TY - JOUR AU - กมลมานิทย์, ภาณุเดชา AU - หล้าวงษา, พฤกษา AU - เจริญพร, ชมัยพร PY - 2020/08/26 Y2 - 2024/03/28 TI - อิทธิพลของคุณภาพวัสดุอินทรีย์ต่อพลวัตคาร์บอนในดินผ่านกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 48 IS - 4 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/251891 SP - 835-544 AB - <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมจุลินทรีย์ดินที่ตอบสนองต่อคาร์บอน (C) และ ไนโตรเจน (N) ของวัสดุอินทรีย์ในสภาพการบ่ม ประกอบด้วย 3 กรรมวิธีทดลอง ดังนี้ 1) ดินไม่ใส่วัสดุอินทรีย์ (ควบคุม) 2) ดินใส่ฟางข้าว และ 3) ดินใส่ถ่านชีวภาพ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่ากรรมวิธีดินใส่ฟางข้าวมีค่า metabolic quotient (<em>q</em>CO<sub>2</sub>) สูงที่สุด (0.19-0.2 g /MBC/d) และ microbial quotient C (<em>q</em>Mic C) สูงที่สุด (547 mg MBC/g soil C) แต่ส่งผลให้อัตราส่วน MBC/MBN ต่ำที่สุด (7.12) ขณะที่กรรมวิธีดินใส่ถ่านชีวภาพส่งผลให้ <em>q</em>Mic C ต่ำที่สุด (342 mg MBC/g soil C) การศึกษานี้พบความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระหว่างกิจกรรมของ B-glucosidase และ microbial quotient C (<em>q</em>Mic C) ในช่วงแรกของการบ่ม (<em>r</em> = – 0.5828*) บ่งชี้เพิ่มเติมว่าคาร์บอนถูกนำไปใช้ได้ง่ายโดยจุลินทรีย์ในช่วงแรกของการย่อยสลาย เป็นที่น่าสนใจว่าในช่วงท้ายของการบ่ม (วันที่ 42-63) พบความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระหว่างเอนไซม์ B-glucosidase กับ MBN (<em>r</em> = 0.6993**) และ microbial quotient N (<em>q</em>Mic N) (<em>r</em> = 0.5159*) (P &lt;0.05) และความสัมพันธ์ในทางบวกระหว่างเอนไซม์ phenoloxidase กับ MBN (r = 0.6994**) และ <em>q</em>Mic N (r = 0.5159*) ความสัมพันธ์นี้ชี้ให้เห็นว่าจุลินทรีย์สามารถปรับกระบวนการชีวสังเคราะห์ตามความต้องการใช้ N ของจุลินทรีย์เพื่อการสังเคราะห์เอนไซม์หมุนเวียนคาร์บอน การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าวัสดุอินทรีย์ที่มี C ย่อยสลายง่ายอย่างเช่นฟางข้าวส่งผลให้จุลินทรีย์ในการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนได้ต่ำจึงมีปลดปล่อย CO<sub>2</sub> สู่บรรยากาศปริมาณสูง ขณะที่ถ่านชีวภาพมี C ส่วนต้านทานการย่อยสลายสูงช่วยในเก็บกักคาร์บอนในดินได้นานขึ้นโดยการเหนี่ยวนำจุลินทรีย์ดินให้สะสมไว้ภายในเซลล์มากขึ้น</p> ER -