดักแด้อายุ 2 วัน โดยอุณหภูมิ 12°C มีการรอดชีวิตใกล้เคียงกับตัวเต็มวัยมากที่สุด ส่วนการชะลอการเจริญเติบโตของดักแด้อายุ 1 วัน เพื่อใช้ในการเบียนของแตนเบียนดักแด้แมลงวันบ้าน โดยการเปรียบเทียบ ระหว่างอุณหภูมิ 0 และ 12°C พบว่า ดักแด้ที่เก็บรักษาในอุณหภูมิ 12°C มีอัตราการเบียนของแตนเบียนดักแด้แมลงวันบ้านสูงกว่าการเก็บที่อุณหภูมิ 0°C โดยการเก็บรักษาดักแด้ที่อุณหภูมิ 12°C เป็นเวลา 1 สัปดาห์ มีอัตราการเบียนสูงและสัดส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียของแตนเบียนในรุ่นลูกใกล้เคียงกับดักแด้ที่เลี้ยงในอุณหภูมิ 25°C ที่ไม่มีการชะลอฟัก โดยอัตราการเบียนลดลงเมื่อระยะเวลาการเก็บรักษาดักแด้นานขึ้น ดังนั้นการใช้อุณหภูมิต่ำในระดับ 12°C ระยะเวลา 1 สัปดาห์ ในการเก็บรักษาดักแด้แมลงวันบ้านจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยชะลอพัฒนาการของแมลงวันบ้านเพื่อการจัดการเลี้ยงเพิ่มปริมาณแมลงวันบ้าน และการผลิตแตนเบียน</p>}, number={4}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={อาจบุราย วรัญญา and ตังควานิช อุบล}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={922–931} }