วารสารแก่นเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj <p>วารสารแก่นเกษตรได้รับทุนสนับสนุนเป็นวารสารที่มีคุณภาพตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จาก สกอ. ประจำปี 2551, เป็นวารสารที่ยอมรับในการใช้เป็นผลงานตีพิมพ์เรื่องที่ 2 ของนักศึกษาทุน คปก. (ตั้งแต่รุ่นที่ 11 เป็นต้นไป) , มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Citation Index, TCI), และเผยแพร่บทคัดย่อภาษาอังกฤษในฐานข้อมูล AGRIS-FAO (http://agris.fao.org/agris-search/index.do)</p> th-TH agkasetkaj@gmail.com (บรรณาธิการวารสารแก่นเกษตร) agkasetkaj@gmail.com (เจ้าหน้าที่วารสารแก่นเกษตร) Fri, 30 May 2025 07:36:09 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การประเมินผลผลิตและเสถียรภาพของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมในสภาพหลังนาและสภาพไร่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265066 <p>การคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีในสภาพหลังนา เป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มปริมาณการผลิตของข้าวโพดในประเทศไทย ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ เพื่อประเมินศักยภาพผลผลิตและเสถียรภาพของพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมที่เหมาะสมต่อสภาพหลังนาและสภาพไร่ ทำการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม 12 พันธุ์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคเหนือตอนบน ในฤดูหนาวและฤดูฝน ปี พ.ศ. 2564–2565 จำนวน 4 สถานที่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค จำนวน 4 ซ้ำ บันทึกข้อมูลผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และลักษณะทางการเกษตร จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมในลักษณะผลผลิตจาก 4 สภาพแวดล้อม พบว่า ผลผลิตมีความแตกต่างกันทางสถิติ ระหว่างพันธุ์ สภาพแวดล้อม และปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อม พันธุ์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุด คือ พันธุ์ DK9979C, Pac789 และ D189 ให้ผลผลิต 1,732 1,819 และ 1,712 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์เสถียรภาพของผลผลิตตามวิธีการ Eberhart และ Russell ของพันธุ์ใน 4 สถานที่ พบว่า พันธุ์ DK9979C, Pac789 และ D189 ให้ผลผลิตสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ยผลผลิตสูงกว่าผลผลิตเฉลี่ย มีค่าสัมประสิทธิ์รีเกรสชันไม่แตกต่างจาก 1.00 มีค่าเบี่ยงเบนจากเส้นรีเกรสชันเข้าใกล้ 0 แสดงให้เห็นว่า เป็นพันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทั่วไปได้ดี และเป็นพันธุ์ที่มีเสถียรภาพดีที่สุด จากผลการทดลองสรุปได้ว่า พันธุ์ GT822, DK9979C, D189, CP303, P4163, Pac789, S7328, DK6818, CP639, และนครสวรรค์ 5 เป็นพันธุ์ข้าวโพดที่เหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่หลังนา และพันธุ์ DK9979C, Pac789 P4546 และ S7328 เป็นพันธุ์ข้าวโพดที่เหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่ไร่ เนื่องจากพันธุ์ดังกล่าวนี้ให้ผลผลิตดีในพื้นที่ที่ปลูกทดสอบ</p> ศิริกุล บุญปก, วันเพ็ญ ชลอเจริญยิ่ง Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265066 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบพันธุกรรมความต้านทานต่อแมลงบั่วในข้าวพันธุ์พื้นเมืองเหมยนอง 62 เอ็ม และข้าวพันธุ์ปลูก กข22 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265021 <p>แมลงบั่ว (<em>Orseolia oryzae</em>; Asian rice gall midge) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญในเอเชีย ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาพันธุกรรมความต้านทานต่อแมลงบั่วในข้าวพันธุ์ปลูก กข22 เปรียบเทียบกับข้าวพื้นเมืองเหมยนอง 62 เอ็ม จากการประเมินปฏิกิริยาต่อแมลงบั่วในประชากรข้าวชั่วที่ F<sub>2</sub> จำนวน 2 ประชากร ที่เกิดจากคู่ผสมระหว่าง PYO16-001-3-24B กับเหมยนอง 62 เอ็ม และ PYO16-001-3-24B กับ กข22 ในสภาพโรงเรือน โดยใช้ประชากรแมลงบั่วจังหวัดแพร่ และทดสอบอัตราส่วนการกระจายตัวของประชากรรุ่นลูกที่แสดงความอ่อนแอต่อความต้านทาน ด้วยวิธีการทดสอบไคสแควร์ พบว่า มีอัตราส่วนสอดคล้องกับ 9:7 แสดงว่าเหมยนอง 62 เอ็ม และ กข22 มียีนด้อยที่ควบคุมลักษณะต้านทานต่อแมลงบั่ว จำนวน 2 ยีน และมีปฏิกิริยาการข่มของยีนต่างตำแหน่งแบบดูพลิเกท รีเซสสีบยีน (duplicate recessive gene) และเมื่อตรวจสอบจีโนไทป์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ ชนิด SSR ที่อยู่ในบริเวณ <em>gm12</em> พบว่า RM3340 มีความสัมพันธ์กับลักษณะความต้านทานต่อแมลงบั่วในข้าวเหมยนอง 62 เอ็ม และเมื่อนำข้าวสายพันธุ์ชั่วที่ F<sub>4</sub> จำนวน 15 สายพันธุ์ ที่ได้รับ <em>gm12</em> มาจากเหมยนอง จำนวน 3 สายพันธุ์ และ กข22 จำนวน 12 สายพันธุ์ มาทดสอบปฏิกิริยาต่อแมลงบั่ว จำนวน 3 ประชากร ได้แก่ แมลงบั่วจากจังหวัดเชียงราย น่าน และ แพร่ พบว่า มีสายพันธุ์ที่แสดงความต้านทาน (R) หรือค่อนข้างต้านทาน (MR) ต่อแมลงบั่วทั้ง 3 ประชากร มีจำนวน 4 สายพันธุ์ แสดงว่า กข22 มี <em>gm12</em> ที่ควบคุมความต้านทานต่อแมลงบั่ว ซึ่งอาจได้รับมาจากข้าวเหมยนอง 62 เอ็ม ที่เป็นบรรพบุรุษของ กข22 จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า กข22 สามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมความต้านทาน สำหรับการพัฒนาข้าวพันธุ์อื่น ๆ ให้ต้านทานต่อแมลงบั่ว โดยการถ่ายทอด <em>gm12</em> เข้าสู่ข้าวพันธุ์รับ และใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือกได้</p> มาริสา อิ่มเพ็ง, วราวุฒิ โล๊ะสุข, พันนิภา ยาใจ, บุญฤทธิ์ สินค้างาม, ภาวินี จันทร์วิจิตร, พรประภา แสนหลวง, ภาวัช วิจารัตน์, ไวพจน์ กันจู Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265021 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 ผลของการล้างน้ำโอโซนต่อคุณภาพของผักสลัดกรีนโอ๊คระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/260798 <p>ผลของการล้างน้ำโอโซนต่อคุณภาพของผักสลัดกรีนโอ๊คระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส โดยการวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วยการล้างผักสลัดกรีนโอ๊คทั้งต้นพร้อมรากที่ได้จากการปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ 4 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 การไม่ล้าง (ชุดควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 การล้างด้วยน้ำประปา กรรมวิธีที่ 3 การล้างด้วยน้ำเย็น (5องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที) และกรรมวิธีที่ 4 การล้างด้วยน้ำโอโซนเย็น (1 กรัม/ลิตร 5 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที) จำนวน 4 ซ้ำ พบว่า ผักสลัดกรีนโอ๊คในกรรมวิธีไม่ล้างเริ่มพบการเกิดสีน้ำตาลในวันที่ 3 ของการเก็บรักษา ขณะที่การล้างผักสลัดกรีนโอ๊คด้วยน้ำโอโซนเย็น เริ่มพบการเกิดสีน้ำตาลในวันที่ 15 ของการเก็บรักษา ซึ่งเกิดสีน้ำตาลช้าและมีคะแนนการเกิดสีน้ำตาลน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ และผักสลัดกรีนโอ๊คที่ล้างด้วยน้ำโอโซนเย็น พบจำนวนจุลินทรีย์ปนเปื้อนทั้งหมดน้อยที่สุด เมื่อเก็บรักษาในวันที่ 0 และ 15 วัน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคะแนนความพึงพอใจด้านความสด สี และความพึงพอใจโดยรวมของผักสลัดที่ล้างด้วยน้ำโอโซนเย็น พบว่า มีคะแนนสูงที่สุด รองลงมาคือ การล้างด้วยน้ำเย็น การล้างน้ำประปา และไม่ล้าง ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผักสลัดที่ล้างด้วยน้ำโอโซนเย็นลดการสูญเสียน้ำหนัก ทำให้มีความแตกต่างกันทางสถิติของปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TA) และปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ (TSS) มีค่าสูงกว่ากรรมวิธีอื่นๆ ตลอดอายุการเก็บรักษา 15 วัน</p> ศรัณยา เพ่งผล, เดชาพล ทับเพ็ชร์, ปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์ Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/260798 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของผู้ปลูกผักในอำเภอปากซอง จังหวัดจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265282 <p>การวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของผู้ปลูกผักในอำเภอปากซอง จังหวัดจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปลูกผัก 240 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2566 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปลูกผักส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.09 ปี จบมัธยมปลาย มีประสบการณ์ปลูกผักเฉลี่ย 24.55 ปี และมีสมาชิกครัวเรือนที่เป็นแรงงานปลูกผักเฉลี่ย 3.74 คน ในปี 2566 ผู้ปลูกผักมีรายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 68.85 ล้านกีบ/ปี (ประมาณ 108,094 บาท/ปี) พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 19.18 ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 2.09 ล้านกีบ/ไร่ (ประมาณ 3,284 บาท/ไร่) ใช้ทุนส่วนตัวในการผลิต และจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง ผู้ปลูกผักได้รับข้อมูลข่าวสารเฉลี่ย 2.35 ช่องทาง และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ 1.70 ช่องทาง ในด้านความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี พบว่า ผู้ปลูกผักมีค่าเฉลี่ยความรู้อยู่ในระดับมาก ( = 18.74) ในขณะที่การปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดียังมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 1.67) โดยมีค่า R<sup>2</sup>= 0.266 และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัย<em> P</em> &lt; 0.01 ได้แก่ แหล่งข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนจากภาครัฐ ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีให้มีเนื้อหาน่าสนใจและหลากหลาย สำหรับการเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การฝึกอบรม และสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งควรให้การสนับสนุนผู้ปลูกในหลายๆรูปแบบ อาทิ การจัดการฝึกอบรมด้านโรคพืชและการอารักขาพืช และการสาธิตเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เพื่อให้ผู้ปลูกผักสามารถแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ และเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี นอกจากนี้ควรมีการศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ปลูกผักมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวในระดับน้อยในบางประเด็น เพื่อวางแผนและพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> สังวาน อินทะวง, สุกิจ กันจินะ, บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล, พิมพ์ใจ สีหะนาม Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265282 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 ชีวผลิตภัณฑ์รูปแบบผง Brevibacillus formosus สายพันธุ์ NJTU05 ควบคุมโรครากและโคนเน่าของทุเรียน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/264955 <p>แบคทีเรียที่มีประโยชน์ <em>Brevibacillus formosus</em> สายพันธุ์ NJTU05 มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อรา <em>Phytopthora palmivora</em> สาเหตุโรครากและโคนเน่าของทุเรียน และโรคสำคัญอื่น ๆ เช่น โรคเน่าคอดิน (<em>Pythium </em>sp.), โรคกิ่งแห้ง (<em>Fusarium </em>sp.) เป็นต้น ดังนั้น การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาชีวผลิตภัณฑ์ที่มีแบคทีเรียสายพันธุ์ NJTU05 เป็นตัวออกฤทธิ์ ในรูปแบบผงละลายน้ำพร้อมใช้ เพื่อง่ายต่อการใช้งานของเกษตรกร โดยนำตะกอนเซลล์แบคทีเรียสายพันธุ์ NJTU05 ผสมกับอาหารและตัวพาที่เหมาะสมสูตรต่างๆ จากนั้นศึกษาอายุของชีวผลิตภัณฑ์ 3 สูตร ประกอบด้วย สูตรที่ 1 ตะกอนเซลล์ <em>B. formosus</em> NJTU05 (ความเข้มข้น 1X10<sup>15 </sup>CFU/ml): Pre-gelatinized starch: แป้งข้าวโพด: ซูโครส อัตราส่วน 10:15:60:15 (สูตร JF-1) สูตรที่ 2 ตะกอนเซลล์ <em>B. formosus</em> NJTU05 (ความเข้มข้น 1X10<sup>15 </sup>CFU/ml): Pre-gelatinized starch: แป้งข้าวโพด: แป้งมันสำปะหลัง: ซูโครส อัตราส่วน 10:15:30:30:15 (สูตร JF-2) และ สูตรที่ 3 ตะกอนเซลล์ <em>B. formosus</em> NJTU05 (ความเข้มข้น 1X10<sup>15 </sup>CFU/ml):Pre-gelatinized starch: แป้งมันสำปะหลัง: ซูโครส อัตราส่วน 10:15:60:15 (สูตร JF-3) พบว่า สูตร JF-1 เป็นสูตรที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพเหมาะสมที่สุด โดยสามารถละลายและฟุ้งกระจายคงตัวในน้ำได้ในระดับดี รองลงมาคือ สูตร JF-2 และ สูตร JF-3 ตามลำดับ ตลอดจนสามารถคงความมีชีวิตของ แบคทีเรียสายพันธุ์ NJTU05 ได้ดีที่สุด โดยหลังเก็บรักษา นาน 6 เดือน พบจำนวนแบคทีเรียสายพันธุ์ NJTU05 เท่ากับ 1.8x10<sup>12 </sup>CFU/ml ซึ่งลดลงจากเริ่มต้น 1X10<sup>15</sup> CFU/ml ในขณะที่สูตร JF-2 และ JF-3 ตรวจพบประชากรของสายพันธุ์ NJTU05 ที่มีชีวิตรอดในชีวผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 สูตร เท่ากับ 0.5x10<sup>6</sup> CFU/ml และ 0.3x10<sup>6 </sup>CFU/ml ตามลำดับ จึงเลือกนำชีวผลิตภัณฑ์สูตร JF-1 มาทดสอบประสิทธิภาพของชีวผลิตภัณฑ์ในการยับยั้งและควบคุมโรครากและโคนเน่าของทุเรียนในระดับห้องปฏิบัติการและเรือนทดลอง พบว่า ชีวผลิตภัณฑ์ สูตร JF-1 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา <em>P. palmivora</em> สายพันธุ์ P-TU12 ได้ดี โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง เท่ากับ 77.96% ซึ่งมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่าการใช้เชื้อสดที่เลี้ยงในอาหารสูตรมาตรฐาน NGB (76.48%) และมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ชีวภัณฑ์ทางการค้า <em>Bacillus subtillis</em> 14.26% (P≤0.05) การทดสอบประสิทธิภาพของชีวผลิตภัณฑ์ในสภาพแปลงทดลอง ณ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พบว่า กรรมวิธีที่ใช้ชีวผลิตภัณฑ์ JF-1 ราดบริเวณทรงพุ่มร่วมกับการพ่นใบมีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรครากและโคนเน่าของทุเรียน ได้ 80.56% จำนวนเชื้อราลดน้อยลงหลังใช้ชีวผลิตภัณฑ์ อัตรา ต้นละ 100 ลิตร ต่อเนื่องทุก ๆ 7 วัน จำนวน 4 ครั้ง (28 วัน หลังทดสอบ) ซึ่งประสิทธิภาพของการควบคุมโรคไม่แตกต่างกับการใช้แบคทีเรียสายพันธุ์ NJTU05 ในรูปแบบเชื้อสดที่เลี้ยงในอาหารสูตรมาตรฐาน ที่มีประสิทธิภาพการลดความรุนแรงโรครากและโคนเน่า เท่ากับ 78.67% และมีประสิทธิภาพดีกว่าชีวผลิตภัณฑ์ทางการค้า (68.22%) (p≤0.05)</p> ณัฐริกา จิตต์เฝือ, ดุสิต อธินุวัฒน์, วิลาวรรณ์ เชื้อบุญ Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/264955 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 โพแทสเซียมที่สกัดได้จากเถ้าไม้ยางพารา: วัสดุปรับปรุงดินและแหล่งโพแทสเซียมแก่พืช https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265409 <p>ดินในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นดินกรดและมีโพแทสเซียม (K) ต่ำ เป็นข้อจำกัดต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงต้องปรับปรุงดินและใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม ปัจจุบันมีการสกัดโพแทสเซียมจากเถ้าไม้ยางพาราเพื่อใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินและแหล่งให้โพแทสเซียมแก่พืช งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใส่โพแทสเซียมที่สกัดได้จากเถ้าไม้ยางพาราต่อการเจริญเติบโตและความเข้มข้นของธาตุอาหารในพืช ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในกระถางที่ไม่เติมโพแทสเซียม ใส่โพแทสเซียมที่สกัดได้จากเถ้าไม้ยางพารา (100-400 มก. K<sub>2</sub>O/กก.) และโพแทสเซียมคลอไรด์ (100 มก. K<sub>2</sub>O/กก.) ผลการทดลอง พบว่า การใส่โพแทสเซียมที่สกัดได้จากเถ้าไม้ยางพาราและโพแทสเซียมคลอไรด์ในอัตรา 100 มก. K<sub>2</sub>O/กก. ส่งผลให้การเจริญเติบโตของข้าวโพดไม่แตกต่างกัน การใส่โพแทสเซียมที่สกัดได้จากเถ้าไม้ยางพาราไม่เพียงแต่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช แต่ยังทำให้พืชมีความเข้มข้นของธาตุอาหารโดยเฉพาะโพแทสเซียมในเนื้อเยื่อเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้น การใช้โพแทสเซียมที่สกัดได้จากเถ้าไม้ยางพารายังส่งผลให้ดินมีค่าพีเอชเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น โพแทสเซียมที่สกัดได้จากเถ้าไม้ยางพาราจึงเป็นวัสดุทางเลือกในการเป็นแหล่งให้โพแทสเซียมแก่พืชและช่วยเพิ่มพีเอชของดินได้ โดยดินปลูกข้าวโพดที่มีโพแทสเซียมต่ำให้ใส่ในอัตรา 100 มก. K<sub>2</sub>O/กก.</p> ชนน พันธุ์มณี, จำเป็น อ่อนทอง, ขวัญตา ขาวมี, จักรกฤษณ์ พูนภักดี Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265409 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 การใช้ถ่านชีวภาพมูลแพะร่วมกับการปรับสัดส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนและการใช้จุลินทรีย์เชื้อเร่งต่อสมบัติปุ๋ยหมักผักตบชวา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/264013 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ถ่านชีวภาพมูลแพะเพื่อปรับค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) และการใช้จุลินทรีย์เชื้อเร่ง (microbial activators, MA) 2 ชนิด คือ M1 (เชื้อจุลินทรีย์จาก พ.ด. 1) และ MA 2 (เชื้อจุลินทรีย์จาก พด 2)ที่ส่งผลต่อสมบัติบางประการของปุ๋ยหมักผักตบชวา การทดลองประกอบด้วย 6 กรรมวิธี ดังนี้ 1) สัดส่วน C/N = 30:1 2) สัดส่วน C/N = 30:1+MA1 3) สัดส่วน C/N = 30:1+MA2 4) สัดส่วน C/N = 35:1 5) สัดส่วน C/N = 35:1+MA1 และ 6) สัดส่วน C/N = 35:1+MA2 วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าภายใน 17 วันแรกของการย่อยสลายในทุกกรรมวิธีที่ปรับค่า C/N เริ่มต้นเท่ากับ 30:1 มีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างการหมักสูงกว่าทุกกรรมวิธีที่ปรับค่า C/N = 35:1 โดยเฉพาะกรรมวิธี C/N = 30:1+MA1 มีอุณหภูมิเฉลี่ยมีค่าสูงสุดเท่ากับ 52.9 ˚C และคงระยะเวลาอุณหภูมิสูง (&gt;50 ˚C) ได้นานที่สุดเท่ากับ 7 วัน (P&lt;0.05) ในวันที่ 56 ของการทดลองพบว่ากรรมวิธี C/N = 30:1+MA1 มีคาร์บอนอินทรีย์ลดต่ำสุดเท่ากับ 29.90 % คิดเป็นสัดส่วนคาร์บอนที่สูญเสียไปจากการย่อยสลายเท่ากับ 23.92% โดยมีค่า C/N เท่ากับ 18.7 ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดสูงสุดเท่ากับ 1.6% (P&lt;0.05) มีค่า pH เท่ากับ 7.55 และความชื้นของวัสดุหมักเท่ากับ 17.55% และกิจกรรมของเอนไซม์ ß-glucosidase เท่ากับ 266.7 µg <em>p</em>-nitrophenol/g compost/h ในทางเพิ่มเติมกรรมวิธี C/N = 35:1+MA1 ยังมีกิจกรรมของเอนไซม์ ß-glucosidase สูงสุดเท่ากับ 266.7 <em>µ</em>g <em>p</em>-nitrophenol/g compost/h (P&lt;0.05) การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าปริมาณการใช้ถ่านชีวภาพมูลแพะในวัสดุหมักเพื่อปรับค่าอัตราส่วน C/N และการเลือกใช้ชนิดของจุลินทรีย์เชื้อเร่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อรูปแบบการย่อยสลายและผลผลิตที่ได้ของวัสดุหมักจากผักตบชวา</p> ชาษิต กมลมานิทย์, สุกฤตยา ด่านณรงค์, ณัฏฐกิตติยา ไพบูลย์, อัจฉราวดี เครือภักดี Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/264013 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้เศษคอนกรีตมวลเบาสำหรับเป็นวัสดุยึดเกาะของแบคทีเรีย เพื่อใช้บำบัดน้ำจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/264950 <p>คุณภาพน้ำที่สำคัญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ สารประกอบไนโตรเจน เช่น แอมโมเนีย ไนไตร์ท ที่มาจากเศษอาหารที่เหลือในบ่อเลี้ยง เศษซากสิ่งมีชีวิตที่ตายในบ่อเลี้ยง การบำบัดน้ำจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนิยมใช้แบคทีเรียต้องการออกซิเจนต้องอาศัยพื้นที่ยึดเกาะ เช่น ปะการัง หรือ หินภูเขาไฟ ซึ่งในปัจจุบันต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ และมีราคาสูง จึงจำเป็นต้องหาวัสดุทดแทนที่มีราคาถูก ร่วมกับการใช้แบคทีเรียเพื่อบำบัดน้ำ จึงเป็นที่มาของการวิจัยเพื่อใช้เศษอิฐมวลเบาเพื่อเป็นที่อยู่แบคทีเรียชนิด <em>Bacillus subtilis</em> เพื่อการบำบัดน้ำ โดยมีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ (1) วิเคราะห์พื้นผิววัสดุด้วยการถ่ายภาพพื้นผิวของวัตถุ (2) การหาปริมาณของฝุ่นละลายน้ำ (3) ศึกษาคุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป (4) ทดสอบการเป็นที่อยู่ของแบคทีเรีย ผลการศึกษาสามารถแบ่งเศษอิฐมวลเบา (LCS) ออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ 25-30 (S), 35-40 (M) และ 41-45 (L) มม. (1) พื้นผิวของอิฐมวลเบามีรูพรุนที่พื้นผิวขนาด 200 ไมโครเมตร คิดเป็น 5% ของพื้นที่ผิว (2) เมื่อนำอิฐไปแช่น้ำพบว่าอิฐมีการละลายน้ำเล็กน้อย โดยเป็นฝุ่นละลายน้ำอยู่ที่ 9-10% ของน้ำหนักแห้ง (3) เมื่อใช้อิฐมวลเบาเป็นตัวกรองชีวภาพ พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่าง, ค่าของแข็งละลายน้ำและค่าความเป็นด่างจะมีค่าสูงขึ้นตามระยะเวลาที่อิฐแช่อยู่ในน้ำ (P&lt;0.05) แต่ไม่เกินกว่าค่าที่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์น้ำ (4) การเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียในระบบกรองน้ำพบว่าอิฐขนาด 35-40 (M) มม. มีปริมาณแบคทีเรียที่ผิวสูงกว่าชุดทดลองอื่นๆ (P&lt;0.05) แต่ลดปริมาณแอมโมเนียและไนไตร์ทไม่แตกต่างกับชุดการทดลองอื่น (P&gt;0.05) โดยการใช้เศษอิฐมวลเบาทั้งสามขนาดมีคุณสมบัติที่นำมาใช้ทดแทนหินภูเขาไฟในระบบการกรองชีวภาพเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำได้</p> สิริพงษ์ วงศ์พรประทีป, พงศ์พิราม ฤทธิกาญจน์, วาริสา แท่นมณี, ชญาดา วงศ์พรประทีป Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/264950 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 ผลของการใช้ใบคะน้าแมกซิกัน (Cnidoscolus aconitifolius) แห้งป่นในสูตรอาหารต่ออัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลานิล (Oreocromis niloticus) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/264340 <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงศ์เพื่อศึกษาผลของการใช้ใบคะน้าเม็กซิกันแห้งป่นผสมในอาหารเลี้ยงปลานิล โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ทำการศึกษา 4 ทรีทเมนต์ ซึ่งทำการเลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นน้ำหนักเริ่มต้น 0.893±0.141 ก. ความยาวเริ่มต้น 2.784±0.367 ซม. ความกว้างลำตัวเริ่มต้น 0.834±0.186 ซม. ในบ่อซีเมนต์ขนาดความจุน้ำ 1 x 2 x 0.8 ม. จำนวน 12 บ่อ อัตราความหนาแน่น 50 ตัว/บ่อ เป็นระยะเวลานาน 12 สัปดาห์ ด้วยอาหารทดแทนใบคะน้าแมกซิกันแห้งป่นปริมาณ 0% (T1; ชุดควบคุม), 9% (T2) 14%, (T3) และ 19% (T4) ที่ศูนย์วิจัยท้องถิ่นบ้านตาด ระหว่างเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม 2566 พบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร T2 มีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะด้านน้ำหนัก (5.824 ±0.291%) ใกล้เคียงกับสูตร T3 (5.827±0.199%, P&gt;0.05) แต่มีค่าสูงกว่าปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุม (T1, 5.638± 0.174%) และ T4 (5.557±0.210%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) อัตรารอดตายของปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร T2 สูงที่สุดคือ 84.443±1.928% รองลงมาคือ สูตร T3, T1 และ T4 คือ 83.333±3.335%, 83.333±3.335% และ 83.110±3.005% ตามลำดับ (P&gt;0.05) มีค่า FCR ต่ำที่สุดเท่ากับ 1.196±0.050% และมีต้นทุนค่าวัตถุดิบอาหารต่ำสุดร้อยละ 45.32 บาท/กิโลกรัม แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้ใบคะน้าเม็กซิกันแห้งป่นผสมในอาหารเลี้ยงปลานิลได้ดีที่สุด 14% ทำให้ปลานิลสามารถเจริญเติบโตดีที่สุด โดยไม่มีผลต่ออัตรารอดตายและ ค่า FCR</p> ศิริภรณ์ โคตะมี, กฤษฎากรณ์ ว่องไว Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/264340 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ของยีนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต่อการขับเชื้อซัลโมเนลล่าในอุจจาระของสุกร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263177 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของยีนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ยีน ประกอบด้วย Chaperonin Containing TCP1 Subunit 7 (<em>CCT7</em>), Alpha-1-Fucosyltransferase (<em>FUT1</em>), Neutrophil Cytosolic Factor 2 (<em>NCF2</em>) และ Tolllike receptors 4 (<em>TLR4</em>) และความสัมพันธ์รูปแบบจีโนไทป์กับคะแนนอุจจาระและการขับเชื้อซัลโมเนลล่าในอุจจาระสุกร การศึกษาครั้งนี้ใช้สุกรพันธุ์ลูกผสม (50% ดูร็อค x 25% ลาร์จไวท์ x 25% แลนดเรซ) ใช้สุกรหย่านมเร็วที่ช่วงอายุ 15-21 วัน จำนวน 40 ตัว ทำการป้อนเชื้อซัลโมเนลล่า (<em>Salmonella</em> <em>Typhimurium</em>) ทางปากให้กับสุกร ทำการบันทึกคะแนนอุจจาระและปริมาณเชื้อซัลโมเนลล่าในอุจจาระ ในวันที่ 2, 7, 14 และ 21 หลังได้รับเชื้อ ความหลากหลายของยีนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้รับการตรวจสอบจีโนไทป์ด้วยเทคนิค PCR-RFLP วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยีนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคะแนนอุจจาระด้วยวิธี Cochran-Mantel-Haenszel test และปริมาณการขับเชื้อซัลโมเนลล่าในอุจจาระ ด้วยวิธี General linear model procedure (GLM) ผลการศึกษา พบว่า คะแนนอุจจาระในสุกรภายหลังจากได้รับเชื้อไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P&gt;0.05) ปริมาณการขับเชื้อซัลโมเนลล่าในอุจจาระของสุกรภายหลังการได้รับเชื้อมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P&lt;0.05) โดยสุกรมีปริมาณการขับเชื้อซัลโมเนลล่าสูงสุดในวันที่ 7 ภายหลังการได้รับเชื้อซัลโมเนลล่า พบความหลากหลายของยีน <em>CCT7</em> จำนวน 3 จีโนไทป์ ยีน <em>FUT1</em> พบจำนวน 2 จีโนไทป์ ส่วนยีน <em>NCF2 </em>และ <em>TLR4 </em>ไม่พบความผันแปรทางพันธุกรรม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่ารูปแบบจีโนไทป์ของยีน <em>CCT7</em> และ <em>FUT1 </em>ไม่มีความสัมพันธ์ของกับคะแนนอุจจาระ แต่พบความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบจีโนไทป์ของยีน <em>CCT7</em> กับปริมาณการขับเชื้อซัลโมเนลล่าในอุจจาระของสุกร (P&lt;0.05) โดยจีโนไทป์ AA มีปริมาณการขับเชื้อซัลโมเนลล่าในอุจาระสูงสุดในวันที่ 2 หลังการได้รับเชื้อ ( 3.05 x10<sup>4</sup> CFU/ml ) ดังนั้นยีน <em>CCT7</em> อาจมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นยีนเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือกสุกรที่ต้านทานต่อการติดเชื้อซัลโมเนลล่าในสุกร</p> ณัฐริกา สุวรรณวงศ์, อัจฉรา ธรรมรัตน์, ธัญจิรา เทพรัตน์, พิชญานิภา พงษ์พานิช Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263177 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 ผลของการใช้กากมะพร้าวต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและพฤติกรรมของสุกรหย่านม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/258582 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กากมะพร้าวต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและพฤติกรรมของสุกรหย่านม โดยใช้สุกรเพศเมียลูกผสมสามสายพันธุ์ (ดูร็อค x แลนด์เรช x ลาร์จไวท์) จำนวน 18 ตัว น้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 9.34±2.10 กิโลกรัม สุกรถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามประเภทของกากมะพร้าวที่ได้รับดังนี้ กลุ่มที่ 1 อาหารสุกรหย่านมสูตรพื้นฐานที่ใช้กากมะพร้าวสีขาว 3% (WC) กลุ่มที่ 2 อาหารสุกรหย่านมสูตรพื้นฐานที่ใช้กากมะพร้าวสีน้ำตาล 3% (BC) และกลุ่มที่ 3 อาหารสุกรหย่านมสูตรพื้นฐานที่ไม่ใช้กากมะพร้าว (Control; C) ทำการทดลองและเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ จากการศึกษาผลของการใช้กากมะพร้าวต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของสุกรหย่านม พบว่ากลุ่มทดลองไม่มีผลต่อ ADFI และ ADWG (P&gt;0.05) แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มทดลองมีผลต่อประสิทธิภาพการใช้อาหารของสุกร (FE) โดยในสัปดาห์ที่ 3-4 สุกรในกลุ่ม WC มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงที่สุด ตามด้วยสุกรในกลุ่ม C และ BC ตามลำดับ (P=0.05) ผลของกากมะพร้าวต่อพฤติกรรมของสุกรหย่านม พบว่ากากมะพร้าวกับสัปดาห์ทดลองมีผลต่อพฤติกรรมการกินของสุกรหย่านม (P&lt;0.0001) โดยสุกรกลุ่ม WC แสดงความถี่ของพฤติกรรมการกินใน 3 สัปดาห์แรกมากกว่ากลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้สุกรกลุ่มที่ได้รับกากมะพร้าวแสดงความถี่ของพฤติกรรมการนอน (P&lt;0.0001) ในสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่ 6 มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับกากมะพร้าว สุกรกลุ่มที่ไม่ได้รับกากมะพร้าวแสดงความถี่ของพฤติกรรมการเกาสูงกว่า (P&lt;0.05) ตลอดการทดลอง จากผลการทดลองสรุปได้ว่า กากมะพร้าวสีขาวสามารถปรับปรุง ADFI และ ADWG ดีกว่ากากมะพร้าวสีน้ำตาลในช่วงแรกของการทดลอง นอกจากนี้ยังปรับปรุงพฤติกรรมการกินในกลุ่มที่ได้รับกากมะพร้าวสีขาวในสามสัปดาห์แรกของการทดลอง การใช้กากมะพร้าวสามารถใช้ในสูตรอาหารสุกรหย่านมได้ และการทดแทนกากมะพร้าวที่ 3% ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกสุกร อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนด้านอาหารได้</p> ฌานุฐิต ทมธิแสง, เกวลิน กองเงิน, Liang Chou Hsia, ดวงพร อมรเลิศพิศาล, วันทมาส จันทะสินธุ์ Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/258582 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 สภาพปัญหาการผลิตสุกร การสำรวจความต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่ และผลการทดสอบความพึงพอใจของไฟโตแทนท์® ผลิตภัณฑ์สารเสริมพลังงานทางเลือกใหม่เพื่อแสวงหาทางรอดภายใต้วิกฤตการณ์อุตสาหกรรมการผลิตสุกรในประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263217 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการเลี้ยงสุกร และการจัดการหน่วยผลิตสุกรภายใต้สภาวะวิกฤติการณ์อุตสาหกรรมการผลิตสุกรของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2566-2567 รวมถึงศึกษาความต้องการผลิตภัณฑ์สารเสริมชนิดใหม่เพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมการผลิตสุกรสำหรับการแก้ไขปัญหาในหน่วยผลิตลูกสุกรแรกเกิด และลูกสุกรช่วงดูดนม และศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรต่อผลิตภัณฑ์ไฟโตแทนท์ ผลิตภัณฑ์ประเภทสารเสริมพลังงานทางเลือกใหม่ อันนำไปสู่การแสวงหาแนวทางการแก้ไขเชิงรูปธรรม การสร้างองค์ความรู้ และฐานข้อมูลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสภาพปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จากกลุ่มเกษตรกร 700 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาวิชาการ หลังจากนั้นคัดเลือกเกษตรกรที่มีความเกี่ยวข้องกับฟาร์มสุกรโดยตรง จำนวน 255 คน เพื่อประเมินสภาพปัญหาของการเลี้ยง และการจัดการหน่วยผลิตสุกรภายใต้สภาวะวิกฤติการณ์อุตสาหกรรมการผลิตสุกรของประเทศไทย และรับอาสาสมัครเกษตรกรในกลุ่มดังกล่าวเพื่อประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ไฟโตแทนท์ จำนวน 73 คน ตอบแบบสอบถามความต้องการผลิตภัณฑ์สารเสริมชนิดใหม่ เพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใช้สำหรับการแก้ไขปัญหาหน่วยผลิตข้างต้น และนำผลิตภัณฑ์ไฟโตแทนท์รับไปใช้เพื่อประเมินความพึงพอใจในหน่วยผลิตแม่สุกรเลี้ยงลูก และลูกสุกรช่วงดูดนม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ต่อข้อมูลพื้นฐานสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ สถานภาพการเลี้ยง และปัญหาแต่ละหน่วยผลิต และความพึงพอใจหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ในด้านคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ และคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าปัญหาในหน่วยผลิตแม่สุกรเลี้ยง และลูกสุกรช่วงดูดนม เป็นหน่วยผลิตที่มีปัญหาสูงสุด มีค่าเฉลี่ยรวม 2.62 แบ่งเป็นสาเหตุ สุขภาพแม่สุกรหลังหย่านม ความสมบูรณ์พันธุ์แม่สุกร อัตราการตายของลูกสุกร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 2.87 เมื่อพิจารณาร่วมกับความต้องการผลิตภัณฑ์สารเสริมประเภทของเหลว และผง พร้อมด้วยผลความพึงพอใจการใช้ผลิตภัณฑไฟโตแทนท์ ผลิตภัณฑ์สารเสริมประเภทพลังงานสำหรับลูกสุกรช่วงดูดนม มีความพึงพอใจต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ให้ผลในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.28 ซึ่งประกอบด้วยความปลอดภัย การคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพ ลดอาการท้องเสีย และลดอัตราการตาย ส่วนความพึงพอใจระดับมากด้านการออกแบบแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ประเภทบรรจุภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย 4.30 และความพึงพอใจมากที่สุด ด้านลักษณะการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 4.46 เมื่อเปรียบเทียบผลความพึงพอใจกับผลประกอบการของผู้เลี้ยงสุกร พบว่าได้รับความพึงพอใจมากที่สุดหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ (P&lt;0.05) ซึ่งสอดคล้องกับแบบสอบถามสภาพปัญหาในหน่วยผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงในสภาวะวิกฤติปัจจุบัน ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์ไฟโตแทนท์สามารถตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของหน่วยผลิตในฟาร์มสุกรได้</p> อดิศักดิ์ คงแก้ว, วันดี ทาตระกูล, มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี, จักรพันธ์ สาตุ้ม, เพ็ญพิชชา หวังการะแน, สุทธิภัทร โพธิ์แก้ว, เอกพล ทองแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/263217 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 ผลกระทบและการรับมือของ Young Smart Farmer ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้การระบาดของ COVID-19 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/264723 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลกระทบและการรับมือของ Young Smart Farmer (YSF) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้การระบาดของ COVID-19 ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษา คือ สมาชิก YSF จาก 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดละ 6 คน รวม 120 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึงเดือนตุลาคม 2565 โดยใช้แบบสอบถามและการจัดเวทีระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สาระ พบว่า YSF อายุเฉลี่ย 35.56 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 61.67 มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 5.64 ปี มีจำนวนแรงงานในภาคเกษตรเฉลี่ย 2.88 คน มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 311,091.67 บาท การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ YSF มีความสะดวกในการเดินทางคมนาคมอยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 41.67) อีกทั้งยังส่งผลกระทบเชิงลบให้ YSF มีรายได้ลดลง โดย YSF มีรายได้จากการจำหน่ายอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 39.17) ซึ่งอาจต้องการการวางแผนเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น และส่งผลต่อเนื่องให้ไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตออกไปได้ ประกอบกับไม่ได้เตรียมการจัดการผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว ส่งผลต่อเนื่องให้ผลผลิตที่สดเน่าเสีย YSF จึงรับมือด้วยการจำหน่ายสินค้าผ่านสื่อ online และกลุ่มลูกค้าในชุมชน รวมถึงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งผลที่ได้คือ YSF ได้ช่องทางการขายสินค้าใหม่ ได้กลุ่มลูกค้าใหม่ และได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม การระบาดของโควิด-19 ยังมีผลกระทบเชิงบวกต่อ YSF คือ YSF บางรายมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตและจำหน่ายสินค้าสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชาย ที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้ YSF เพิ่มกำลังการผลิต รวบรวมสินค้าจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม และแปรรูปสมุนไพรเป็นสินค้าชนิดใหม่ รวมทั้งจำหน่ายสินค้าในรูปแบบ online</p> สุภกิจ สินสุข, ไกรเลิศ ทวีกุล, ยศ บริสุทธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/264723 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265563 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566/67 จำนวน 499 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 222 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.4 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 32.04 ปี มีพื้นที่ในการทำนาเฉลี่ย 20.15 ไร่ รายได้ภาคการเกษตร ปี 2566 เฉลี่ย 174,315.32 บาท เกษตรกรได้รับการส่งเสริมด้านความรู้ ในประเด็นการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว จากแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล คือ ได้รับข่าวสารจากปราชญ์ชาวบ้าน/เกษตรกรปราดเปรื่อง และได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านแหล่งข้อมูลแบบมวลชน โดยผ่านทาง แอปพลิเคชันไลน์ และเกษตรกรมีความต้องการรับการส่งเสริมด้านวิธีการส่งเสริมแบบบุคคล อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมามีความต้องการอยู่ในระดับมาก คือ ด้านวิธีการส่งเสริมแบบมวลชน และด้านความรู้ เกษตรกรมีปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยพบปัญหาด้านการผลิตข้าวในระดับปานกลาง ในประเด็นขาดการบันทึกที่สม่ำเสมอ และปัญหาด้านการส่งเสริม ในประเด็นการขาดสื่อที่ใช้ในการส่งเสริม/ให้ความรู้ และแนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี พบว่า เกษตรกรเห็นด้วยกับการสนับสนุนการวางแผนด้านการผลิตสู่การขอการรับรองมาตรฐานตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี การจัดศึกษาดูงานเกี่ยวกับการขอรับรองมาตรฐานตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการผลิตข้าวให้ได้มาตรฐานและเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าว</p> สุภารัตน์ สาคร, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, นารีรัตน์ สีระสาร Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265563 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกรในตำบลหนองสรวง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265736 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกรในตำบลหนองสรวง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ เกษตรกรในตำบลหนองสรวง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรีที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566 จำนวน 348 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ที่ยอมรับความคลาดเคลื่อนได้ 0.05 สุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้กลุ่มตัวอย่าง 187 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรอายุเฉลี่ย 53.82 ปี ประสบการณ์ในการขึ้นทะเบียนเกษตรกรเฉลี่ย 7.08 ปี พื้นที่ทำการเกษตรกรเฉลี่ย 26.47 ไร่ ในปี พ.ศ. 2566 เกษตรกรมีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 214,747.59 บาท และมีรายจ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ย 102,135.51 บาท ร้อยละ 49.20 มีความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรผ่านสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 39.04 มีความถี่ในการใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 9.51) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความง่ายในการใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในระดับน้อย ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลที่ระดับ 0.01 มี 4 ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์ในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร รายได้เฉลี่ย ความรู้ในการใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก และความง่ายในการใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ และที่ระดับ 0.05 มี 2 ตัวแปร ได้แก่ อายุ มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ และพื้นที่ทำการเกษตร มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ทั้งนี้ เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยประเด็นที่พบปัญหาสูงสุด คือการใช้งานเมนูปรับปรุงทะเบียน เกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเห็นด้วยมากที่สุดในการผลิตสื่อให้ความรู้ในการใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล</p> สาลินี อยู่สุข, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, พลสราญ สราญรมย์ Copyright (c) 2025 วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/265736 Fri, 30 May 2025 00:00:00 +0700