@article{สุนทรชัย_รัตนานิคม_พรมอุทัย_คงปั้น_2021, title={อิทธิพลของการทำนาแบบเปียกสลับแห้งต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดข้าวที่ปลูกในเนื้อดินแตกต่างกัน}, volume={49}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/252588}, abstractNote={<p>ปัจจุบันปัญหาที่สำคัญในการทำนาของประทศไทยคือการขาดแคลนน้ำ จึงได้มีการส่งเสริมเทคโนโลยีการทำนาแบบเปียกสลับแห้งให้เกษตรกรเพื่อประหยัดการใช้น้ำในการทำนาในสภาวะที่มีน้ำชลประทานอย่างจำกัด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอิทธิพลของการทำนาแบบเปียกสลับแห้งและวิธีทำนาแบบปกติ ต่อผลผลิตข้าวและคุณภาพเมล็ดข้าว ซึ่งปลูกในเนื้อดินที่แตกต่างกัน 3 ประเภท โดยปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ในพื้นที่แตกต่างกัน 3 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีเนื้อดินและคุณสมบัติของดินแตกต่างกัน ประกอบด้วยดินเนื้อละเอียด ดินเนื้อปานกลาง และดินเนื้อหยาบ ทำนาแบบปกติในแต่ละพื้นที่และขังน้ำตลอดฤดูเพาะปลูก เปรียบเทียบกับการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง พบว่า การทำนาแบบเปียกสลับแห้งช่วยลดปริมาณการใช้น้ำได้ 703 ลบ.ม./ไร่ ในดินเนื้อละเอียด 791 ลบ.ม./ไร่ ในดินเนื้อปานกลาง และ 848 ลบ.ม./ไร่ ในดินเนื้อหยาบ การทำนาแบบเปียกสลับแห้งในเนื้อดินทุกประเภทไม่ส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตของข้าวและไม่มีผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพการขัดสีของเมล็ดข้าว การทำนาแบบเปียกสลับแห้งไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดข้าว ในปริมาณอะมิโลสในเมล็ด และอุณหภูมิแป้งสุกที่วัดด้วยค่าการสลายเมล็ดในด่าง การทำนาแบบประหยัดน้ำนี้ยังช่วยให้คุณภาพการขัดสีดีขึ้นด้วยการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ต้นข้าว แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวในดินเนื้อละเอียด และดินเนื้อปานกลางนี้แสดงให้เห็นว่าการทำนาแบบเปียกสลับแห้งสามารถประหยัดน้ำในการทำนาได้จริง โดยไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดข้าว ในขณะที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขัดสีจากการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวได้</p>}, number={5}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={สุนทรชัย สุจิรา and รัตนานิคม คคนางค์ and พรมอุทัย ชนากานต์ and คงปั้น อยุธย์}, year={2021}, month={ต.ค.}, pages={1259–1267} }