TY - JOUR AU - รัตนกรีฑากุล, ชัยณรงค์ AU - รังสุวรรณ, สรรเสริญ AU - พงศ์พิสุทธา, รัติยา AU - เขียวมณี, พิสุทธิ์ PY - 2020/08/26 Y2 - 2024/03/28 TI - ความแตกต่างของสารทุติยภูมิของเชื้อรา Aspergillus flavus กลุ่มที่สร้างและไม่สร้างสารพิษอะฟลาทอกซิน JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 48 IS - 4 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/251278 SP - 639-702 AB - <p>การตรวจสอบสารทุติยภูมิโดยใช้ gas chromatography mass spectrometry (GCMS) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ตรวจสอบชนิดของสารทุติยภูมิที่สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น จึงได้นำมาเปรียบเทียบความแตกต่างในการสร้างสารทุติยภูมิของเชื้อรา <em>A. flavus</em> ที่สร้างและไม่สร้างสารอะฟลาทอกซิน จากการคัดเลือกเชื้อรา <em>Aspergillus flavus</em> จำนวน 15 ไอโซเลทที่แยกได้จากเมล็ดข้าวโพดในพื้นที่เพาะปลูกจังหวัดนครปฐมและกาญจนบุรี โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อรา และวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ ITS ระบุได้ว่าเป็นเชื้อรา <em>A. flavus </em>และเมื่อตรวจสอบการสร้างสารพิษอะฟลาทอกซินโดยใช้เทคนิค ELISA คัดเลือกเชื้อราที่แตกต่างกันสองไอโซเลท ได้แก่ <em>A. flavus</em> ไอโซเลท 8 ไม่สร้างสารพิษอะฟลาทอกซิน ในขณะที่<em> A. flavus</em> ไอโซเลท 17 มีการสร้างสารพิษพร้อมกับการสร้างเม็ด sclerotium ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม <em>A. flavus </em>S strain ทำการตรวจสอบสารทุติยภูมิที่สกัดจากเส้นใยของเชื้อราทั้งสองไอโซเลทด้วยเครื่องมือ GCMS เปรียบเทียบชนิดของสารทุติยภูมิ ตรวจพบสารจำนวนมากมีความใกล้เคียงกับสารที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสลายกลูโคสและการสร้างสาร pyruvate ในส่วนของ tricarboxylic acid cycle โดยที่มีสาร 9-Octadecenoic acid, (E)-หรือ oleic acid ที่พบเฉพาะสารสกัดจากเชื้อรา <em>A. flavus</em> ไอโซเลท 17 ที่สร้างสารพิษอะฟลาทอกซิน ซึ่ง oleic acid มีรายงานถึงบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารพิษอะฟลาทอกซิน</p> ER -