TY - JOUR AU - เสนาชัย, วรรณภา AU - อนุสนธิ์พรเพิ่ม, สมชัย AU - ธนะจิตต์, ศุภิฌา AU - เขียวรื่นรมณ์, เอิบ PY - 2020/12/22 Y2 - 2024/03/29 TI - การตอบสนองของมันสำปะหลังต่อปุ๋ยเคมีในชุดดินยโสธรที่ถูกปรับปรุง ด้วยกากแป้งมันสำปะหลังและหินปูนบดต่อเนื่อง 5 ปี JF - วารสารแก่นเกษตร JA - KAJ VL - 48 IS - 6 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/252070 SP - 1254-1265 AB - <p>ศึกษาการตอบสนองของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 ต่อปุ๋ยเคมีในชุดดินยโสธรที่ปรับปรุงด้วยกากแป้งมันสำปะหลังและหินปูนบดต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปีในแปลงเกษตรกร จ.นครราชสีมา วางแผนการทดลองแบบ Split plot จำนวน 4 ซ้ำ แปลงหลักเป็นวัสดุปรับปรุงดิน 8 ตำรับการทดลอง ส่วนแปลงรองเป็นปุ๋ยเคมี 4 อัตรา การใส่วัสดุปรับปรุงดินทั้งหมดทำให้ได้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสดและผลผลิตแป้งสูงกว่าตำรับควบคุมที่ไม่มีการใส่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การใส่กากแป้งมันสำปะหลังอัตรา 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับหินปูนบดอัตรา 200 กก./ไร่ ให้ค่าสูงสุดเท่ากับ 3.92 และ 0.94 ตัน/ไร่ตามลำดับ มันสำปะหลังตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีอัตรา 32:16:32 กก. N:P<sub>2</sub>O<sub>5</sub>:K<sub>2</sub>O/ไร่ ดีที่สุดโดยให้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด และแป้งสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติเท่ากับ 3.83 และ 0.88 ตัน/ไร่ตามลำดับแต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับอัตราแนะนำ (16:8:16 กก. N:P<sub>2</sub>O<sub>5</sub>:K<sub>2</sub>O/ไร่) ทั้งนี้ ไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างวัสดุปรับปรุงดินกับอัตราของปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการให้ผลผลิตของมันสำปะหลัง โดยการใส่กากแป้งอัตรา 500 กก./ไร่ร่วมกับหินปูนบดอัตรา 200 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีอัตรา 32:16:32 กก. N:P<sub>2</sub>O<sub>5</sub>:K<sub>2</sub>O/ไร่ให้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสดสูงสุดเท่ากับ 4.55 ตัน/ไร่ แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับตำรับการทดลองอื่น นอกจากนี้ ตำรับการทดลองเกือบทั้งหมดที่มีการใส่กากแป้งมันสำปะหลังทุกอัตราโดยเฉพาะที่ใส่ร่วมกับหินปูนบดส่งผลให้ดินที่ระดับความลึก 0-15, 15-30 และ 30-45 ซม. มีค่าพีเอช ปริมาณอินทรียวัตถุ ไนโตรเจนรวม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์สูงกว่าตำรับควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น การปลูกมันสำปะหลังในชุดดินยโสธรควรมีการปรับปรุงดินด้วยกากแป้งมันสำปะหลังอัตรา 1,000 กก./ไร่ และหินปูนบดอัตรา 200 กก./ไร่ ต่อเนื่องร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 16:8:16 กก. N:P<sub>2</sub>O<sub>5</sub>:K<sub>2</sub>O/ไร่ จะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุดและช่วยให้คุณภาพดินดีขึ้น</p> ER -