TY - JOUR AU - พลแสง, สินีนาฎ AU - พลแสง, พงศ์เทพ AU - อินฉายา, สุวิทย์ AU - ผาสุข, ยุพิน AU - กัณหาเรียง, สจี AU - วงษ์พระลับ, เทวินทร์ PY - 2021/09/06 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาคุณภาพน้ำเชื้อของไก่ป่าตุ้มหูขาวในรอบปี JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 50 IS - 2 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250674 SP - 505-515 AB - <p>ไก่ป่าตุ้มหูขาว (<em>Gallus gallus gallus</em>) เป็นบรรพบุรุษของไก่บ้าน แต่พบไม่มีรายงานที่เกี่ยวกับการผลิตน้ำเชื้อของไก่ป่าสายพันธ์นี้ ซึ่งข้อมูลนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของไก่ป่าตุ้มหูขาว โดยเฉพาะการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็ง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำเชื้อของไก่ป่าตุ้มหูขาวในรอบปี ใช้พ่อพันธุ์ไก่ป่าตุ้มหูขาวอายุ 1 ปี ทั้งหมด 8 ตัว จัดการเลี้ยงภายใต้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและเก็บน้ำเชื้อเป็นประจำ สัปดาห์ละสองครั้ง ตรวจประเมินคุณภาพของน้ำเชื้อทุกสัปดาห์เป็นเวลา 15 เดือน น้ำเชื้อได้รับการประเมินปริมาตร คะแนนการเคลื่อนที่อสุจิแบบหมู่ ร้อยละการเคลื่อนที่อสุจิตรงไปข้างหน้า ร้อยละอสุจิมีชีวิตรอด ร้อยละอสุจิผิดปกติ ความเข้มข้นของอสุจิ (เซลล์/ มล.) และจำนวนอสุจิต่อการหลั่งน้ำเชื้อแต่ละครั้ง ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพน้ำเชื้อไก่ป่าตุ้มหูขาวจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ดังนี้ ปริมาตรน้ำเชื้อ 0.281<u>+</u>0.089 มล. คะแนนการเคลื่อนที่อสุจิแบบหมู่ 4.83<u>+</u>0.24 การเคลื่อนที่อสุจิตรงไปข้างหน้า 98.15<u>+</u>1.77% อสุจิมีชีวิตรอด 98.43<u>+</u>0.96% อสุจิผิดปกติ 1.34<u>+</u>0.54% ความเข้มข้นของอสุจิ 6,320<u>+</u>502.29 (1x10<sup>6</sup>) เซลล์/มล. และจำนวนอสุจิต่อการหลั่งน้ำเชื้อแต่ละครั้ง 1,776x10<sup>6</sup> เซลล์ นอกจากนี้ยังพบว่าคุณภาพน้ำเชื้อไก่ป่าตุ้มหูขาวมีสหสัมพันธ์กับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม ปริมาณน้ำฝน และความชื้นสัมพัทธ์ จากรายงานการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าน้ำเชื้อของไก่ป่าตุ้มหูขาวมีคุณภาพที่ดี สามารถนำไปศึกษาการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็งเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมไก่ป่าตุ้มหูขาวได้ตลอดปี</p> ER -