TY - JOUR AU - ไกรทัศน์, เศรษฐ์ AU - เมฆสัมพันธ์, เชษฐพงษ์ AU - สมัชชานนท์, ทรงเผ่า AU - มั่นธรรม, เยาวลักษณ์ AU - เรืองสอน, ชาคริต AU - เวชสิทธิ์, อรอิงค์ AU - ถาวรโสตร์, ณิศรา PY - 2021/02/15 Y2 - 2024/03/28 TI - การประเมินการปนเปื้อน และการฟื้นตัวของสัตว์ทะเลกลุ่มปลาและครัสเตเชียน จากสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน ภายหลังเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดระยอง JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 49 IS - 1 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/249334 SP - 223-233 AB - <p>การประเมินการปนเปื้อน และการฟื้นตัวของสัตว์ทะเลกลุ่มปลา (Fishes) และครัสเตเชียน (Crustaceans) จากสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน ภายหลังเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดระยอง ดำเนินการเก็บตัวอย่างสัตว์ทะเล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มปลาและกลุ่มครัสเตเชียน จากประมงพื้นบ้าน แล้วทำการสกัดด้วยวิธี Automated soxhlet extraction ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าการปนเปื้อนของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวม (TPH) ในเนื้อสัตว์ทะเลกลุ่มปลาและครัสเตเชียนมีค่าอยู่ในช่วง 0.01-20.30 มคก./ก. น้ำหนักแห้ง ซึ่งพื้นที่ๆ มีการปนเปื้อนของ TPH ในสัตว์ทะเลกลุ่มปลาและครัสเตเชียนสูงที่สุด ได้แก่ พื้นที่บริเวณฝั่งตะวันออกของชายฝั่งจังหวัดระยองซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำมันที่รั่วสูง รองลงมา คือ พื้นที่บริเวณอ่าวเพ และพื้นที่บริเวณฝั่งตะวันตกของชายฝั่งจังหวัดระยอง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการปนเปื้อนของ TPH ในเนื้อสัตว์ทะเลกลุ่มปลาและกลุ่มครัสเตเชียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.03) การปนเปื้อนของ TPH ในสัตว์ทะเลดังกล่าวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) ตามเวลา โดยปลาทรายขาวแถบน้ำตาล (<em>Scolopsis monogramma</em>) ต้องใช้เวลา 193 วัน เพื่อให้การปนเปื้อนของ TPH มีค่า 0.30 มคก./ก. น้ำหนักแห้ง ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดของกลุ่มปลาตลอดการศึกษาในครั้งนี้ ส่วนปูม้า (<em>Portunus pelagicus</em>) ต้องใช้เวลา 468 วัน เพื่อให้การปนเปื้อนของ TPH มีค่า 0.01 มคก./ก. น้ำหนักแห้ง ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดของกลุ่มครัสเตเชียนตลอดการศึกษาครั้งนี้</p> ER -