TY - JOUR AU - เกษรพิกุล, จารุณี AU - ชลอสันติสกุล, สุรวัฒน์ PY - 2021/08/17 Y2 - 2024/03/29 TI - การเสริมแบคทีเรียโปรไบโอติกเอนเทอโรคอคคัส อีทาลิคัส (Enterococcus italicus) ในแม่สุกรระยะอุ้มท้องต่อภูมิคุ้มกันการติดโรคท้องร่วงติดต่อในสุกร (Porcine Epidemic Diarrhea) ของลูกสุกรระยะดูดนม JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 50 IS - 2 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/249941 SP - 419-427 AB - <p>การติดเชื้อไวรัสโรคท้องร่วงติดต่อในสุกรหรือพีอีดี (Porcine Epidemic Diarrhea: PED) สามารถก่อให้เกิดโรคได้ในสุกรทุกช่วงอายุ โดยลูกสุกรแรกเกิดมักมีอัตราการตายเกือบร้อยละ 100 และในลูกสุกรระยะดูดนมจะมีอัตราการตายถึงร้อยละ 80 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมแบคทีเรียโปรไบโอติกเอนเทอโรคอคคัส อีทาลิคัส (Enterococcus italicus) ให้แม่สุกรระยะอุ้มท้อง เพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันของลูกสุกรดูดนมที่ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสพีอีดี โดยทำการเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ซึ่งเป็นแม่สุกรระยะอุ้มท้องครั้งแรก จำนวน 18 ตัว แบ่งแม่สุกรออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 3 ตัว ทั้งนี้วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design: CRD) โดยให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม และให้น้ำแบบกินได้เต็มที่ตลอดเวลา ทำการแบ่งกลุ่มทดลอง ดังนี้กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ให้อาหารสำเร็จรูปแต่เพียงอย่างเดียว และ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มทดลอง ให้อาหารสำเร็จรูปที่ผสมกับโปรไบโอติกส์ ไม่น้อยกว่า 1X106 ซีเอฟยูต่อกรัมของอาหาร (CFU/g) ตลอดระยะเวลาเลี้ยง การอุ้มท้อง การคลอด และระยะการให้นมของสุกรแม่พันธุ์ โดยก่อนถึงกำหนดคลอด 2 สัปดาห์ ทำการป้อนเชื้อพีอีดีจากลำไส้ลูกสุกรที่มีการป่วยแก่แม่สุกร และเมื่อลูกสุกรคลอด ทำการสุ่มลูกสุกร อายุ 3 วันจากแต่ละกลุ่ม เป็นจำนวนกลุ่มละ 27 ตัว ทำการป้อนเชื้อพีอีดี สังเกตอาการลูกสุกร จากนั้นเจาะเก็บเลือดเพื่อแยกซีรั่มหลังจากป้อนเชื้อพีอีดีแล้ว 3 วัน เพื่อตรวจดูระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อไวรัสพีอีดี โดยวิธี Immunoperoxidase monolayer assay (IPMA) ตัวอย่างละ 3 ซ้ำ รวมกลุ่มละ 81 ตัวอย่าง ผลการทดสอบพบว่าลูกสุกรกลุ่มที่ 2 มีอาการแสดงทางคลินิก และอัตราการตายน้อยกว่าลูกสุกรกลุ่มที่ 1 และมีระดับค่าภูมิคุ้มกัน (Antibody titer) ต่อเชื้อพีอีดีสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) แสดงว่าลูกสุกรได้รับภูมิคุ้มกันมาจากแม่ผ่านทางน้ำนมน้ำเหลือง โดยแม่สุกรที่ได้รับอาหารสำเร็จรูปที่ผสมกับแบคทีเรียโปรไบโอติก <em>Enterococcus italicus</em> สามารถถ่ายทอดภูมิคุ้มกันผ่านทางนมน้ำเหลืองได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารสำเร็จรูปแต่เพียงอย่างเดียว</p> ER -