TY - JOUR AU - วิมูลชาติ, พัชนี AU - ชุติมานุกูล, พฤกษ์ AU - เทพศิลปวิสุทธิ์, อรประภา PY - 2021/07/01 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของมูลโคและมูลสุกรต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของแหนแดง (Azolla microphylla) JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 49 IS - 6 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/249267 SP - 1364-1374 AB - <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนของการใช้มูลโคและมูลสุกรที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และปริมาณธาตุอาหารในแหนแดง เพื่อเป็นแนวทางให้กับเกษตรกรสำหรับการเพาะเลี้ยงแหนแดงต่อไป วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 6 สิ่งทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ ได้แก่ T1: ไม่ใส่มูลสัตว์ (ควบคุม) T2: ใส่มูลโคเพียงอย่างเดียว T3: ใส่มูลสุกรเพียงอย่างเดียว และ T4-T6: ใส่มูลโคร่วมกับมูลสุกรอัตราส่วน 25:75, 50:50 และ 75:25 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เพาะเลี้ยงแหนแดงในบ่อซีเมนต์เป็นระยะเวลา 30 วัน จากผลการทดลองพบว่า การใส่มูลโคร่วมกับมูลสุกรในทุกอัตราส่วนทำให้แหนแดงมีน้ำหนักสดรวมมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีค่าอยู่ในช่วง 1,890.07-1,824.60 กรัมต่อตารางเมตร ทั้งนี้แม้ว่าการให้ปุ๋ยมูลสัตว์ทุกชนิดทำให้น้ำหนักแห้งสุทธิรวมมีค่ามากกว่าการไม่ให้ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างการให้ปุ๋ยมูลสัตว์ที่แตกต่างกัน โดยทำให้แหนแดงมีน้ำหนักแห้งสุทธิรวมอยู่ในช่วง 21.49-22.20 กรัม ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณธาตุอาหารหลัก (N+P+K) ที่พบว่า การให้ปุ๋ยทุกชนิดทำให้ปริมาณธาตุอาหารหลักรวมมีค่าไม่แตกต่างกัน (1.46-1.74 กรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง) อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า การให้ปุ๋ยมูลสุกรเพียงอย่างเดียวทำให้แหนแดงมีการสะสมของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสทั้งหมดมากที่สุด คือ 3.97 และ 0.56 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่การให้ปุ๋ยมูลโคเพียงอย่างเดียวหรือปุ๋ยมูลโคร่วมกับมูลสุกรอัตราส่วน 50:50 โดยน้ำหนัก ทำให้แหนแดงมีการสะสมของปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดมากที่สุด คือ 4.58 และ 4.29 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ&nbsp;</p> ER -