@article{นามภักดี_พลโยราช_2021, title={การใช้จุลินทรีย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้ผลผลิตในสัตว์เคี้ยวเอื้อง}, volume={49}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/252730}, abstractNote={<p>บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำใช้จุลินทรีย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้ผลผลิตในสัตว์เคี้ยวเอื้อง จุลินทรีย์ถูกนำมาใช้มีหลายวัตถุประสงค์ รวมถึงช่วยปรับปรุงโภชนะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มองค์ประกอบของโปรตีนและลดองค์ประกอบของเยื่อใยของอาหารสัตว์ โดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่เพิ่มแหล่งของโปรตีนที่สำคัญ ประกอบด้วยกลุ่มเชื้อยีสต์ <em>Saccharomyces cerevisiae</em> เชื้อรา <em>Rhizopus oryzae</em>, <em>Aspergillus niger</em> และแบคทีเรีย <em>Lactobacillus delbruckii</em>, <em>Bacillus </em>spp. มีคุณสมบัติในการย่อยโปรตีนและเปลี่ยนไปเป็นเปปไทด์ กรดอะมิโน และแอมโมเนีย นอกจากนี้จุลินทรีย์ที่ช่วยลดเยื่อใยประกอบด้วยเชื้อราที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลส เช่น <em>Trichoderma harzianum</em> กลุ่มที่ผลิตเอนไซม์อะไมเลส เช่น <em>R. oryzae</em> และมีกลุ่มของเชื้อราที่สามารถผลิตเอมไซม์ย่อยเยื่อใยที่สำคัญอีก ได้แก่ <em>A. niger</em>, <em>A. oryzae</em>, <em>A. phoenicis</em> และแบคทีเรีย <em>Penicilium </em>sp. การใช้จุลินทรีย์ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการหมักภายในกระเพาะรูเมน ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตที่สำคัญต่อตัวสัตว์ ได้แก่ กรดไขมันระเหยได้ (volatile fatty acid, VFA), แอมโมเนียไนโตรเจน (ammonia nitrogen, NH<sub>3</sub>-N) และการสังเคราะห์จุลินทรีย์โปรตีน (microbial protein synthesis) เนื่องจากคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้นจุลินทรีย์จึงนิยมนำมาใช้ในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มศักยภาพในการเพิ่มการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ การย่อยได้ของโภชนะ เพิ่มผลผลิตทั้งทางด้านน้ำนมและคุณภาพเนื้อ อย่างไรก็ตามการนำจุลินทรีย์มาใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้ง สภาวะแวดล้อม ปริมาณ วัสดุที่ใช้ สัดส่วนของอาหารหยาบต่ออาหารข้น รวมไปถึงความเหมาะสมต่อการนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง</p>}, number={6}, journal={วารสารแก่นเกษตร}, author={นามภักดี รัศมี and พลโยราช สินีนาฏ}, year={2021}, month={พ.ย.}, pages={1628–1643} }