https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/issue/feed
วารสารแก่นเกษตร
2025-02-13T09:08:35+07:00
บรรณาธิการวารสารแก่นเกษตร
agkasetkaj@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารแก่นเกษตรได้รับทุนสนับสนุนเป็นวารสารที่มีคุณภาพตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จาก สกอ. ประจำปี 2551, เป็นวารสารที่ยอมรับในการใช้เป็นผลงานตีพิมพ์เรื่องที่ 2 ของนักศึกษาทุน คปก. (ตั้งแต่รุ่นที่ 11 เป็นต้นไป) , มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Citation Index, TCI), และเผยแพร่บทคัดย่อภาษาอังกฤษในฐานข้อมูล AGRIS-FAO (http://agris.fao.org/agris-search/index.do)</p>
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263198
ประสิทธิภาพจากน้ำมันหอมระเหยมะแขว่น, เปปเปอร์มินต์และยูคาลิปตัส ในการกำจัดเห็บโค (Rhipicephalus microplus)
2024-07-10T09:50:55+07:00
อภิชาติ หมั่นวิชา
kridda003@hotmail.com
ณัฏฐา วิกาศ
sm_nan@hotmail.com
วิพาวัน จันทะวง
kridda003@hotmail.com
สุนีย์ จันทร์สกาว
kridda003@hotmail.com
กฤดา ชูเกียรติศิริ
kridda003@hotmail.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพจากน้ำมันหอมระเหยมะแขว่น, เปปเปอร์มินต์และยูคาลิปตัส ต่อการกำจัดเห็บโค (<em>R. microplus</em>) ภายใต้ห้องปฏิบัติการ (<em>in vitro</em>) วิธี Adult immersion test (AIT) ในการทดสอบเปอร์เซ็นต์การตายและยับยั้งการออกไข่เห็บ (Egg-laying inhibit) ในระยะเวลา 14 วัน โดยใช้เห็บระยะตัวเต็มวัยทั้งหมด 150 ตัว แบ่งกลุ่มทดลองเป็น 5 กลุ่มๆ 3 ซ้ำๆ ละ 10 ตัว ได้แก่ กลุ่มควบคุมลบ (น้ำยาสำหรับเจือจางน้ำมันหอมระเหย), ควบคุมบวก (สารกำจัดแมลงทางการค้า; Ecto-tak<sup>®</sup>), น้ำมันหอมระเหยมะแขว่น, เปปเปอร์มินต์ และยูคาลิปตัส ที่ความเข้มข้น 8% ผลการศึกษา พบว่า น้ำมันหอมระเหยมะแขว่น, เปปเปอร์มินต์ และยูคาลิปตัส ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การตายเห็บโคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยน้ำมันหอมระเหยมะแขว่นมีเปอร์เซ็นต์การตายของเห็บสูงที่สุด 100 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่ 7 รองลงมา คือ น้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มินต์ ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การตายของเห็บ 100% ในวันที่ 14 แต่น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส, ควบคุมลบ และควบคุมบวกส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การตายของเห็บโคที่มากกว่า 14 วัน และการศึกษาประสิทธิภาพน้ำมันหอมระเหยการยับยั้งการออกไข่ของเห็บ พบว่า น้ำมันหอมระเหยมะแขว่น และเปปเปอร์มินต์มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการออกไข่เห็บได้ดีที่สุด คือ 100% ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปผลการศึกษาพบว่า น้ำมันหอมระเหยมะแขว่นมีประสิทธิภาพต่อเปอร์เซ็นต์การตายและสามารถยับยั้งการออกไข่เห็บได้ดีที่สุดเทียบเท่ากับสารกำจัดแมลงทางการค้า ซึ่งการใช้น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมและกำจัดเห็บโคได้ โดยมีฤทธิ์ตกค้างในสิ่งแวดล้อมน้อยไม่ส่งผลเสียต่อผู้ใช้งานและยังสามารถประยุกต์ใช้ในการผลิตสัตว์ในระบบอินทรีย์ได้ในอนาคต</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263183
ผลของการใช้กากงาดำทดแทนกากถั่วเหลืองต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊สและความสามารถในการย่อยสลายได้ในหลอดทดลอง
2024-06-04T10:38:01+07:00
ชุติกาญจน์ ศรทองแดง
ploytoriko@gmail.com
อรัญญา โกฏธิ
Faharanya25888@gmail.com
อนุสรณ์ เชิดทอง
anusornc@kku.ac.th
ณรกมล เลาห์รอดพันธ์
naikaset38@gmail.com
ฉัตรชัย ภักดีกลาง
rungchatchai420@gmail.com
สุบรรณ ฝอยกลาง
bungung@hotmail.com
<p>กากงาดำเป็นผลพลอยได้จากเมล็ดงาดำที่ผ่านกระบวนการสกัดน้ำมันงาออกจากเมล็ดงา มีโปรตีน 36% ไขมัน 14% งาดำเป็นพืชเศรษฐกิจนำมาแปรรูปเป็นน้ำมันงา หลังจากสกัดน้ำมันออกแล้วจะมีปริมาณกากงาต่อน้ำมันงาในอัตราส่วน 4:1 กากงาที่เหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมถูกนำมาจำหน่ายเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ในราคา 10-16 บาท/กิโลกรัม ถือว่าเป็นวัตถุดิบแหล่งโปรตีนที่ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ได้ ดังนั้น การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กากงาดำทดแทนกากถั่วเหลืองต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊สและความสามารถในการย่อยได้ในหลอดทดลอง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) โดยแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่ม ใช้กากงาดำทดแทนกากถั่วเหลืองที่ 0, 20, 40, 60 และ 80% ตามลำดับในสูตรอาหารข้น พบว่าแก๊สสะสมที่ 96 ชั่วโมงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อทดแทนกากงาดำในอัตราส่วนมากขึ้น (P>0.05) การย่อยสลายของวัตถุแห้งในหลอดทดลอง (<em>in vitro</em> dry matter degradability, IVDMD) ที่ 24 ชั่วโมงการทดแทนกากงาดำที่ 80% มีค่าการย่อยได้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 81.86% (P<0.05) การย่อยสลายของอินทรียวัตถุ (<em>in vitro</em> organic matter degradability, IVOMD) ที่ 24 ชั่วโมงการทดแทนกากงาดำที่ 80% มีค่าการย่อยได้อยู่ที่ 80.26% (P>0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่าสามารถใช้กากงาดำทดแทนกากถั่วเหลืองได้ที่ระดับ 80% และมีศักยภาพในการใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263212
ผลของผักตบชวาและฟางข้าวเป็นแหล่งอาหารหยาบหลักในอาหารสูตรรวมหมัก ที่มีผลต่อคุณค่าทางโภชนะ และการย่อยได้โภชนะโดยใช้เทคนิคหลอดทดลอง
2024-06-04T10:42:14+07:00
วาสนา ศิริแสน
siri.vatsana@gmail.com
วุฒิชัย เคนไชยวงศ์
siri.vatsana@gmail.com
สุขกมล เกตุพลทอง
siri.vatsana@gmail.com
วาสนา สมประสงค์
siri.vatsana@gmail.com
<p>ผักตบชวาและฟางข้าวสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบหลักของอาหารผสมสูตรรวม (TMR) ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ในช่วงฤดูกาลที่ขาดแคลนอาหารหยาบ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนะของอาหารสูตรรวมหมัก (fermented total mixed ratio, FMR) ที่มีผักตบชวาและฟางข้าวเป็นแหล่งอาหารหยาบหลัก วางแผนการทดลองแบบ 3x3 แฟคทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (3x3 factorial in complete randomized design, CRD) ประกอบด้วยปัจจัยของอัตราส่วนผักตบชวา:ฟางข้าว 3 ระดับ คือ 0:100, 50:50 และ 100:0 และปัจจัยของสัดส่วนอาหารหยาบต่ออาหารข้นในสูตรอาหาร TMR 3 ระดับ คือ 40:60, 50:50 และ 60:40 นำส่วนผสมของTMR มาหมักและเก็บตัวอย่างที่ 0, 7, 14, 21 และ 28 วัน ของการหมักเพื่อนำไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมี และศึกษาการย่อยได้ของโภชนะในระบบหลอดทดลอง ผลการศึกษาพบว่าฟางข้าวเป็นแหล่งอาหารหลักเพียงอย่างเดียวที่สัดส่วน R:C 60:40 ใน FTMR ที่ระยะเวลาการหมัก 14 วัน (T3D14) และ 28 วัน (T3D28) หรือผักตบชวาและฟางข้าวที่สัดส่วน 50:50 เป็นแหล่งอาหารหยาบหลักในสูตรอาหาร FTMR ที่มีสัดส่วน R:C ratio 40:60 ที่ 14 วันของการหมัก (T4D14), ผักตบชวาหมักอย่างเดียวที่สัดส่วน R:C ratio 50:50 ในวันที่ 14 ของการหมัก (T8D14) และ ผักตบชวาหมักอย่างเดียวที่สัดส่วน R:C ratio 50:50 ในวันที่ 21 วันของการหมัก (T8D21) ทำให้โภชนะของ FTMR เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะองค์ประกอบของโปรตีน จึงเลือกทรีทเมนต์เหล่านี้ไปศึกษาการย่อยได้โภชนะโดยใช้เทคนิคหลอดทดลอง พบว่า T4D14 และT8D14 ทำให้การย่อยได้ IVDMD มีค่าสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) และ T8D14 ยังส่งผลให้การย่อยได้ IVNDFD เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผักตบชวาและฟางข้าวสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบหลักอย่างเดียวหรืออาหารหยาบร่วมกันในอาหาร TMR หมัก ที่ช่วยปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะและการย่อยได้ของ FTMR ได้</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263207
ผลของชนิดและอายุการตัดที่แตกต่างกันของหญ้ากินนีต่อการให้ผลผลิต และค่าองค์ประกอบทางเคมี เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง
2024-06-04T10:45:51+07:00
อัษฎาวุธ สนั่นนาม
Atichat_T@rmutl.ac.th
ณวรรณพร จิรารัตน์
Atichat_T@rmutl.ac.th
จันทรา สโมสร
Atichat_T@rmutl.ac.th
อุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร์
Atichat_T@rmutl.ac.th
สมบัติ พนเจริญสวัสดิ์
Atichat_T@rmutl.ac.th
กฤษณะ หมีนิ่ม
Atichat_T@rmutl.ac.th
พรศิลป์ แก่นท้าว
Atichat_T@rmutl.ac.th
อติชาต ทองนำ
atichat_t@rmutl.ac.th
<p>การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดและอายุการตัดที่แตกต่างกันของหญ้ากินนี ต่อการให้ผลผลิต และองค์ประกอบทางเคมีเพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบแก่สัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยทำการจัดทรีทเมนต์ทดลองแบบ 3x3 แฟคทอเรียลภายใต้แผนงานทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ซึ่งแบ่งปัจจัยศึกษาเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) ชนิดของหน้ากินนีที่ต่างกัน 3 ชนิด (หญ้ากินนีสีม่วง, หญ้ากินนีมอมบาซ่า และหญ้ากินนีมูนริเวอร์) และ 2) อายุการตัดที่แตกต่างกัน 3 ระยะ (30, 45 และ 60 วัน ตามลำดับ) ปลูกโดยใช้ต้นพันธุ์ในบ่อปูนซีเมนต์ก้นปิด และทำการตัดปรับสภาพของหญ้าที่ 60 วันของการปลูก จากนั้นจึงทำการเก็บข้อมูลความสูง การแตกหน่อ ผลผลิต และวิเคราะห์หาค่าองค์ประกอบทางเคมี ผลการทดลองพบว่า อิทธิพลร่วมของหญ้ากินนีมอมบาซ่าที่ตัดเมื่ออายุ 60 วัน มีค่าความสูง การแตกหน่อ ผลผลิตน้ำหนักสดและแห้งสูงที่สุด (P<0.01) เมื่อแยกเฉพาะปัจจัย พบว่าหญ้ากินนีมอมบาซ่าและการตัดหญ้าที่อายุ 60 วัน ให้ผลิตน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งสูงที่สุด (P<0.01) ส่วนค่าโปรตีนหยาบ พบว่าหญ้ากินนีมอมบาซ่าที่ตัดเมื่ออายุ 30 วัน มีค่าสูงที่สุด (P<0.01) เมื่อแยกเฉพาะปัจจัย พบว่าหญ้ากินนีมูนริเวอร์และการตัดหญ้าที่อายุ 30 วัน ให้ค่าโปรตีนหยาบสูงที่สุด (P<0.01) ดังนั้นจากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการตัดหญ้ากินนีมอมบาซ่าที่อายุ 60 วัน จะให้ผลผลิตสูงที่สุด แต่การตัดหญ้ากินนีมอมบาซ่าที่ 30 วัน ให้ค่าโปรตีนหยาบสูงที่สุด</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263290
ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมดิบและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรายย่อยและรายเล็ก
2024-07-12T09:06:36+07:00
สุมณฑิรา อุตระ
pattamanont_p@hotmail.com
ขวัญชัย เนตรน้อย
pattamanont_p@hotmail.com
พรพมล ปัทมานนท์
pattamanont_p@hotmail.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุ้มค่าการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มโคนม ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ประกอบด้วย ข้อมูลประชากรศาสตร์ จำนวนโคนม ปริมาณผลผลิต ต้นทุนการผลิต ทรัพย์สินและเทคโนโลยีในฟาร์ม จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรโคนมรุ่นใหม่ และ ตัวแทนฟาร์มในพื้นที่ภายใต้การดูแลของกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ โดยคัดเลือกฟาร์มที่จดบันทึกข้อมูลฟาร์มครบถ้วน จำนวน 70 ฟาร์ม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิต ค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และความคุ้มค่าในการลงทุนเทคโนโลยี ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรร้อยละ 30 เลือกใช้ 1 เทคโนโลยี รองลงมา ได้แก่ ไม่ใช้เทคโนโลยี (ร้อยละ 21.43) ตามด้วยใช้เทคโนโลยี 3 เทคโนโลยี ใช้ 2 เทคโนโลยี ใช้ 4 เทคโนโลยี ใช้ 5 เทคโนโลยี และ ใช้ 6 เทคโนโลยี (ร้อยละ 18.57, 15.71, 8.57, 2.86 และ 2.86) ตามลำดับ จำนวนเทคโนโลยีที่ใช้ในฟาร์มมีผลต่อผลผลิตน้ำนม และ ต้นทุนการผลิต ที่ระดับนัยสำคัญ P < 0.05 ทั้งนี้พบว่าความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างผลผลิตน้ำนมและจำนวนเทคโนโลยี ได้รับอิทธิพลร่วมจากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ขนาดฟาร์มและระดับการศึกษา ในขณะที่จำนวนเทคโนโลยีมีผลต่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ P < 0.05 และ P < 0.01 ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการลงทุนในเทคโนโลยีต่อผลผลิตน้ำนมและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่า การใช้ปลอกคอตรวจจับพฤติกรรมสัตว์ ร่วมกับ บ่อไบโอแก๊ส และ โซล่าเซลล์ สามารถเพิ่มผลผลิตน้ำนมได้ร้อยละ 54.88 ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.44 จากปริมาณน้ำนมต่อตัวที่เพิ่มขึ้น โดยมีระยะเวลาคืนทุน 24.61 เดือน และการใช้ไบโอแก๊สส่งผลให้การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงมากที่สุด ร้อยละ 0.13 ระยะเวลาคืนทุน 6.82 เดือน เมื่อคำนวณรายได้จากปริมาณน้ำนมต่อตัวที่เพิ่มขี้นร้อยละ 15.76 ทั้งนี้บ่อไบโอแก๊สเป็นแนวทางการลงทุนในเทคโนโลยีของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรายย่อยและรายเล็กที่ให้ความคุ้มค่าต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/262712
การเสริมสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อเพิ่มคุณภาพน้ำเชื้อแช่แข็ง และลดการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันในน้ำเชื้อแช่แข็งแพะพันธุ์บอร์
2024-06-24T08:59:36+07:00
ฟารีดา สุวอ
fareedasuwor@kkumail.com
สมร พรชื่นชูวงศ์
samorn@g.sut.ac.th
สรศักดิ์ ทองแพะ
sorasak.t@sut.ac.th
อนนท์ เทืองสันเทียะ
biotech4@dld.go.th
จีรภา ขาวสุข
biotech4@dld.go.th
ศักดิ์สุดา แสงแก้ว
pts.sri@dld.go.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและความเข้มข้นของสารต้านอนุมูลอิสระ 3 ชนิดที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ คือ กลูตาไธโอน (1, 3, และ 5 mM) ซิสตีอีน (6, 9, และ 12 mM) และ วิตามินอี (1, 2, และ 3 mM) ต่อการเก็บรักษาน้ำเชื้อแพะพันธุ์บอร์ แบบแช่แข็ง นำน้ำเชื้อสดมาเจือจางด้วย Tris-based extender จากนั้น เติมสารต้านอนุมูลอิสระเปรียบเทียบกับน้ำเชื้อที่ไม่มีการเติมสารต้านอนุมูลอิสระ โดยมีสูตรทางการค้า (Andromed) เป็นกลุ่มควบคุม ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 6 ซ้ำต่อทรีตเมนต์ นำน้ำเชื้อไปลดอุณหภูมิด้วยวิธีการอังไอไนโตรเจนเหลว หลังจากเก็บเป็นเวลา 10 วัน นำน้ำเชื้อไปประเมินคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า เมื่อใช้กลูตาไธโอน 1 mM สามารถเพิ่มความสมบูรณ์ของเยื่อหุ้มเซลล์ และความสมบูรณ์ของอะโครโซม ได้ดีกว่าทรีตเมนต์อื่น ๆ ที่ทำการศึกษา (P<0.05) นอกจากนี้ พบว่า การเสริมกลูตาไธโอน หรือ วิตามินอี 1 mM สามารถลดการเกิดปฏิกิริยาลิพิดเปอร์ออกซิเดชัน โดยมีค่าเท่ากับ 3.01 และ 2.96 นาโนโมล/มล.ตามลำดับ และมีค่าไม่แตกต่างจากสูตรทางการค้า ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.91 นาโนโมล/มล. (P>0.05) อีกทั้งการเสริม กลูตาไธโอน 1 mM ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอเมทิลเลชัน เมื่อเทียบกับสูตรทางการค้า (P>0.05) เมื่อนำไปทดสอบการผสมเทียม พบว่า กลูตาไธโอน 1 mM มีอัตราการผสมติด เท่ากับ 6/9 (66.67%) ซึ่งสูตรทางการค้า มีค่าเท่ากับ 3/8 (37.50%) ดังนั้น การเสริมกลูตาไธโอน 1 mM น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการเก็บรักษาน้ำเชื้อแพะพันธุ์บอร์แบบแช่แข็ง นำไปสู่การเพิ่มผลผลิตแพะในอนาคต</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263508
ความต้องการความรู้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยง กุ้งก้ามกรามบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
2024-06-04T09:28:37+07:00
วรมัน ไม้เจริญ
woraman.ma@gmail.com
กีรวิชญ์ เพชรจุล
pkeravit@yahoo.com
ภาสกร นันทพานิช
phassakon_n@hotmail.com
อุไร กุลบุญ
aurai.ku@ksu.ac.th
จักรินทร์ ตรีอินทอง
jukkarin.tr@ksu.ac.th
ณัฐพล การอรุณ
nattapon11042541@gmail.com
ธนภูมิ บุญมี
tanaphoom.bo@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการความรู้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามบัวบาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรในการศึกษา คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 49 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างใน 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร 2) สภาพการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกร 3) ความคิดเห็นต่อความสำคัญของความรู้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม และ 4) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อความรู้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของตนเอง โดยข้อมูลการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกรที่รวบรวมได้จะนำมาวิเคราะห์ตามหลักสถิติเชิงพรรณา และประยุกต์ใช้วิธีการของ Borich เพื่อประเมินความต้องการความรู้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของสมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่เป็นรูปแบบกึ่งพัฒนาที่มีการใช้เครื่องเพิ่มออกซิเจน มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ มีโรงเรือนจัดเก็บอุปกรณ์ และใช้อาหารสำเร็จรูป ในส่วนของความคิดเห็นต่อความสำคัญของความรู้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.98) ประเด็นความรู้ที่มีความสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) การจัดการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม (ค่าเฉลี่ย 4.45) 2) การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย (ค่าเฉลี่ย 4.29) และ 3) การเตรียมบ่อและการจัดการคุณภาพน้ำ (ค่าเฉลี่ย 4.24) ส่วนความคิดเห็นต่อความรู้ในการผลิตกุ้งก้ามกรามของตนเอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.61) โดยความคิดเห็นของเกษตรกรต่อความรู้ของตนเองมีคะแนนเฉลี่ย 4 อันดับแรก ได้แก่ 1) การใช้จุลินทรีย์ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (ค่าเฉลี่ย 3.00) 2) การบริหารจัดการกลุ่ม (ค่าเฉลี่ย 2.96) 3) การจัดการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามระยะหลังช่วงอนุบาล-พร้อมขาย (ค่าเฉลี่ย 2.80) และ 4) การบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์ม (ค่าเฉลี่ย 2.80) จากการประเมินความต้องการความรู้ พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้องการความรู้ในการผลิตกุ้งก้ามกราม 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย 2) การจัดการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม และ 3) การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกุ้งก้ามกราม</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/264458
การสะสมไมโครพลาสติกในปูม้า (Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758)) บริเวณชายฝั่งจังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
2024-08-22T10:54:51+07:00
ปัทมาวดี บุญธรรม
jariyavadee@go.buu.ac.th
จิตรา ตีระเมธี
jittra@go.buu.ac.th
ปัทมา วิริยพัฒนทรัพย์
pattawi@kku.ac.th
จริยาวดี สุริยพันธุ์
jariyavadee@buu.ac.th
<p>การศึกษานี้ศึกษาการสะสมไมโครพลาสติกในปูม้า (<em>Portunus pelagicus</em> (Linnaeus, 1758)) จากธนาคารปูม้า 9 แห่ง ในจังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 รวบรวมตัวอย่างปูม้าทั้งหมด 90 ตัวอย่าง แต่ละตัวอย่างแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ กระเพาะอาหาร รังไข่ ก้ามปู และเนื้อปู จากนั้นสกัดด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 50% และกรองด้วยกระดาษกรอง GF/C แยกชนิด และนับจำนวนไมโครพลาสติกผ่านกล้องสเตอริโอไมโครสโคป ผลการศึกษาพบว่า เป็นไมโครพลาสติกแบบเส้นใยเป็นกลุ่มหลัก สีไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือสีดำ มีจำนวนเฉลี่ย 42±17 ชิ้น พบการสะสมไมโครพลาสติกมากที่สุดในกระเพาะอาหารของปูม้าเพศผู้ โดยเฉลี่ย 17±27 ชิ้น ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P>0.05) กับก้ามปู และเนื้อปู การสะสมของไมโครพลาสติกในปูม้าเพศเมียที่พบในก้ามปู ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P>0.05) กับกระเพาะอาหาร รังไข่ และเนื้อปู จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการสะสมไมโครพลาสติกในปูม้าจังหวัดชลบุรี มีมากกว่าจังหวัดระยอง มากที่สุดคือตลาดปลาหาดวอนนภา</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/259129
การใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ข้ามชนิดในปลาสกุล Mystus เพื่อการจัดการพันธุกรรมปลาแขยงกง
2024-07-09T08:21:40+07:00
เชาวลีย์ ใจสุข
chaowalee2009@hotmail.com
พัชรา นิธิโรจน์ภักดี
patchara_ni@rmutto.ac.th
กนกสิณี ศิริรักษ์
Khanoksinee.s@gmail.com
อโนชา กิริยากิจ
anoant@hotmail.com
กิติพงษ์ สุวรรณเกตุ
vannamei.k@gmail.com
นิภาพร จุฬารมย์
enjoy_kaa2009@hotmail.com
บุษบา มะโนแสน
kai@rmutl.ac.th
จิรรัชต์ กันทะขู้
jirarattim@rmutl.ac.th
<p>การจัดการพันธุกรรมประชากรในโรงเพาะฟักเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการเพาะเลี้ยง ซึ่งในการพัฒนาข้อมูลพันธุกรรมด้วยเครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ได้รับความนิยมใช้ในการศึกษา ทั้งนี้การพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ด้วยคุณสมบัติของไมโครแซทเทลไลท์ไพรเมอร์ที่พัฒนาในสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งสามารถใช้กับอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่อยู่ในครอบครัวหรือสกุลเดียวกันได้ การศึกษานี้จึงทดสอบเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ที่พัฒนาจากปลากดเหลือง (<em>Mystus nemurus</em>) 11 ตำแหน่ง กับปลาแขยงกง (<em>Mystus gulio</em>) ซึ่งเป็นปลาที่ได้รับการส่งเสริมเพาะเลี้ยงเพื่อทราบข้อมูลทางพันธุกรรมสำหรับการจัดการประชากรโรงเพาะฟักหนึ่งแห่งในจังหวัดจันทบุรี ผลพบความหลากรูปแบบที่เครื่องหมาย 6 ตำแหน่ง ได้แก่ MnRmCT6-2, MnRmE11-1, Mns432, MnBp8-1-30, MnVj2-1-62 และ MnBp8-4-43b พบการออกจากสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์กเกือบทุกตำแหน่งยกเว้น MnRmE11-1 ซึ่งการเบี่ยงเบนที่พบเป็นแบบที่มี <em>H</em><sub>e </sub>> <em>H</em><sub>o</sub> แสดงถึงกลุ่มตัวอย่างมีเฮทเทอโรไซโกตน้อยกว่าที่ควรจะเป็นและพบค่า <em>F</em><sub>IS</sub> เป็นบวกแสดงถึงประชากรมีระดับเฮทเทอโรไซโกซิตี้ต่ำจากการผสมเลือดชิด การประเมิน Effective population size (<em>N</em><sub>e</sub>) พบกลุ่มตัวอย่างปลาแขยงกงมีจำนวน<em> N</em><sub>e</sub> มากเกินการประเมิน (Infinite) แต่ตรวจพบการมีสภาวะคอขวด ดังนั้นข้อมูลจากการศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้วางแผนการจัดการประชากรพ่อแม่พันธุ์ในโรงเพาะฟักเพื่อรักษาระดับความหลากหลายทางพันธุกรรมและเหมาะสมต่อการผลิตลูกพันธุ์ในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาแขยงกงอย่างยั่งยืนต่อไป</p> <p> </p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263764
พืชอาหารผึ้ง (Apis spp.): การจัดการสวนผลไม้ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2024-07-02T10:04:03+07:00
เบญจวรรณ ชิวปรีชา
benchawon@buu.ac.th
พิทักษ์ สูตรอนันต์
benchawon@buu.ac.th
ยุพดี เผ่าพันธ์
benchawon@buu.ac.th
ทักษิณ วรศรี
benchawon@buu.ac.th
<p>ผึ้งเป็นแมลงสังคมที่มีประโยชน์ในแง่เป็นพาหะถ่ายเรณูที่ก่อให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม ทำให้พืชสวนติดผลและเพิ่มผลผลิต การขาดแคลนพืชอาหารเป็นเหตุผลที่ผึ้งไม่เข้ามาหาอาหารในสวนผลไม้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของพืชที่เป็นแหล่งน้ำต้อยและ/ หรือเรณู ลักษณะของดอกไม้ รวมทั้งฤดูกาลออกดอกของพืชอาหารผึ้งในสวนไม้ผลเศรษฐกิจ การศึกษาพืชอาหารผึ้งทำในสวนผลไม้ 6 แห่งของจังหวัดปราจีนบุรี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2566 โดยวิธีการสังเกตดอกไม้ที่ผึ้งลงเกาะอย่างน้อย 3 ครั้ง ภายในเวลา 10 นาที บันทึกความหลากหลายทางชนิดของพืช ลักษณะดอก สี กลิ่น และนำดอกไม้มาหาต่อมน้ำต้อยในห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบพืชอาหารผึ้งทั้งพืชท้องถิ่นและพืชต่างถิ่น 53 ชนิด 33 วงศ์ ประกอบด้วยไม้ต้นและไม้ต้นขนาดเล็ก 30 ชนิด ไม้พุ่ม 9 ชนิด ไม้ล้มลุก 8 ชนิด และอื่น ๆ 6 ชนิด พืชที่ให้น้ำต้อยพบ 42 ชนิด ดอกไม้ที่ผึ้งใช้เป็นอาหารส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นดอกช่อ สีขาวหรือเหลือง และมีกลิ่นหอม ช่วงที่ดอกไม้ประจำฤดูกาลออกดอกน้อยที่สุดอยู่ระหว่างเดือนกรกฏาคมถึงเดือนกันยายน การรักษาความหลากหลายของพืชอาหารประเภทไม้ต้นบางชนิดในสวนช่วยเพิ่มแหล่งสร้างรัง และแหล่งอาหารให้แก่ผึ้งได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตจากนิเวศบริการจากผึ้ง และเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/262504
ความต้องการส่งเสริมการใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะของเกษตรกรผู้ผลิตลำไย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
2024-03-30T13:43:34+07:00
Soudaphone Hakhoumphachanh
soudaphonemon1996@gmail.com
พหล ศักดิ์คะทัศน์
soudaphonemon1996@gmail.com
นภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย
soudaphonemon1996@gmail.com
นคเรศ รังควัต
soudaphonemon1996@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม ของเกษตรกรผู้ผลิตลำไย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 2) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะของเกษตรกรในการผลิตลำไย และ 3) ความต้องการการส่งเสริมการใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะของเกษตรกรผู้ผลิตลำไย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ผลิตลำไย ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 399 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน จากสูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และกำหนดความคลาดเคลื่อน 0.05 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการในการส่งเสริมการใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุเฉลี่ย 61 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าร้อยละ 48.5 มีรายได้ในครัวเรือนเฉลี่ย 393,400.00 บาท/ปี มีรายได้จากการผลิตลำไย เฉลี่ย 107,760.00 บาท/ปี มีจำนวนแรงงานในการผลิตลำไย เฉลี่ย 4 คน ส่วนด้านความต้องการส่งเสริมการใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะ พบว่า เกษตรกรมีความต้องการมากที่สุดได้แก่ ด้านการลงทุน และ ด้านผลผลิตและราคา (ค่าเฉลี่ย 4.41) จาก ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านผลผลิตและราคา และ ด้านการลงทุน ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความต้องการส่งเสริมการใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะของเกษตรกรผู้ผลิตลำไย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .000 ได้แก่ สถานภาพสมรส การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอัจฉริยะ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ และรายได้ในครัวเรือน ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะของเกษตรกรผู้ผลิตลำไย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยกลางคนจนถึงวัยผู้สูงอายุ มีปัญหาเรื่องความรู้ และการใช้งานเรื่องเทคโนโลยี</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263775
การผลิตและจำหน่ายสุรากลั่นชุมชน: แนวทางส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าข้าวของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเมล็ดพันธุ์และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านโนนเชือก จังหวัดขอนแก่น
2024-06-24T09:54:36+07:00
มเหสักข์ ผุดผาด
mahesak.p@kkumail.com
สุกัลยา เชิญขวัญ
sukanl@kku.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตสุรากลั่นชุมชน ช่องทางการจำหน่าย เส้นทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม ปัญหาและข้อจำกัด แนวทางการแก้ไขและส่งเสริมการผลิตสุรากลั่นชุมชน ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเมล็ดพันธ์และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านโนนเชือก จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ประธาน กรรมการ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 23 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนารวมทั้งการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า วิสาหกิจชุมชนจดทะเบียนอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบัน (พ.ศ. 2566) มีสมาชิกทั้งหมด 27 ราย วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสุรา ได้แก่ ข้าวเหนียว ลูกแป้ง และน้ำ กระบวนการผลิตสุรากลั่น มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ การหมัก และ การกลั่นสุรา วิสาหกิจชุมชนจำหน่ายสุรากลั่น 3 ช่องทาง ได้แก่ จำหน่าย ณ สถานที่ผลิต จำหน่ายผ่านคำสั่งซื้อ และจำหน่ายตามการจัดงานมหกรรมสินค้า ผลการศึกษา พบว่า การเพิ่มมูลค่าข้าวโดยวิธีการแปรรูปข้าวเป็นสุรากลั่นชุมชน มีต้นทุน 27.3 บาท ต่อข้าว 1 กิโลกรัม คิดเป็นกำไรเท่ากับ 72.7 บาท ต่อข้าว 1 กิโลกรัม มูลค่าที่เพิ่มขึ้น จากต้นทุนการผลิตคิดเป็นร้อยละ 266.3 เกษตรกรแสดงความคิดเห็นในการเลือกการแปรรูปข้าวเป็นสุรากลั่นและจำหน่ายให้กับวิสาหกิจชุมชนมากที่สุด (ร้อยละ 30.4) ปัญหาในการผลิตสุรากลั่นชุมชน ส่วนใหญ่ไม่ใช่ปัญหาด้านกระบวนการผลิตแต่เป็นปัญหาด้านกระบวนการกฎหมาย เช่น การขออนุญาตผลิต แนวทางการส่งเสริมการผลิตสุรากลั่นชุมชน ได้แก่ การวางแผนการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อการผลิตสุรากลั่นในชุมชน การสนับสนุนอุปกรณ์ในการกลั่นสุราให้ทันสมัย และการปรับปรุงช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/262818
ผลของปุ๋ยหมักและถ่านชีวภาพต่อการผลิตผักกาดหอมภายใต้ชุดดินสันทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
2024-06-12T15:16:03+07:00
รัตนาพร ชุ่มชัย
ornprapa@hotmail.com
พฤกษ์ ชุติมานุกูล
ornprapa@hotmail.com
อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์
ornprapa@hotmail.com
<p>การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญเพื่อการผลิตพืชให้ได้ผลผลิตตามความต้องการ โดยเฉพาะหากเป็นการใช้วัสดุเหลือใช้ภายในฟาร์มย่อมทำให้การปรับปรุงดินนั้นมีต้นทุนต่ำและสามารถหมุนเวียนปัจจัยการผลิตที่นำไปสู่ความยั่งยืนได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ปุ๋ยหมักและถ่านชีวภาพเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีสำหรับการผลิตผักกาดหอมเรดโอ๊ค โดยวางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ (บล็อก) 10 ตำรับทดลอง ได้แก่ T1: ไม่ใส่ปุ๋ยและถ่านชีวภาพ (ควบคุม), T2-T3: ปุ๋ยหมักอัตรา 1,000 และ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่, T4-T5: ถ่านชีวภาพอัตรา 1,000 และ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่, T6: ปุ๋ยหมักและถ่านชีวภาพอย่างละ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่, T7: ปุ๋ยหมัก 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่, T8: ปุ๋ยหมัก 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่, T9: ปุ๋ยหมัก 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ และ T10: ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (ปุ๋ยสูตร 16-16-16 + 46-0-0 อย่างละ 30 กิโลกรัมต่อไร่ และรองพื้นด้วยปุ๋ยมูลโค 2,000 กิโลกรัมต่อไร่) จากผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมียังคงทำให้ผักกาดหอมเรดโอ๊คมีน้ำหนักสดต้นดีที่สุดทั้ง 2 รอบการเก็บเกี่ยว และมีต้นทุนของปุ๋ยที่ต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยหมักและถ่านชีวภาพในอัตราที่สูงที่สุด อย่างไรก็ตามหากสามารถจำหน่ายผลผลิตในราคาผลผลิตปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์ จะพบว่า การใส่ปุ๋ยหมัก 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ได้กำไรสุทธิสูงที่สุด</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263051
อัตราส่วนและรูปแบบที่เหมาะสมของแหนแดง (Azolla microphylla) ร่วมกับมูลโค สำหรับการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน Eudrillus eugeniae และคุณสมบัติปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน
2024-07-16T07:11:49+07:00
ธนวรรธน์ อัครกิตติ์วินิช
thanawat.akk@ku.th
จำเนียร ชมภู
agrjnc@ku.ac.th
ชัยสิทธิ์ ทองจู
agrcht@ku.ac.th
วนิดา สืบสายพรหม
agrwdj@ku.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของ bedding ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไส้เดือนดิน วางแผนการทดลองแบบ <br />2 x 2 x 5 Factorial in completely randomized design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 คือ รูปแบบการเตรียม bedding ได้แก่ การนำ bedding ใช้ทันทีหลังผสมมูลโคกับแหนแดงตามอัตราส่วนต่าง ๆ (normal bedding) และการนำ normal bedding ไปผ่านกระบวนการหมัก 15 วัน (pre-compost) ปัจจัยที่ 2 คือ รูปแบบของแหนแดง ได้แก่ แหนแดงสด และแหนแดงแห้ง และปัจจัยที่ 3 คือ อัตราส่วนของมูลโคกับแหนแดง ได้แก่ 90:10, 70:30, 50:50, 30:70 และ 10:90 (โดยปริมาตรต่อปริมาตร) ทำการเลี้ยงไส้เดือนดินใน bedding ต่าง ๆ เป็นเวลา 45 วัน จึงทำการแยกตัวไส้เดือนดินออกจากมูลนำไปชั่งน้ำหนักสุดท้าย พบว่า การเลี้ยงไส้เดือนดินใน bedding ที่ไม่มีการหมักด้วยอัตราส่วนของมูลโคกับแหนแดงสด 90:10 และ 70:30 ทำให้ไส้เดือนดินมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้ได้ทำการวิเคราะห์คุณสมบัติของปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจาก bedding ต่าง ๆ หลังเลี้ยงไส้เดือนดิน 45 วัน พบว่า bedding ที่ผ่านการหมักอัตราส่วนของมูลโคกับแหนแดงแห้ง 10:90 สามารถเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักที่มีปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสทั้งหมดมากที่สุด ดังนั้นการเลือกใช้รูปแบบของ bedding ที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับเป้าหมายการผลิตของผู้เลี้ยงไส้เดือนดินต้องการผลิตภัณฑ์เป็นตัวไส้เดือนดินที่มีน้ำหนักมากหรือต้องการปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263947
Comparative effect of deep and conventional tillage on some soil physical properties of sandstone-derived soils under cassava cultivation
2024-07-15T07:44:38+07:00
Thidaphon Chumsena
somchai.a@ku.ac.th
Somchai Anusontpornperm
somchai.a@ku.ac.th
Suphicha Thanachit
somchai.a@ku.ac.th
<p>Plough pan is a major problem for cassava cultivation in upland soils of northeast Thailand. This study was undertaken with the aim of comparing the impact between deep tillage, continuously operated for ten years and conventional tillage, commonly practiced by local farmers on some physical properties of soils derived from sandstone used for cassava cultivation. There were two transects chosen, deep-tilled and conventional-tilled transects. On each transect, five mini soil profiles with the size of 1 x 1 m deep and wide were dug parallelly between two transects. Pedon analysis and field morphology were studied at the time of sampling. Soil samples were collected from genetic horizons for the analysis of particle size distribution, including sand fractions, bulk density, and hydraulic conductivity. All soils were dominated by sand particles, mainly having sand to loamy sand texture. The genetic horizon sequence of all soils was Ap-Bt. The approximate topsoil thickness of deep-tilled soils, on average, was 41.2 cm (mostly Ap1-Ap2) while the conventional-tilled soils had 25.2 cm thick topsoil (mostly Ap). The plough pans with the average bulk density of 1.85 Mg/m<sup>3</sup> were found directly underneath the surface layer of all conventional-tilled soils. In contrast, the soils experienced deep-tilled operation showed no sign of subsoil compaction as the layer underneath the surface one had the average bulk density of only 1.55 Mg/m<sup>3</sup> which was lower than the directly upper and lower horizons. It was also the case for hydraulic conductivity, but the values were in reverse fashion. The higher bulk density was governed by silt and clay contents while fine and very fine sand contents negatively correlated with bulk density in a significant manner. These evidently reaffirm that continuous deep tillage operation can solve the plough pan problems in these soils and should be recommended to local farmers to operate likewise.</p>
2025-02-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น