TY - JOUR AU - ถนอมขวัญ, เกศินี AU - วิชิตพันธุ์ , คณิต AU - ศิริ, บุญมี PY - 2019/04/25 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเรืองแสงต่อคุณภาพและการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 47 IS - 2 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/249816 SP - 361-370 AB - <p>การป้องกันการปลอมเมล็ดพันธุ์โดยวิธีการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมล็ดพันธุ์แตงกวา โดยการเคลือบร่วมกับสารเรืองแสง เป็นการทำเครื่องหมายเมล็ดพันธุ์ในรูปแบบที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาชนิดและความเข้มข้นของสารเรืองแสงที่เหมาะสมในการเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงกวา โดยการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ และการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์แตงกวาหลังการเคลือบร่วมกับสารเรืองแสงชนิดต่างๆ โดยดำเนินการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีทางเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ และตรวจสอบคลื่นการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์ที่ห้องปฏิบัติการกลาง คณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยขอนแก่น วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 3 ซ้ำ โดยใช้ Polyvinylpyrrolidone (PVP-K30) ที่ความเข้มข้น 7 % เป็นสารเคลือบ และเคลือบร่วมกับสารเรืองแสง 3 ชนิด คือ rhodamine B, curcumin และ auramine O โดยแต่ละชนิดใช้ความเข้มข้นเท่ากันคือ 0.1%, 0.5% และ 1.0% จากการทดลองพบว่า เมล็ดพันธุ์แตงกวาที่ผ่านการเคลือบด้วยสารเรืองแสงทั ้ง 3 ชนิด ไม่ทำให้ความงอก และความเร็วในการงอกของเมล็ดพันธุ์แตกต่างกัน แต่เมื่อนำไปเร่งอายุพบว่า เมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วย auramine O ที่ความเข้มข้น 0.5 และ1.0% ทำให้ความงอกและความเร็วในการงอกลดลงมากกว่าวิธีการอื่นๆ เมื่อตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการส่วนการเรืองแสงลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อตรวจสอบการเรืองแสงภายใต้แสงยูวี และจากการตรวจด้วยเครื่อง Spectrophotometer พบว่าเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วย rhodamine B, curcumin และ auramine O จะปรากฏที่ช่วงความยาวคลื่น 610, 540 และ 525 นาโนเมตร ตามลำดับ ดังนั้นจากการทดลองนี้สรุปได้ว่าการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง rhodamine B ที่ความเข้มข้น 0.5% เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงกวาเพื่อการป้องกันการปลอมแปลงเมล็ดพันธุ์ทำให้ยากต่อการเลียนแบบ และสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ได้</p> ER -