@article{คงศรี_นาถวรานันต์_บุญประกอบ_2020, title={การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสรีรวิทยาและสัณฐานวิทยาในฝรั่งพันธุ์การค้าของประเทศไทยภายใต้สภาวะน้ำท่วมขัง}, volume={48}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/252068}, abstractNote={<p>วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาวะน้ำท่วมขังต่อลักษณะทางสรีรวิทยาและสัณฐานวิทยาของฝรั่งพันธุ์การค้าจำนวน 3 พันธุ์ คือ พันธุ์หวานพิรุณ พันธุ์แป้นสีทอง และพันธุ์กิมจู เมื่อต้นฝรั่งมีอายุ 4 เดือน จะได้รับสภาวะการท่วมน้ำเป็นเวลา 10 สัปดาห์ (ระดับน้ำสูงจากผิวดิน 10 เซนติเมตร) ทำการประเมินค่าอัตราการสังเคราะห์แสง ค่าความเขียวใบ และค่าความยาวยอดที่เพิ่มขึ้น ทุก ๆ 2 สัปดาห์ จนสิ้นสุดการทดลอง จากนั้นทำการประเมินค่าน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของลำต้นและราก จำนวนใบ และค่าพื้นที่ใบ ในสัปดาห์ที่ 10 หลังการท่วมน้ำ พบว่าการท่วมน้ำมีอิทธิพลต่อค่าอัตราการสังเคราะห์แสงและความยาวยอดที่เพิ่มขึ้นของแต่ละพันธุ์ โดยในสภาวะปกติพบว่าฝรั่งพันธุ์กิมจูมีค่าอัตราการสังเคราะห์แสงและค่าความยาวยอดที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุด แต่ในสภาวะน้ำท่วมขังพบว่าฝรั่งทั้ง 3 พันธุ์ มีค่าอัตราการสังเคราะห์แสงและค่าความยาวยอดที่เพิ่มขึ้นลดลง โดยอัตราการสังเคราะห์แสงและความยาวยอดที่เพิ่มขึ้นมีค่าลดลง 79.3-93.0 เปอร์เซ็นต์ และ 51.1-77.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับการเจริญเติบโตของต้นฝรั่ง พบว่าสภาวะการท่วมน้ำมีผลทำให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นและราก จำนวนใบ และพื้นที่ใบ ลดลงประมาณ 49.0-75.6 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ความเขียวใบที่มีค่าลดลงเพียง 9.2 เปอร์เซ็นต์ โดยฝรั่งพันธุ์หวานพิรุณมีค่าความเขียวใบและค่าการเจริญเติบโตของต้นและรากน้อยที่สุด ในขณะที่พันธุ์แป้นสีทองและกิมจูมีค่าการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน การสร้างช่องเปิดพิเศษและรากพิเศษบนลำต้นตรงบริเวณระดับน้ำพบเฉพาะในพันธุ์แป้นสีทองและพันธุ์กิมจูเท่านั้น โดยพบในวันที่ 66-70 หลังจากที่ท่วมน้ำ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าฝรั่งพันธุ์แป้นสีทองและกิมจูมีความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมขังมากกว่าพันธุ์หวานพิรุณ</p>}, number={6}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={คงศรี เสาวณี and นาถวรานันต์ พงษ์นาถ and บุญประกอบ อุณารุจ}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={1230–1241} }