วารสารแก่นเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj
<p>วารสารแก่นเกษตรได้รับทุนสนับสนุนเป็นวารสารที่มีคุณภาพตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จาก สกอ. ประจำปี 2551, เป็นวารสารที่ยอมรับในการใช้เป็นผลงานตีพิมพ์เรื่องที่ 2 ของนักศึกษาทุน คปก. (ตั้งแต่รุ่นที่ 11 เป็นต้นไป) , มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Citation Index, TCI), และเผยแพร่บทคัดย่อภาษาอังกฤษในฐานข้อมูล AGRIS-FAO (http://agris.fao.org/agris-search/index.do)</p>
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
th-TH
วารสารแก่นเกษตร
0125-0485
-
ผลการเสริมขมิ้นชัน ขิง และขมิ้นชันร่วมกับขิงในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่นกกระทาญี่ปุ่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/256361
<p>ผลของการเสริมขมิ้นชัน ขิง และขมิ้นชันร่วมกับขิงในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของนกกระทาญี่ปุ่น โดยใช้นกกระทาญี่ปุ่นเพศเมียอายุ 18 สัปดาห์ จำนวน 300 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 25 ตัว คือ กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารควบคุม (Control) กลุ่มที่ 2 ได้รับการเสริมขมิ้นชันผง (C) กลุ่มที่ 3 ได้รับการเสริมขิงผง (G) และกลุ่มที่ 4 ได้รับการเสริมขมิ้นชันผงร่วมกับขิงผง (CG) ที่ 1.5 กรัม/กก. ผลการทดลอง พบว่า การเสริมขมิ้นชัน ขิง และขมิ้นชันร่วมกับขิง ส่งผลทำให้ปริมาณอาหารที่กินได้ลดลง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักไข่, ผลผลิตไข่, มวลไข่ และน้ำหนักไข่ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) คุณภาพไข่ พบว่า ดัชนีรูปทรงไข่, ดัชนีไข่แดง, ดัชนีไข่ขาว, ความสูงไข่ขาว, น้ำหนักไข่ขาว, น้ำหนักเปลือก, น้ำหนักไข่แดง, เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว, เปอร์เซ็นต์ไข่แดง, เปอร์เซ็นต์เปลือกไข่, ความสด, ค่าความสว่าง (L*), ค่าความเป็นสีแดง (a*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การเสริมขมิ้นชัน ขิง และขมิ้นชันร่วมกับขิงที่ระดับ 1.5 กรัม/กก. ช่วยลดปริมาณอาหารที่กินได้ของนกกระทาโดยไม่ส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักไข่, ผลผลิตไข่, น้ำหนักไข่, มวลไข่ และคุณภาพไข่</p>
ปฐมา แทนนาค
นริศรา ยิ่งกำแหง
ภาวิณี จำปาคำ
ใยไหม ช่วยหนู
ธรรมธวัช แสงงาม
วันวิสาข์ วัฒนะพันธ์ศักดิ์
Copyright (c) 2023 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
210
217
-
ผลของความเครียดจากความร้อนต่อการตายของเซลล์แบบ apoptosis และการแสดงออกของ heat shock protein ในเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากตัวอ่อนไก่พื้นเมือง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/254897
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเครียดจากความร้อนต่อการตายของเซลล์แบบ apoptosis และระดับการแสดงออกของ heat shock protein (HSP) ในเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากตัวอ่อนไก่พื้นเมือง เซลล์จากตัวอ่อนไก่พื้นเมืองประดู่หางดำเชียงใหม่ (PC) และประดู่หางดำมข.55 (PK) ถูกนำมาเลี้ยงในอุณหภูมิปกติ (กลุ่มควบคุม; 37 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง) และทดสอบความเครียดจากความร้อน (42 องศาเซลเซียส 6, 12 และ 24 ชั่วโมง) เพื่อวัดการตายของเซลล์แบบ apoptosis และการแสดงออกของ HSP ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเซลล์ PC และ PK ได้รับความร้อน 42 องศาเซลเซียส 12 และ 24 ชั่วโมง มีอัตราการเกิด apoptosis เพิ่มขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับความร้อน 42 องศาเซลเซียส 6 ชั่วโมง (P < 0.05) นอกจากนี้ อัตราการเกิด apoptosis ในเซลล์ PC ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับความร้อน 42 องศาเซลเซียส 6, 12 และ 24 ชั่วโมง สูงกว่าเซลล์ PK อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ระดับการแสดงออกของ HSP70 และ HSP90 ในเซลล์ PK ที่ได้รับความร้อน 42 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง เพิ่มสูงขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับความร้อน 42 องศาเซลเซียส 6 และ 12 ชั่วโมง (P < 0.05) ในขณะที่เซลล์ PC เมื่อได้รับความร้อน 42 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง มีการแสดงออกของ HSP70 และ HSP90 สูงขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (P < 0.05) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มได้รับความร้อน 42 องศาเซลเซียส 6 และ 12 ชั่วโมง (P > 0.05) อย่างไรก็ตาม เมื่อเซลล์ได้รับความร้อน 42 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง การแสดงออกของ HSP70 และ HSP90 ในเซลล์ PK สูงกว่า PC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) การศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากตัวอ่อนไก่ประดู่หางดำมข.55 มีความสามารถในการทนร้อนได้ดีกว่าเซลล์จากไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เมื่อเซลล์สัมผัสกับอุณหภูมิสูงเป็นเวลายาวนาน</p>
ปริธาน ศรีถาการ
สุรชัย สุวรรณลี
เชาวลิต ยั่วจิตร
จินดา กลิ่นอุบล
ชวลิต ศิริบูรณ์
Copyright (c) 2023 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
218
230
-
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่คุณค่าในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์ของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/253835
<p>การจัดการห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์ของกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือตอนบน โดยใช้วิธีการประชุมระดมความเห็นจากตัวแทนเกษตรกร ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ทั้งการประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยการใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย ต้นทุน-ผลตอบแทนจากการผลิต อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ด้านห่วงโซ่คุณค่าเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลในกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน โดยแบ่งกลุ่มเกษตรกร 3 ระดับที่แตกต่างกันตามศักยภาพการผลิต จำนวน 148 ตัวอย่าง ได้แก่ สูง (36) ปานกลาง (65) น้อย (47) ผลการศึกษาห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วย 5 ห่วงโซ่ พบว่า1) ห่วงโซ่ฟาร์มไก่พ่อแม่พันธุ์ได้ไข่เชื้อมีประสิทธิภาพของการผลิตมีค่า ROI 1.5-3% การยกระดับด้วยการเก็บรักษาสายพันธุ์ให้คงสายพันธุ์แท้ 2) ห่วงโซ่โรงฟักไข่เชื้อได้ลูกไก่มีประสิทธิภาพของการฟักไข่มีค่า ROI 1-2% การยกระดับด้วยการใช้เทคโนโลยีตู้ฟักไข่ที่มีคุณภาพ 3) ห่วงโซ่ไก่ขุนมีประสิทธิภาพของการผลิตมีค่า ROI 1-2% การยกระดับด้วยการใช้นวัตกรรมการจัดการกลุ่มวิสาหกิจอย่างเป็นระบบ 4) ห่วงโซ่โรงฆ่าแต่ละกลุ่มมีค่าเชือดไก่เฉลี่ย 15-20 บาท/ตัว การยกระดับด้วยการพัฒนาโรงฆ่าขนาดเล็กพิเศษของกลุ่ม และ 5) ห่วงโซ่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีการซื้อไก่ชำแหละทั้งตัว 1 ตัว/ครั้ง ราคา 101-150 บาท/ตัว ที่ตลาดสด การยกระดับด้วยการสร้างการรับรู้การประชาสัมพันธ์ในลักษณะเด่นของเนื้อไก่พื้นเมือง ส่งผลให้เกิดการยกระดับศักยภาพเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองที่เป็นเชิงพาณิชย์ให้สามารถเป็นอาชีพได้ ข้อเสนอแนะกลุ่มเกษตรกรในห่วงโซ่ต้นน้ำ ได้แก่ กลุ่มระดับสูง ควรมีการรักษาคุณภาพของลูกไก่ให้แข็งแรง สำหรับการจำหน่ายให้กับเกษตรกรเครือข่าย กลุ่มระดับปานกลาง ควรมีการพัฒนาฟาร์มของสมาชิกให้เข้าสู่มาตรฐาน GAP ให้มากขึ้น และกลุ่มระดับน้อย ควรพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเลี้ยง ระบบวัคซีนให้มากขึ้น เพื่อให้มีอัตราการรอดของไก่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้การยกระดับเพื่อการสร้างอาชีพเลี้ยงไก่ไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ตามศักยภาพของแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม</p>
ฑีฆา โยธาภักดี
พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์
สุขุม พันธุ์ณรงค์
พิมลพรรณ บุญยะเสนา
น้ำฝน รักประยูร
สุวิทย์ โชตินันท์
Copyright (c) 2022 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
231
243
-
ศักยภาพการบริหารจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/255004
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบการบริหารจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือ และประเมินศักยภาพการบริหารจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียตลอดโซ่อุปทาน ได้แก่ เกษตรกร 112 ราย ผู้ประกอบการรวบรวมโคมีชีวิต 2 ราย ผู้ประกอบการฆ่า ชำแหละ และผู้ประกอบการตัดแต่งชิ้นส่วน 1 ราย แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยโครงสร้างต้นทุน-ผลตอบแทน และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนตลอดโซ่อุปทาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบการบริหารจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือ ประกอบด้วย <strong>1) การผลิต</strong> เกษตรกรผลิตโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมบราห์มัน และลูกผสมเลือดยุโรป 3 รูปแบบ ได้แก่ การผลิตโคต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยการผลิตโคปลายน้ำ พันธุ์ลูกผสมเลือดยุโรป ROI สูงสุด 9.57% <strong>2) การรวบรวม</strong> เกษตรกรผู้นำในพื้นที่เป็นผู้ประกอบการรวบรวมโคมีชีวิตแล้วกระจายไปยังผู้รวบรวมเพื่อการตลาดนัดโค-กระบือ ผู้ประกอบการโรงฆ่า และผู้ส่งออก ROI 3.04% <strong>3) การฆ่า ชำแหละ</strong> ดำเนินการโดยสหกรณ์เครือข่ายโคเนื้อ จำกัด โดยใช้โรงฆ่าคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่วนวิสาหกิจโคเนื้อล้านนาใช้โรงฆ่าสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด และโรงฆ่าบริษัทพรีเมี่ยมบีฟ ROI 7.27% และ <strong>4) การตัดแต่งชิ้นส่วนเนื้อโค</strong> ดำเนินการโดยสหกรณ์เครือข่ายโคเนื้อ จำกัด และวิสาหกิจโคเนื้อล้านนา ROI 15.85% ส่วนศักยภาพการบริหารจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือ พบว่า การตัดแต่งชิ้นส่วนเนื้อโคเพื่อขายปลีกมีศักยภาพสูงสุด ในขณะที่การรวบรวมมีศักยภาพน้อยที่สุด ดังนั้นการพัฒนาโซ่อุปทานโคเนื้อภาคเหนือควรมุ่งเน้นไปที่โซ่ปลายน้ำ</p>
นลินี คงสุบรรณ์
วันวสา วิโรจนารมย์
วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์
จุฬากร ปานะถึก
สุบรรณ ฝอยกลาง
อานนท์ ปะเสระกัง
Copyright (c) 2023 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
244
259
-
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนในจังหวัดอ่างทอง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/251149
<p>จังหวัดอ่างทอง เป็นหนึ่งในจังหวัดพื้นที่นำร่องของรัฐบาลในการสนับสนุนการเลี้ยงปลาช่อน แต่พบว่าเกษตรกรจังหวัดอ่างทองมีการใช้ต้นทุนในการเลี้ยงค่อนข้างสูง และประสบปัญหาด้านตลาดที่มีราคาขายค่อนข้างต่ำ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษารูปแบบการเลี้ยงปลาช่อนในจังหวัดอ่างทอง และ 2.ศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคในการเลี้ยงปลาช่อนในจังหวัดอ่างทอง ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจากเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนจำนวน 18 ราย โดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคด้วย DEA ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้ข้อสมมติผลได้ต่อขนาดคงที่ (CRS) และผลได้ต่อขนาดผันแปร (VRS) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.862 และ 0.960 ตามลำดับ ในส่วนของผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านขนาด (SE) พบว่ามีเกษตรกร 9 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 50.00 ของเกษตรกรในพื้นที่ที่มีขนาดการผลิตที่เหมาะสม ส่วนเกษตรกรอีก 9 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 50.00 ยังมีขนาดการผลิตที่เล็กเกินไป ดังนั้นการที่จะทำให้เกษตรกรมีประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น จะต้องลดปัจจัยการผลิตลง ซึ่งปัจจัยที่เกษตรกรควรคำนึงมากที่สุด คือ แรงงาน พื้นที่บ่อ และความหนาแน่นในการปล่อย ตามลำดับ</p>
ธนิศฐ์สรณ์ คันธกมลมาศ
กุลภา กุลดิลก
ณัฐพล พจนาประเสริฐ
รวิสสาข์ สุชาโต
อัจฉรา ปทุมนากุล
อภิชาต ดะลุณเพธย์
Copyright (c) 2023 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
260
270
-
การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าของกล้วยหอมทองในจังหวัดเพชรบุรีภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/252792
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่คุณค่าของเกษตรกรและผู้รวบรวมกล้วยหอมทองในจังหวัดเพชรบุรี และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลต่อห่วงโซ่คุณค่าของเกษตรกรและผู้รวบรวมกล้วยหอมทองในจังหวัดเพชรบุรี ทั้ง 4 กลุ่มตามช่องทางการจำหน่าย คือ จำหน่ายตลาดทั่วไป จำหน่ายให้กับสหกรณ์การเกษตร 2 แห่ง และจำหน่ายให้กับโรงกล้วยเอกชน งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรและผู้รวบรวมกล้วยหอมทอง จำนวน 32 คน ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ผลวิจัยพบว่า เกษตรกรที่จำหน่ายกล้วยหอมทองแบบไม่ประกันราคาได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มากที่สุด คือ ปัจจัยนำเข้า และด้านการตลาดและการขาย และผู้รวบรวมกล้วยหอมทองที่รับซื้อผลผลิตแบบประกันราคาได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มากที่สุด คือ ด้านการตลาดและการขาย ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นแนวทางให้แก่ผู้รวบรวมกล้วยหอมทองในจังหวัดเพชรบุรีในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดโรคระบาด เพื่อให้สามารถปรับปรุงแนวทางการจำหน่าย และวางแผนการผลิตให้เหมาะสมมากที่สุด</p>
กานต์กนก ผุดวัฒน์
โสภณ แย้มกลิ่น
เออวดี เปรมัษเฐียร
Copyright (c) 2022 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
271
287
-
อิทธิพลของวิธีการต่อกิ่ง และอิทธิพลชนิดของต้นตอในส้มโอพันธุ์เนื้อสีแดง ภายใต้สภาวะความเครียดจากการขาดน้ำที่รุนแรงที่มีผลต่อการชักนำการออกดอกของกิ่งพันธุ์ดีที่ปลูกในสภาพกระถาง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/255558
<p>การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการต่อกิ่งมีความสำคัญต่อการผลิตส้มโอในเชิงการค้า อย่างไรก็ตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการชักนำการออกดอกของส้มโอที่มีวิธีการต่อกิ่งและชนิดของต้นตอที่แตกต่างกันนั้นมีจำกัด การศึกษานี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของวิธีการต่อกิ่ง และอิทธิพลของชนิดของต้นตอในส้มโอพันธุ์เนื้อสีแดง ภายใต้สภาวะความเครียดจากการขาดน้ำที่รุนแรงที่มีผลต่อการชักนำการออกดอกของกิ่งพันธุ์ดีที่ปลูกในสภาพกระถาง การทดลองแบบ 2x3 แฟกทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ๆ ละ 3 ต้น ปัจจัย A คือ วิธีการต่อกิ่ง 2 วิธี ปัจจัย B คือ ต้นตอ 3 ชนิด พบว่าอิทธิพลวิธีการต่อกิ่ง ชนิดต้นตอ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการต่อกิ่งกับชนิดต้นตอให้ค่าเฉลี่ยของทั้ง 10 ลักษณะที่ศึกษามีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ปัจจัยของการต่อกิ่งด้วยวิธีการเสียบข้างบนต้นตอที่ปลูกจากกิ่งตอนภายใต้สภาวะความเครียดที่รุนแรงให้ค่าเฉลี่ยจำนวนดอกของกิ่งพันธุ์ดีสูงที่สุด (13.00 ดอก/ต้น) เป็นผลมาจากการตอบสนองที่ต่อเนื่องดังต่อไปนี้ คือ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด การชักนำของปากใบ และประสิทธิภาพการใช้แสงของใบในต้นตอลดลง (1.53% 54.36 mmol/m<sup>2</sup>/s และ 0.41 Fv/Fm ตามลำดับ) ขณะที่ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่โครงสร้าง และอัตราส่วนของ C:N เพิ่มขึ้น (177.17 mg/g DW และ 10.20% DW ตามลำดับ) และการแสดงออกของ <em>CiFT CsAP1</em> และ <em>SOC1</em> RNA ของกิ่งพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น (16.66 21.70 และ0.91 AU ตามลำดับ) จึงส่งผลให้มีการออกดอกของกิ่งพันธุ์ดีได้สูงที่สุด</p>
ประวิทย์ ธรรมทะ
ชานนท์ ลาภจิตร
ธัญญารัตน์ ตาอินต๊ะ
สังคม เตชะวงค์เสถียร
สุชีลา เตชะวงค์เสถียร
Copyright (c) 2023 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
288
300
-
การพัฒนากระบวนการเร่งการเพาะงอกของตาลโตนดในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/254925
<p>จาวตาลเป็นส่วนของเมล็ดตาลที่อยู่ในระหว่างการงอก สามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์อาหารได้หลายชนิด แต่อัตราการงอกของเมล็ดตาลตามธรรมชาติต้องใช้เวลานานจึงมีผลกระทบต่อการนำไปใช้ประโยชน์ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการเร่งการเพาะงอกของตาลโตนดโดยศึกษาผลของความเข้มข้นกรดซัลฟิวริก อุณหภูมิของน้ำและระยะเวลาในการทำลายระยะการพักตัวในกระบวนการเร่งการเพาะงอกของเมล็ดตาลเพื่อผลิตเป็นจาวตาล ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลการเพาะงอกตาลโดยใช้วิธีดั้งเดิมตามภูมิปัญญาและปัญหาการผลิตของเกษตรกรที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า เกษตรกรใช้วิธีการกระตุ้นการงอกด้วยการแช่เมล็ดในน้ำ 15-30 วัน และมีอัตราการงอกประมาณ 54-75% ในขณะที่การวิจัยครั้งนี้มีการกระตุ้นการงอกโดยใช้สารละลายกรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 5, 10 และ 15% v/v และแช่เมล็ดตาลเป็นเวลา 6, 12, 18 และ 24 ชั่วโมง ก่อนนำไปเพาะงอก เปรียบเทียบกับการแช่เมล็ดตาลในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 60, 70, 80 และ 90 ํC ที่เวลาต่างกัน 10-90 นาที ผลการศึกษาพบว่า การแช่เมล็ดตาลโตนดในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 70 ํC นาน 40 นาที เมล็ดมีอัตราการงอกสูงสุด 91.11 % ที่ระยะเวลาการเพาะงอก 30 วัน ซึ่งไม่แตกต่างกับ (P>0.05) การแช่เมล็ดตาลในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 70 ํC นาน 20 นาที และ 60 นาที มีอัตราการงอก 88.89% และ 85.56% ตามลำดับ การแช่เมล็ดตาลโตนดในสารละลายกรดซัลฟิวริกมีอัตราการงอกต่ำอยู่ที่ 13-70% และชุดควบคุมที่ระยะเวลาการเพาะ 30 วัน มีอัตราการงอก 72-78% ดังนั้นสภาวะการเพาะงอกตาลโตนดที่เหมาะสมที่สุดคือการแช่เมล็ดตาลโตนดในน้ำร้อน 70 ํC นาน 20-40 นาที ซึ่งจะสามารถช่วยลดเวลาในการเพาะงอกและลดการสูญเสียเมล็ดตาลจากการเพาะงอกได้</p>
จันทนา ก่อนเก่า
วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล
พาขวัญ ทองรักษ์
ฉอ้อน จุ้ยแจ้ง
นิสันติ ศิลประเสริฐ
Copyright (c) 2022 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
301
308
-
ผลกระทบของยางแท่งที่ใช้สารปลอมปนในการจับตัวยางก้อนถ้วย
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/253567
<p>ยางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยางแท่งและมักประสบปัญหาการใช้สารปลอมปนในการจับตัวยาง การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบองค์ประกอบและความเข้มข้นของสารจับตัวยางที่ใช้ในการผลิตยางก้อนถ้วยที่จำหน่ายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ และศึกษาผลกระทบต่อการนำยางก้อนถ้วยไปผลิตเป็นยางแท่ง จากการตรวจสอบปริมาณความเข้มข้นของสารจับตัวด้วยเทคนิคไอออนโครมาโทกราฟี พบว่าประกอบด้วยไอออนฟอร์เมต 25% ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบ และองค์ประกอบของไอออนซัลเฟต 50% ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบ โดยมีความเข้มข้นในช่วง 17.89–93.46% โดยน้ำหนัก และ 36.17–99.74% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ส่วนสารจับตัวที่มีองค์ประกอบของไอออนฟอร์เมตผสมกับไอออนคลอไรด์ ไอออนซัลเฟตผสมกับไอออนคลอไรด์พบ 18.75% และ 6.25% ตามลำดับ ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบ และจากการนำยางก้อนถ้วยที่จับตัวด้วยกรดชนิดต่าง ๆ ผลิตยางแท่ง พบว่าสมบัติทางกายภาพของยางแท่งที่ใช้กรดฟอร์มิกในการจับตัวยางก้อนถ้วยมีสมบัติทางกายภาพเทียบเท่ากับยางแท่ง STR 5 ส่วนยางแท่งที่มีสารปลอมปน พบว่าสมบัติด้านความอ่อนตัวเริ่มแรก ดัชนีความอ่อนตัว และความหนืดต่ำกว่ามาตรฐานยางแท่ง STR 20</p>
ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล
พิศิษฐ์ พิมพ์รัตน์
บัญชา สมบูรณ์สุข
Copyright (c) 2022 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
309
318
-
โรคเชื้อราของยูคาลิปตัสในลานเพาะชำต้นกล้าและการบ่งชี้เชื้อสาเหตุโรค
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/256199
<p>การศึกษาโรคที่เกิดจากเชื้อราของยูคาลิปตัสจำนวน 9 โคลน ในลานเพาะชำต้นกล้าของบริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ระหว่าง เดือนเมษายน-ธันวาคม พ.ศ. 2561 พบอาการโรคใบจุด ใบไหม้ และไหม้จากยอด ได้แยกเชื้อราสาเหตุโรคจากอาการดังกล่าวแล้วนำไปทดสอบความสามารถในการทำให้เกิดโรคและนำไปบ่งชี้ในระดับสกุลจากลักษณะทางสัณฐานวิทยา โดยเชื้อราสาเหตุโรค <em>Coniella hibisci</em> มีความรุนแรงในการทำให้เกิดโรคใบจุดมากที่สุด <em>Cylindrocladium quinqueseptatum</em> และ <em>Coniella fusiformis</em> มีความรุนแรงในการทำให้เกิดโรคใบไหม้มากที่สุด ส่วนอาการไหม้จากยอดนั้นเชื้อ <em>Cylindrocladium quinqueseptatum</em> ทำให้เกิดโรคได้รุนแรงมากที่สุด และทำให้ต้นกล้ายูคาลิปตัสตายได้ใน 11 วันหลังการปลูกเชื้อ ซึ่งเชื้อราดังกล่าวมีความสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อการผลิตต้นกล้ายูคาลิปตัส จากการคัดเลือกไอโซเลตของเชื้อราแล้วนำไปบ่งชี้ชนิด (species) ของเชื้อราสาเหตุโรคด้วยวิธีการทางชีวโมเลกุลโดยเปรียบเทียบลำดับเบสของ DNA ในส่วน ITS1-5.8S-ITS2 ของ rDNA ร่วมกับ TEF-1α gene นั้น พบว่าเชื้อราสาเหตุโรคมีความเหมือน (identity) กับเชื้อรา <em>Cylindrocladium</em> <em>quinqueseptatum</em>, <em>Pseudopestalotiopsis curvatispora</em>, <em>Neopestalotiopsis clavispora</em>, <em>Coniella fusiformis,</em> <em>Coniella hibisci</em>, <em>Curvularia eragrostidis</em>, <em>Exserohilum</em> <em>rostratum</em> และ <em>Macrophomina phaseolina </em>การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงชนิดของเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคของยูคาลิปตัสในลานเพาะชำต้นกล้าและการรายงานครั้งแรกในประเทศไทยของเชื้อรา <em>E. rostratum</em> และ <em>M. phaseolina</em> ที่สามารถทำให้เกิดโรคใบจุดและใบไหม้ได้ในต้นกล้ายูคาลิปตัส</p>
ศิริพร ศรีทา
สุวิตา แสไพศาล
วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์
สุภัชญา นามพิลา
Copyright (c) 2022 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
319
331
-
ผลของชีวภัณฑ์ในการควบคุมหนอนกระทู้ผัก Spodoptera litura Fabricius (Lepidoptera: Noctuidae) ในดาวเรือง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/256862
<p>หนอนกระทู้ผัก (<em>Spodoptera litura</em> Fabricius) (Lepidoptera: Noctuidae) เป็นแมลงศัตรูสำคัญที่สร้างความเสียหายแก่จำนวนและคุณภาพของดอกดาวเรืองซึ่งเป็นหนึ่งในไม้ดอกสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเนื่องจากออกฤทธิ์รวดเร็วและมีจำหน่ายทั่วไป จากพฤติกรรมของหนอนที่มักหลบซ่อนตัวในกลีบดอกทำให้ละอองสารเคมีไม่สามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ สารสกัดจากพืช และสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ในสภาพแปลงทดลอง 8 กรรมวิธี ได้แก่ 1) แปลงควบคุม 2) เชื้อแบคทีเรียบีที 3) เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม 4) เชื้อไวรัสเอ็นพีวี 5) ไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลง 6) สารสกัดสะเดา 7) มวนพิฆาต และ 8) สารไซเพอร์เมทริน 10% W/V EC ผลการศึกษาพบว่าจำนวนดอกรวมมากสุด และจำนวนดอกเสียน้อยสุด ในพื้นที่ 10 ตร.ม. คือ แปลงพ่นไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลง (834.50 และ 124.25 ดอก ตามลำดับ) รองลงมาคือ แปลงพ่นเชื้อไวรัสเอ็นพีวี (821.50 และ 99.50 ดอก ตามลำดับ) เปรียบเทียบกับแปลงพ่นสารไซเพอร์เมทริน 10% W/V EC (639.50 และ 170.52 ดอก ตามลำดับ) การวิเคราะห์รายได้และผลกำไรชี้ให้เห็นว่าแปลงพ่นเชื้อไวรัสเอ็นพีวี (929.60 และ 903.60 บาท ตามลำดับ) และไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลง (912.40 และ 862.40 บาท ตามลำดับ) ให้ค่ามากที่สุดใกล้เคียงกัน เมื่อเปรียบเทียบข้อจำกัดในการใช้ของชีวภัณฑ์ทั้งสองชนิดนี้ ไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลงจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรในการควบคุมหนอนกระทู้ผักและแมลงศัตรูสำคัญชนิดอื่นในแปลงดาวเรือง</p>
กุลชาติ บูรณะ
ประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์
Copyright (c) 2023 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
332
345
-
จำนวนประชากรของไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne graminicola และอายุข้าวต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและความรุนแรงของการเกิดโรคในข้าวพันธุ์ กข33
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/256563
<p>ไส้เดือนฝอยรากปม <em>Meloidogyne graminicola</em> เป็นศัตรูพืชที่สำคัญและสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของระดับจำนวนประชากรเริ่มต้นของไส้เดือนฝอยรากปม <em>M. graminicola</em> (0.01, 0.02, 0.1, 0.2, 1 และ 10 ตัว/ดิน 1 ก. ) ในการเข้าทำลายข้าวพันธุ์ กข33 ที่ อายุ 0, 10, 30, 60 และ 90 วัน โดยประเมินความเสียหาย 3 ส่วนได้แก่ การเจริญเติบโต (ความสูงของกอ จำนวนต้น/กอ น้ำหนักสดของกอ จำนวนวันที่ข้าวแทงรวง 100% และปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมด) ผลผลิต (น้ำหนักผลผลิต/กอ จำนวนรวง/กอ จำนวนเมล็ดดี/รวง จำนวนเมล็ดลีบ/รวงและ ความยาวรวง) และความรุนแรงของการเกิดโรค (ระดับการเกิดปม จำนวนไข่และตัวอ่อนระยะที่ 2 ในราก และจำนวนตัวอ่อนระยะที่ 2 ในดิน รวมถึงอัตราการขยายพันธุ์ของไส้เดือนฝอยรากปม) พบว่าระดับของประชากรและอายุข้าวเมื่อถูกทำลายมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโต ผลผลิต และความรุนแรงของการเกิดโรคและที่ระดับจำนวนประชากรเริ่มต้นของไส้เดือนฝอยรากปม 10 ตัว/ดิน 1 ก. เข้าทำลายข้าวอายุ 10 วันทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ กข33 เสียหายมากที่สุด 77.79%</p>
ปฐวี ภิราญคำ
กิตติพงษ์ ศรีม่วง
พรทิพย์ เรือนปานันท์
Copyright (c) 2023 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
346
359
-
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าวของเกษตรกร อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/251538
<p>การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนแรงงานคนส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ของเกษตรกร แม้ว่าปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่ของไทยจะใช้รถเกี่ยวนวดข้าว แต่ยังมีเกษตรกรบางส่วนในจังหวัดสกลนครที่ยังไม่ยอมรับการใช้รถเกี่ยวนวด ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าวของเกษตรกรในอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่างจำนวน 146 ราย ผลการประมาณค่าแบบจำลอง พบว่า ตัวแปรอิสระในแบบจำลองสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าวได้ร้อยละ 46.32 สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าว พบว่า ระดับการศึกษา ขนาดพื้นที่เพาะปลูก ทัศนคติด้านสุขภาพ ทัศนคติด้านเศรษฐกิจ และทัศนคติด้านกายภาพมีอิทธิพลต่อความน่าจะเป็นของการยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าวของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะหลักจากผลการศึกษา ได้แก่ 1) การส่งเสริมเครื่องเกี่ยวนวดข้าวควรมีเป้าหมายหลักในกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับการศึกษาต่ำ เนื่องจากการเข้าถึงและความสามารถในการยอมรับเทคโนโลยีน้อยกว่ากลุ่มอื่น 2) การพัฒนาเครื่องเกี่ยวนวดข้าวควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณภาพข้าวเป็นหลัก 3) หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้มีแปลงนาสาธิตเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตและผลตอบแทนจากการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องเกี่ยวนวดและการใช้แรงงานคน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจยอมรับเครื่องเกี่ยวนวดข้าวในพื้นที่ได้มากขึ้น</p>
อรวรรณ ศรีโสมพันธ์
ชนากานต์ สร้อยเพชร
สุรศักดิ์ บุญแต่ง
Copyright (c) 2023 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
360
374
-
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5 อายุเก็บเกี่ยวสั้นและทนแล้ง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/254919
<p>ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ ให้ผลผลิตสูง ทนแล้ง และต้านทานโรคทางใบที่สำคัญ มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น (95-100 วันหลังปลูก) เหมาะสมกับฤดูปลูกและระบบปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกในนาหลังเก็บเกี่ยวข้าว จากการประเมินผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ในแหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของประเทศไทย พบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5 (NS5) ให้ผลผลิต 1,190 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 (NS3) ร้อยละ 10 (เฉลี่ยจาก 63 แปลงทดลอง) ในสภาพขาดน้ำระยะออกดอกเป็นเวลา 1 เดือน ให้ผลผลิต 684 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 ร้อยละ 21 มีความต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ และโรคราสนิม ต้านทานปานกลางต่อโรคราน้ำค้าง และโรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อ Maize dwarf mosaic virus (SCMV-MDB) ฝักแห้งเร็ว หรือมีความชื้นขณะเก็บเกี่ยวน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ ในขณะที่ต้นยังเขียวสด สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าพันธุ์ลูกผสมการค้า 10-20 วัน</p>
สุริพัฒน์ ไทยเทศ
ศิวิไล ลาภบรรจบ
ทัศนีย์ บุตรทอง
ปริญญา การสมเจตน์
Copyright (c) 2022 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
375
386
-
ผลของการใส่วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินต่อปริมาณการแจกกระจายขนาดเม็ดดินในชุดดินยโสธรที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/256346
<p>ศึกษาการแจกกระจายขนาดเม็ดดินในชุดดินยโสธรที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังซึ่งมีการใส่วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินประเภทต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยมีการวางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย (1) ไม่ใส่วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดิน (2) ใส่มูลไก่แกลบ อัตรา 1,000 kg/rai (3) ใส่มูลไก่แกลบ อัตรา 2,000 kg/rai (4) ใส่กากแป้งมันสำปะหลัง อัตรา 1,000 kg/rai และ (5) ใส่เปลือกดินมันสำปะหลัง อัตรา 1,000 kg/rai ผลการศึกษาพบว่า การใส่วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินประเภทต่าง ๆ มีแนวโน้มส่งเสริมให้เกิดการสร้างเม็ดดินขนาด small macroaggregate (SMA: 0.25-2 mm) จากการเชื่อมรวมตัวกันของเม็ดดินขนาด silt and clay size fractions (SiCl: < 0.053 mm) และ microaggregate (MiA: 0.053-0.25 mm) ได้มากกว่าการไม่ใส่วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดิน (ตำรับควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ยังไม่สามารถส่งเสริมให้เกิดการสร้างเม็ดดินขนาด large macroaggregate (LMA: 2-8 mm) ได้อย่างชัดเจน โดยตำรับการทดลองที่มีการใส่มูลไก่แกลบทั้งสองอัตรามีแนวโน้มส่งเสริมให้เกิดการสะสมคาร์บอนอินทรีย์และไนโตรเจนทั้งหมดในเม็ดดินได้สูงที่สุด อย่างไรก็ตาม ปริมาณคาร์บอนอินทรีย์และไนโตรเจนทั้งหมดในเม็ดดินขนาดต่าง ๆ ของทุกตำรับการทดลองยังมีค่าอยู่ในระดับต่ำมากและส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนอินทรีย์ที่อยู่ในรูปที่ย่อยสลายได้ง่าย (labile organic carbon (OC) fraction) มากกว่าคาร์บอนอินทรีย์ในรูปที่เสถียร (stable OC fraction) ดินจึงเกิดการสูญเสียอินทรียวัตถุได้ง่ายเมื่อถูกรบกวนโครงสร้างและส่งผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุลดต่ำลงอย่างรวดเร็วหากขาดการจัดการเพิ่มเติมอินทรียวัตถุอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ</p>
วิรญา สมอาษา
วิทยา จินดาหลวง
ทิมทอง ดรุณสนธยา
สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม
Copyright (c) 2022 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2023-03-07
2023-03-07
51 2
387
399