TY - JOUR AU - วรามิตร, นรุณ AU - คงพลับ, ปัทจิมา AU - อรัญญนาค, อนุรักษ์ AU - บุญแสน, ภูมพงศ์ AU - เชื้อกูล, จิราพร PY - 2022/04/01 Y2 - 2024/03/29 TI - อิทธิพลของพันธุ์ ความสูงและระยะเวลาการตัดยอดที่มีต่อคุณภาพใบหมักและผลผลิตหัวสดของมันสำปะหลัง JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 50 IS - 4 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/251743 SP - 1097-1111 AB - <p>ใบมันสำปะหลังเป็นชีวมวลสดให้โปรตีนสูงและได้รับความสนใจนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของพันธุ์ ความสูงและระยะตัดยอดที่มีต่อผลผลิตพืชอาหารสัตว์ คุณภาพใบหมัก และองค์ประกอบผลผลิตหัวสด วางแผนการทดลองแบบ split-split plot in randomized complete block design 4 ซ้ำ main plot คือพันธุ์มันสำปะหลัง 2 พันธุ์ (เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 72) sub plot คือความสูงการตัด 2 ระดับ (30 และ 50 ซม. จากพื้นดิน) และ sub-sub plot คือระยะตัด 4 ระยะ (ตัดทุก 3, 4, 6 เดือน และที่ 12 เดือนหลังปลูก ซึ่งเป็นระยะเก็บเกี่ยวหัวมัน) ทำการศึกษาที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 จากการศึกษาพบว่า พันธุ์ และความสูงไม่มีอิทธิพลต่อผลผลิตและคุณภาพของใบหมัก รวมทั้งองค์ประกอบผลผลิตหัวสด ระยะตัดมีอิทธิพลต่อความสูงทรงพุ่ม ผลผลิตลำต้น ก้านใบและแผ่นใบแห้ง และผลผลิตหัวสด แต่ไม่มีผลต่อจำนวนและปริมาณแป้งของหัวสด การเพิ่มระยะตัดจากทุก 3 เดือน ถึง 12 เดือน ทำให้ผลผลิตแผ่นใบแห้งลดลงจาก 426.5 เป็น 24.2 กก./ไร่/ปี แต่ให้ผลผลิตหัวสดเพิ่มจาก 1,046.7 เป็น 1,710.2 กก./ไร่ อย่างไรก็ตาม พันธุ์ ความสูงและระยะตัดไม่มีอิทธิพลต่อปริมาณ neutral detergent fiber และ acid detergent fiber ของใบหมัก ขณะที่ปริมาณ acid detergent lignin เถ้า และโปรตีนลดลงตามระยะตัดที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น แนะนำได้ว่าระยะตัดทุก 6 เดือน ให้ผลผลิตและโปรตีนของใบหมักสูงกว่าระยะ 12 เดือน (ระยะปฏิบัติทั่วไป) โดยไม่กระทบต่อผลผลิตและปริมาณแป้งของหัวสด</p> ER -