TY - JOUR AU - ระดาไสย, ยุพดี AU - แก้วประดิษฐ์ พลพินิจ, วรรณวิภา PY - 2021/04/29 Y2 - 2024/03/28 TI - การประเมินการดูดใช้และประสิทธิภาพธาตุอาหารของอ้อยสายพันธุ์ต่างๆ ภายใต้สภาพดินทรายที่ได้รับน้ำชลประทาน JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 49 IS - 6 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/248829 SP - 1402-1409 AB - <p>งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูดใช้ธาตุอาหารและประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในอ้อยพันธุ์ต่างๆ ภายใต้สภาพดินทราย ดำเนินการทดลอง ณ หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2561 - พฤศจิกายน 2562 โดยใช้อ้อยพันธุ์ KK3, KKU99-02, KKU99-03, UT12, UT13 และ Kps01-12 ให้น้ำชลประทานด้วยระบบน้ำหยดตามความต้องการของอ้อย โดยรักษาความชื้นดินที่ระดับความจุความชื้นสนาม &nbsp;ให้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ และให้ปุ๋ยครั้งที่ 2 ตามค่าวิเคราะห์ดิน (ไนโตรเจน และโพแทสเซียม 7.36 และ 8.96 กก./ไร่) เมื่ออ้อยอายุได้ 6 เดือน &nbsp;วิเคราะห์ปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในใบและลำต้นอ้อย ที่อายุ 4, 6, 8, 10 และ 12 เดือนหลังปลูก ที่ระยะเก็บเกี่ยวอ้อยคำนวณประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหาร ผลการทดลองพบว่า ที่อายุ 4 และ 6 เดือน อ้อยพันธุ์ UT12 มีความสามารถในการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงที่สุดแต่ไม่แตกต่างกับอ้อยพันธุ์ KKU99-02 &nbsp;นอกจากนี้ที่ระยะเก็บเกี่ยวอ้อยปลูก (อายุ 12 เดือน) พบว่าอ้อยพันธุ์ UT12 มีปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจนได้สูงที่สุด แต่ไม่แตกต่างจากอ้อยพันธุ์ ขอนแก่น 3 UT13 และ KPS01-12&nbsp; ปริมาณการดูดใช้ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม รวมทั้งประสิทธิภาพการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ทั้งนี้เมื่ออ้อยได้รับน้ำตามความต้องการตลอดการเจริญเติบโตอ้อยสามารถดูดธาตุอาหารไนโตรเจนได้สูง 30-70 กก./ไร่ ฟอสฟอรัส 10-19 กก./ไร่ และโพแทสเซียม 50-100 กก./ไร่&nbsp; และมีค่าประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารเชิงสรีรวิทยา ธาตุไนโตรเจนอยู่ที่ 154 – 234, ฟอสฟอรัส 619-776 และ โพแทสเซียม 120-164 (กก./กก.)</p> ER -