@article{พัสว่าง_อัครมธุรากุล_ส่งเสริม_พารักษา_2020, title={ผลของเกลือบิวทิเรตต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะสัณฐานวิทยาของลำไส้และปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในไส้ตันของไก่เนื้อ}, volume={48}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/251883}, abstractNote={<p>การศึกษาผลของเกลือบิวทิเรตในรูปต่างกันต่อสมรรถภาพเจริญเติบโต ลักษณะสัณฐานวิทยาของลำไส้ ตลอดจนปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในไส้ตันของไก่เนื้อ โดยใช้ไก่เนื้อพันธุ์ Ross 308 อายุ 1 วัน จำนวน 1,248 ตัว ภายใต้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ทำการแบ่งไก่เนื้อออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ซ้ำ ซ้ำละ 26 ตัว โดยมีเพศผู้และเมียจำนวนเท่ากัน สุ่มไก่ให้ได้รับอาหารทดลองดังนี้ สูตรที่ 1 อาหารควบคุมประกอบด้วยข้าวโพดและกากถั่วเหลืองเป็นหลัก สูตรที่ 2-4 เป็นอาหารควบคุมที่มีการเสริมสารปฏิชีวนะระดับเร่งการเจริญเติบโต (ฟลาโวมัยซิน) ที่ระดับ 8 มก./กก. อาหาร, เสริมเกลือโซเดียมบิวทิเรตที่ระดับ 1000 มก./กก.อาหาร และเกลือแคลเซียมบิวทิเรตที่ระดับ 300 มก./กก.อาหาร ตามลำดับ การเสริมสารปฏิชีวนะระดับเร่งการเจริญเติบโตส่งผลให้ไก่เนื้อในระยะเล็ก (อายุ 1-10 วัน) มีค่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (<em>P<0.01</em>) ในขณะที่การเสริมเกลือบิวทิเรตมีผลต่อการเจริญเติบโตอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีแนวโน้มทำให้การเจริญเติบโตของไก่เนื้อในช่วงอายุ 21-35 วันดีขึ้น (P = 0.06) อย่างไรก็ตามการเสริมเกลือบิวทิเรตทั้ง 2 รูปแบบส่งผลให้ค่าความลึกของคริปท์จากลำไส้ส่วนเจจูนัมมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เสริมสารปฏิชีวนะ แต่ไม่มีผลต่อความสูงของวิลไล นอกจากนี้การเสริมเกลือบิวทิเรตทำให้จำนวนจุลินทรีย์ที่สร้างกรด แลคติคมีค่าลดลงและจำนวนเชื้อซัลโมเนลลาเพิ่มขึ้น (P<0.01) ในไก่เนื้ออายุ 20 วัน แต่ไม่มีผลในไก่เนื้ออายุ 35 วัน</p>}, number={4}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={พัสว่าง อำภารัตน์ and อัครมธุรากุล ภคอร and ส่งเสริม ทวีศักดิ์ and พารักษา นวลจันทร์}, year={2020}, month={ส.ค.}, pages={733–742} }