@article{สุทธิลักษณ์_สุวอ_สุริหาร_หาระโคตร_2020, title={ความสามารถในการรวมตัวสำหรับผลผลิตและคุณภาพการบริโภคในสายพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษยีนด้อยร่วมที่พัฒนาจากเชื้อพันธุกรรมต่างประเทศ }, volume={48}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/252067}, abstractNote={<p>การเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยเชื้อพันธุกรรมจากต่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการรวมตัวสำหรับผลผลิตและคุณภาพการบริโภคในสายพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษยีนด้อยร่วมที่พัฒนาจากเชื้อพันธุกรรมต่างประเทศชั่วรุ่น S<sub>4 </sub>จำนวน 18 สายพันธุ์ สร้างคู่ผสมด้วยวิธีการผสมข้ามกับพันธุ์ทดสอบ 2 พันธุ์ ได้คู่ผสมทั้งหมด 36 คู่ผสม ทำการปลูกประเมินในฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2562/2563 จำนวน 2 สถานที่ทดสอบ จากผลการศึกษา พบว่า ความแปรปรวนอันเนื่องมาจากอิทธิพลของยีนแบบข่มสูงกว่าแบบผลบวกสะสม ในทุกลักษณะที่ทำการศึกษา ยกเว้น ความกว้างและความยาวฝัก ซึ่งการคัดเลือกลักษณะดังกล่าวควรทำในชั่วรุ่นหลังๆ สายพันธุ์ L<sub>2</sub> L<sub>3</sub> และ L<sub>18</sub> มีค่าความสามารถในการรวมตัวทั่วไป (GCA) สูงสุดในลักษณะผลผลิต ในขณะที่สายพันธุ์ L<sub>3</sub> L<sub>9</sub> L<sub>16</sub> และ L<sub>18</sub> มีค่า GCA สูงสุด สำหรับลักษณะรสชาติ ความนุ่ม ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และความหวาน ตามลำดับ นอกจากนี้ คู่ผสมที่มีค่าเฉลี่ยและความสามารถในการรวมตัวเฉพาะสูงเกิดจากการผสมข้ามระหว่างพันธุ์ทดสอบและสายพันธุ์ S<sub>4</sub> ที่มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปสูง หรือมาจากข้างใดข้างหนึ่งที่มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปสูง จากการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่า สายพันธุ์ L<sub>18</sub> มีศักยภาพสำหรับพัฒนาเป็นสายพันธุ์แท้ข้าวโพดหวานพิเศษที่มียีนด้อยร่วม และสร้างลูกผสมเดี่ยวที่มีผลผลิตและคุณภาพการบริโภคสูงต่อไป</p>}, number={6}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={สุทธิลักษณ์ วริษา and สุวอ พัชราภรณ์ and สุริหาร พลัง and หาระโคตร พรชัย}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={1216–1229} }