TY - JOUR AU - ทอง, ธัญพรรธน์ AU - หรี่จินดา, อนงค์นาฏ AU - แสงทอง, วราภรณ์ AU - พงษ์เจริญกิต, แสงทอง AU - ลาน้ำเที่ยง, กฤษณะ AU - สกูลสิงหาโรจน์, ช่อทิพา PY - 2022/04/01 Y2 - 2024/03/29 TI - เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่สัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณแอนโทไซยานิน และสีเยื่อหุ้มเมล็ดของข้าวในประชากรชั่วที่ 2 ของคู่ผสมระหว่างพันธุ์ปทุมธานี 1 กับก่ำน้อย JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 50 IS - 4 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/251539 SP - 1112-1130 AB - <p>ข้าวก่ำพื้นเมืองของไทยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงเกิดจากแอนโทไซยานินบริเวณเยื่อหุ้มเมล็ด การหาเครื่องหมายดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจะช่วยปรับปรุงข้าวพันธุ์ดีให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีน <em>OsB1&amp;B2, OsDFR </em>และ <em>OsMYB3</em> และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องหมายดีเอ็นเอกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในประชากร F<sub>2</sub> ของคู่ผสมระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวพันธุ์แม่ปทุมธานี 1 กับข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำพันธุ์พ่อก่ำน้อย จำนวน 300 ต้น พบเครื่องหมาย RM17321 (<em>OsB1&amp;B2</em>), RM11383 (<em>OsDFR</em>) และ RM15209 (<em>OsMYB3</em>) สามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและดำ เครื่องหมาย RM17321 และ RM15209 มีความสัมพันธ์กับค่าลอการิทึมของฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ R<sup>2</sup> มีค่าเท่ากับ 51.95% และ 3.93% ตามลำดับ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณของเครื่องหมายร่วมกัน พบว่า R<sup>2</sup> มีค่าสูงขึ้นเท่ากับ 55.11% นอกจากนี้เครื่องหมาย RM17321 มีความสัมพันธ์กับสีเยื่อหุ้มเมล็ดสูงมาก โดยจีโนไทป์ที่มีอัลลีลเหมือนพันธุ์พ่ออย่างน้อย 1 อัลลีล เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสี ในขณะที่เครื่องหมาย RM11383 ไม่มีความสัมพันธ์กับทุกลักษณะที่ศึกษา การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในประชากร F<sub>2</sub> ด้วยวิธี DPPH พบต้นที่ 2 มีค่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดใกล้เคียงกับพันธุ์พ่อ ดังนั้น เครื่องหมาย RM17321 ร่วมกับ RM15209 ใช้คัดเลือกข้าวที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง อีกทั้งเครื่องหมาย RM17321 ยังใช้คัดเลือกสีเยื่อหุ้มเมล็ดได้อย่างแม่นยำ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการคัดเลือกข้าวด้วยวิธีผสมกลับได้</p> ER -