@article{ขุนอินทร์_2020, title={การศึกษาประชากรไส้เดือนฝอยศัตรูข้าวและระดับรุนแรงของโรคในพื้นที่ปลูกข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา}, volume={48}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/252079}, abstractNote={<p>ไส้เดือนฝอยรากปม <em>Meloidogyne</em> sp. เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของข้าวไร่และข้าวนาน้ำฝนมีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคกลาง ซึ่งมีพื้นที่การปลูกข้าวสูงเป็นอันดับต้นๆของประเทศ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาไส้เดือนฝอยในแหล่งพื้นที่ปลูกข้าวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเก็บตัวอย่างรากและดินจำนวนทั้งสิ้น 40 ตัวอย่างมาแยกไส้เดือนฝอยด้วยเทคนิค Christie and Perry และจำแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยาโดยการทำ perineal pattern สามารถจำแนกไส้เดือนฝอยได้เป็น 3 สกุล คือ <em>Meloidogyne</em> sp., <em>Hirschmanniella</em> sp. และ <em>Helicotylenchus</em> sp. ตามลำดับ จากนั้นทดสอบความรุนแรงในการก่อให้เกิดโรคกับข้าวสายพันธุ์สุพรรณบุรี พบว่าไส้เดือนฝอยสกุล <em>Meloidogyne</em> sp. สามารถก่อให้เกิดอาการรากปมได้ในระดับสูง (ระดับ 5) และมีรากปมที่แตกต่างกัน เมื่อทำการตรวจสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยาและจำแนกสายพันธุ์ พบว่าเป็นไส้เดือนฝอย 2 ชนิด คือ <em>M. graminicola</em> มีการสร้างปมบริเวณปลายรากทำให้ปลายรากม้วนงอ และ <em>M. incognita</em> การสร้างปมบริเวณทุกส่วนของราก จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบถึงสกุลและชนิดของไส้เดือนฝอยที่เข้าทำลายข้าว รวมไปถึงลักษณะอาการที่แตกต่างกัน เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาและหาแนวทางป้องกันได้ต่อไป</p>}, number={6}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={ขุนอินทร์ อมรศรี}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={1347–1383} }