TY - JOUR AU - ตวงสิทธิตานนท์, คมสัน AU - ดวงจินดา, มนต์ชัย AU - แพงไพรี, พีระพงษ์ PY - 2021/06/09 Y2 - 2024/03/29 TI - อิทธิพลของรูปแบบยีน IGF2 ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและลักษณะซากในสุกร JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 49 IS - 6 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/248866 SP - 1597-1608 AB - <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของจีโนไทป์ยีน IGF2 ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และลักษณะซากในสุกร โดยศึกษาตามสภาพจริงภายในฟาร์มสุกรเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา สุกรที่ศึกษาเป็นสุกรสายพ่อพันธุ์สำหรับผลิตสุกรขุน ได้แก่ สายพันธุ์ดูร็อค (DR) เปียเทรน (PT) และลูกผสมระหว่างเปียเทรนและดูร็อค (PTxDR) ข้อมูลที่ศึกษาเป็นบันทึกจากการทดสอบพันธุ์ในฟาร์มช่วงปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2551 โดยเป็นข้อมูลที่ได้จากการทดสอบพันธุ์ที่ช่วงอายุ 22-24 สัปดาห์ น้ำหนักในช่วง 90 - 110 กก. เลี้ยงแบบแยกเพศ และให้อาหารที่มีโภชนะตามความต้องการของสุกรตามช่วงอายุตลอดการทดสอบ ข้อมูลจีโนไทป์ของยีน IGF2 เป็นข้อมูลจากการวิเคราะห์ผล DNA โดยตรงและเป็นข้อมูลการทำนายจีโนไทป์จากพันธุ์ประวัติของพ่อแม่ ทำการศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโต ประกอบด้วยความยาวลำตัว (BL) ความกว้างไหล่ (SW) ความกว้างลำตัว (BW) และจำนวนวันเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสิ้นสุดการทดสอบ (DTF) และลักษณะซาก ได้แก่ เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง (aLEAN) ความหนาไขมันสันหลัง (aFD) และพื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (aLMA) ถูกใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า อัลลีล B ของ IGF2 จากพ่อ มีผลต่อ aLEAN เพียงอัลลีลเดียวเท่านั้น (P&lt;0.05) ยกเว้นลักษณะ aFD และ HW ได้รับอิทธิพลจากอัลลีล B จากพ่อและแม่ร่วมกัน (P&lt;0.05) นอกจากนี้ยังพบอีกว่า อัลลีล B จากพ่อมีผลต่อการเพิ่ม aLEAN เท่ากับ 0.58% (P&lt;0.05) อย่างไรก็ตาม อัลลีล B จากพ่อและแม่ ไม่มีอิทธิพลต่อลักษณะอื่นๆ (P&gt;0.05) ในขณะที่การปรับอิทธิพลของอัลลีล B ในโมเดล เพื่อเปรียบเทียบผลของยีน IGF2 ต่อลักษณะต่างๆ พบว่า การปรับอิทธิพลของอัลลีล B หรือไม่ก็ตาม รูปแบบจีโนไทป์ BB ของยีน IGF2 มีผลต่อที่ดีลักษณะ aFD และ HW อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) ในทางตรงข้าม การไม่ปรับอิทธิพลอัลลีล B ทำให้รูปแบบจีโนไทป์ BB ของ IGF2 มีผลต่อลักษณะ aLEAN (P&lt;0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) การศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่า การควบคุมแบบ maternal imprinting เกิดขึ้นในลักษณะ aLEAN เท่านั้น และการปรับปรุงลักษณะความหนาไขมันสันหลังและความกว้างสะโพก สามารถพัฒนาให้ดีขึ้น ด้วยการใช้รูปแบบจีโนไทป์ BB ของยีน IGF2 เป็น candidate gene ในการคัดเลือกสุกรได้ &nbsp;</p> ER -