https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/issue/feed วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 2023-12-28T09:50:35+07:00 รศ.ดร.ปัญญา หมั่นเก็บ [email protected] Open Journal Systems <p align="center"> </p> <p><img src="https://li01.tci-thaijo.org/public/site/images/agritechadmin/1_Page_1.jpg" width="249" height="348" /></p> <h3>วารสารเกษตรพระจอมเกล้า</h3> <p style="text-align: justify;"> วารสารเกษตรพระจอมเกล้า (King Mongkut’s Agricultural Journal) นำเสนอบทความวิจัย และบทความวิชาการ ทางด้านเกษตรศาสตร์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร </p> <p style="text-align: justify;">ผู้เขียนสามารถส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความที่เผยแพร่ในวารสารได้ทางเว็ปไซต์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย</p> <p style="color: blue;"> </p> <p style="font-size: 18px;"><strong>เกณฑ์การตรวจพบความซ้ำซ้อน</strong></p> <p style="text-align: justify;"> บทความที่ตรวจพบความซ้ำซ้อนเกินร้อยละ 30 โดยโปรแกรม Turnitin จะไม่ได้รับการพิจารณาในขั้นตอนต่อไป</p> https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/255858 ผลของสาหร่ายทะเลสีน้ำตาลชนิดผงและชนิดสารสกัดต่อการเจริญเติบโตของคะน้า 2022-12-25T15:55:19+07:00 สุทิศา ชัยกุล [email protected] หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์ [email protected] จันทนิภา มะณีมา [email protected] <p> สาหร่ายทะเลสีน้ำตาลที่พบบนชายหาดใน จ.จันทบุรี หากสามารถนำมาผลิตเป็นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตสำหรับพืชได้ น่าจะทำให้เกษตรกรสามารถนำสิ่งนี้มาใช้ลดต้นทุนในการใช้ทำการเกษตรได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษา ผลของการใช้สาหร่ายทะเลชนิดผงและชนิดสารสกัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้า โดยทำการทดลองในกระถาง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วย 7 กรรมวิธี ประกอบด้วย (1) ฉีดพ่นน้ำกลั่น (2) ฉีดพ่นสาหร่ายทะเล ชนิดผงอัตรา 1% (3) ฉีดพ่นสาหร่ายทะเลชนิดผงอัตรา 2% (4) ฉีดพ่นสาหร่ายทะเลชนิดผงอัตรา 3% (5) ฉีดพ่นสารสกัด สาหร่ายทะเลอัตรา 1% (6) ฉีดพ่นสารสกัดสาหร่ายทะเลอัตรา 2% และ (7) ฉีดพ่นสารสกัดสาหร่ายทะเลอัตรา 3% กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ วิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโนทั้งหมดและความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก (N, P และ K) ในสาหร่ายทะเลชนิดผง ก่อนทำการทดลอง เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต 3 ช่วงเวลาได้แก่ 18, 25 และ 32 วัน หลังจากการย้ายปลูก เก็บข้อมูลน้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง และความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักของคะน้าเมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 32 วันหลังจากการย้ายปลูก จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าสาหร่ายทะเลสีน้ำตาลสามารถนำมาใช้ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ โดยอัตราที่เหมาะสมคือ การใช้สาหร่ายทะเลในอัตรา 2% โดยทั้งรูปแบบผงหรือสารสกัดก็สามารถใช้เป็นสารส่งเสริม การเจริญเติบโตได้ไม่แตกต่างกัน</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/256849 การรับรู้ข้อมูลน้ำมะพร้าวพร้อมดื่ม UHT ผ่านสื่อออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร 2022-12-18T18:42:48+07:00 ทรงธรรม มกนันท์ [email protected] พัชรา สบายใจ [email protected] <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลน้ำมะพร้าวพร้อมดื่ม UHT ผ่านสื่อออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร โดยการใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร มีอายุระหว่าง 18 - 40 ปี สามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์และเคยบริโภคน้ำมะพร้าวพร้อมดื่ม UHT ด้วยแบบสอบถาม จำนวน 404 คน จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการศึกษาการรับรู้ข้อมูลน้ำมะพร้าวพร้อมดื่ม UHT ผ่านสื่อออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 62.10) มีอายุระหว่าง 24 - 29 ปี (ร้อยละ 48.00) ระดับการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 76.00) มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน (ร้อยละ 49.80) และมีรายได้ระหว่าง 20,001 - 30,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 30.90) ในภาพรวมมีการรับรู้ข้อมูลน้ำมะพร้าวพร้อมดื่ม UHT อยู่ในระดับมาก (<strong>x̄</strong> = 3.84) โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสะดวกในการซื้อ (Convenient) (<strong>x̄</strong>= 4.01) ด้านการสื่อสาร (Communication) (<strong>x̄</strong> = 3.92) ด้านความต้องการของผู้บริโภค (Consumer’s Want) (<strong>x̄</strong> = 3.75) และด้านความคุ้มค่าของผู้บริโภค (Cost of Consumer) (<strong>x̄</strong> = 3.69) ซึ่งจากผลการศึกษาด้านการรับรู้ในครั้งนี้พบว่าด้านความสะดวกในการซื้อ (Convenient) ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางการสั่งซื้อสินค้าน้ำมะพร้าวพร้อมดื่ม UHT ผ่านช่องทางออนไลน์มีความสะดวกที่สุด</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/256843 ความพึงพอใจในการเปิดรับสื่อรีวิวท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนเฟซบุ๊กของผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร 2022-11-30T11:12:50+07:00 วรภร บุญเจริญ [email protected] พัชรา สบายใจ [email protected] <p> งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการเปิดรับสื่อรีวิวการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ที่ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 429 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยประมาณ 37 ปี 7 เดือน มีรายได้เฉลี่ย 27,904.98 บาทต่อเดือน การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท และมีความสนใจรับชมเนื้อหารีวิวการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในด้านของสถานที่พัก เช่น โฮมสเตย์ ฟาร์มสเตย์ อีกทั้งในด้านความพึงพอใจในการเปิดรับสื่อรีวิวการท่องเที่ยวเชิงเกษตร พบว่า ด้านเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลบนเฟซบุ๊ก และด้านการเข้าถึงข้อมูลและความสะดวกมีความพึงพอใจในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 (S.D. = 0.413) และ 3.47 (S.D. = 0.402) ตามลำดับ และด้านการนำเสนอและรูปแบบบนเฟซบุ๊กมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.32 (S.D. = 0.380)</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/254723 ผลของการใช้เชื้อรา Beauveria bassiana ท้องถิ่นต่อการควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ Allocaridala maleyensis (Crawford) ในพื้นที่ปลูกทุเรียนภาคตะวันออก 2023-02-21T13:53:35+07:00 สุกฤตา อนุตระกลูชัย [email protected] เทิดพงศ์ สุทธิอาภาพงศ์ [email protected] ประเวช จันทร์ศิริ [email protected] ธิติ ทองคำงาม [email protected] <p> ปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ในแปลงปลูกทุเรียนสร้างผลกระทบอย่างมากต่อเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน เพราะเพลี้ยไก่แจ้สามารถเข้าทำลายทุเรียนได้แทบทุกระยะตั้งแต่เริ่มสร้างใบอ่อนจนกระทั่งเก็บผลผลิต จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการคัดเลือกเชื้อรากินแมลงท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการช่วยควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ในแปลงปลูกทุเรียน ของเกษตรกร โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อรา <em>Beauveria bassiana</em> ท้องถิ่น ต่อการควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ในพื้นที่ปลูกทุเรียนภาคตะวันออก เริ่มจากการเก็บตัวอย่างแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียน จำนวน 3 จังหวัด คือ จันทบุรี ตราด และ ระยอง จากนั้นนำแมลงศัตรูพืชที่เก็บได้มาแยกเชื้อรากินแมลงและจัดจำแนกทางสัณฐานวิทยาของเชื้อรา พบว่าเกิดจากเชื้อรา <em>B. bassiana</em> จึงนำเชื้อราที่แยกได้มาทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ โดยประเมินจาก เปอร์เซ็นต์การตายของเพลี้ยไก่แจ้ ซึ่งแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ส่วน คือ ระยะตัวอ่อนทดสอบกับใบ และระยะตัวเต็มวัย ทดสอบกับยอดอ่อนของทุเรียน ผลการทดลองพบว่า เชื้อรา<em> B. bassiana </em>ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้น 10<sup>4</sup>, 10<sup>6</sup> และ 10<sup>8 </sup>สปอร์ต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการเจริญของเพลี้ยไก่แจ้ได้ทั้งหมด โดยระดับความเข้มข้น 10<sup>8 </sup>สปอร์ต่อมิลลิลิตร มีเปอร์เซ็นต์การตายของเพลี้ยไก่แจ้ระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 100 และ 88 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ โดยสรุปจากการใช้เชื้อรา <em>B. bassiana </em>ท้องถิ่นควรต้องฉีดพ่นกับเพลี้ยไก่แจ้ในระยะตัวอ่อนดีกว่าฉีดพ่นในระยะตัวเต็มวัย เพราะยังอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อรากินแมลง</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/253194 การเปลี่ยนแปลงคุณภาพในระหว่างการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์พริกหลังการไพร์มมิ่ง ด้วยความเร็วในการลดความชื้นต่างกัน 2022-06-13T16:38:49+07:00 ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ [email protected] วิริยา กิตติวัชนะ [email protected] เสริมศิริ จันทร์เปรม [email protected] วชิรญา อิ่มสบาย [email protected] <p> ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในระหว่างการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พริกที่ผ่านการไพร์มมิ่งและลดความชื้นด้วยความเร็วต่างกัน นำเมล็ดพันธุ์พริกชี้ฟ้าพันธุ์แม่ปิง ที่มีความงอก 98% มาทำฮาโล-ไพร์มมิ่งในสารละลาย KNO<sub>3</sub> 2% นาน 3 วัน ก่อนนำไปลดความชื้น 2 วิธี คือ 1) แบบเร็ว (fast drying; FD) โดยบ่มในตู้ควบคุมความชื้นที่ 35% RH 3 วัน และ 2) แบบช้า (slow drying; SD) โดยบ่มในตู้ควบคุมความชื้นที่ 75% RH 2 วัน ตามด้วย 50% RH 2 วัน และ 35% RH อีก 3 วันตามลำดับจากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ผ่านการไพร์มิ่ง(กรรมวิธีควบคุม) และผ่านการไพร์มมิ่งแล้วลดความชื้นแบบ FD และ SD ไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ (5°C) นาน 12 เดือน และอุณหภูมิสูง (40°C) นาน 6 เดือน พบว่า ก่อนเก็บรักษา เมล็ดพันธุ์พริกที่ผ่านการไพร์มมิ่งมีเปอร์เซ็นต์ความงอกไม่แตกต่างทางสถิติจากกรรมวิธีควบคุม แต่การไพร์มิ่งและลดความชื้นแบบ SD ให้ความเร็วในการงอกมากกว่าแบบ FD และกรรมวิธีควบคุม และในระหว่างเก็บรักษาทั้งสองอุณหภูมิ พบว่า เมล็ดพันธุ์กรรมวิธีควบคุมมีความงอกสูงที่สุดทั้ง 2 สภาพอุณหภูมิตลอดอายุเก็บรักษา การไพร์มมิ่งเมล็ดพันธุ์พริกและลดความชื้นแบบ SD ทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอก และกิจกรรมของเอนไซม์แคทตาเลสในเมล็ดพันธุ์พริกลดลง มีการรั่วไหลของเยื่อหุ้มเซลล์และการสะสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพิ่มขึ้นมากกว่าการลดความชื้นแบบ FD และกรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความแตกต่างทางสถิติดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่อุณหภูมิสูงได้เร็วกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/256947 การคัดเลือกและศึกษาลักษณะของแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพในการควบคุม Xanthomonas oryzae pv. oryzae สาเหตุโรคขอบใบแห้งของข้าวก่ำ 2023-01-25T11:39:55+07:00 ชยามร ถาวร [email protected] อังสนา อัครพิศาล [email protected] <p> โรคขอบใบแห้ง (bacterial leaf blight disease) เป็นโรคที่สำคัญของข้าว มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย <em>Xanthomonas oryzae</em> pv. <em>oryzae</em> ซึ่งข้าวก่ำเป็นข้าวอีกชนิดหนึ่งที่พบการเข้าทำลายของแบคทีเรียภายในสภาพแปลงปลูก การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคจึงมีความสำคัญในการนำไปใช้ควบคุมโรคเพื่อลด การระบาด และความเสียหายของผลผลิต โดยคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่แยกจากดินบริเวณรอบรากข้าว ซึ่งสามารถแยกได้ทั้งหมดจำนวน 48 ไอโซเลท และคัดเลือกด้วยวิธี dual culture พบว่า ไอโซเลท KY16 และ KY17 มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการควบคุมเชื้อแบคทีเรีย <em>X. oryzae</em> pv. <em>oryzae </em>โดยมีรัศมีรอบวงบริเวณที่แสดงการยับยั้งของแบคทีเรีย (inhibition growth zone) เท่ากับ 12.70 mm และ 11.95 mm ตามลำดับ เมื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและคุณสมบัติทางชีวเคมีบางประการพบว่าเป็นแบคทีเรียแกรมบวก และจัดอยู่ในกลุ่ม <em>Bacillus</em> sp. เมื่อจัดจำแนกและระบุชนิดของแบคทีเรียปฏิปักษ์โดยเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมจากยีนทั้งหมด 3 ตำแหน่ง ได้แก่ 16S rRNA <em>gyrA</em> และ <em>rpoB</em> พบว่าจัดจำแนกเป็น <em>Bacillus siamensis </em>และจากการศึกษายีนที่เกี่ยวข้องในการผลิตสารต้านจุลินทรีย์พบว่าแบคทีเรียทั้งสองไอโซเลทมียีนที่ผลิตสารต้านจุลินทรีย์ในกลุ่ม iturin A และ surfactin ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่คัดเลือกได้ไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมโรคขอบใบแห้งของข้าวก่ำในระดับแปลงปลูกต่อไป</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/254977 องค์ประกอบทางเคมี จลศาสตร์การผลิตแก๊สโดยวิธี In vitro และการสลายโดยกระเพาะรูเมน โดยวิธี In Sacco ของเยื่อในลำต้นปาล์มน้ำมันหมัก 2023-04-01T07:11:00+07:00 สุภิญญา ชูใจ [email protected] ภูมิพงศ์ บุญแสน [email protected] อัญชลี คงประดิษฐ์ [email protected] สุริยะ สะวานนท์ [email protected] <p> การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมี จลศาสตร์การผลิตแก๊ส และการย่อยสลายในกระเพาะรูเมนด้วยวิธี <em>In sacco</em> ของเยื่อในลำต้นปาล์มน้ำมันหมักและกากต้นสับปะรดหมัก โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) มี 6 ทรีตเมนต์ประกอบด้วย T1 = เยื่อในลำต้นปาล์มน้ำมัน T2 = เยื่อในลำต้นปาล์มน้ำมันหมัก T3 = เยื่อในลำต้นปาล์มน้ำมันหมักด้วยยูเรีย 5% T4 = เยื่อในลำต้นปาล์มน้ำมันหมักด้วยกากน้ำตาล 3% T5 = เยื่อในลำต้นปาล์มน้ำมันหมักด้วยยูเรีย 5% ร่วมกับกากน้ำตาล 3% และ T6 = กากต้นสับปะรดหมัก เก็บตัวอย่างอาหารหมักที่ระยะหมัก 21 วัน โดยศึกษาในกระเพาะรูเมนของ โคเนื้อเจาะกระเพาะ พบว่าองค์ประกอบทางเคมีของ (T1) มีวัตถุแห้ง 42.40%DM ปริมาณโปรตีนรวม 1.48% ปริมาณผนังเซลล์ 50.71% และปริมาณลิกโนเซลลูโลส 30.35% T2-T5 มีปริมาณโปรตีนรวม 2.09, 12.78, 3.74 และ 14.53% ตามลำดับ ผนังเซลล์ อยู่ในช่วง 48.15-52.07% และลิกโนเซลลูโลส อยู่ในช่วง 29.05-31.25%DM ขณะที่กากต้นสับปะรดหมักมีปริมาณโปรตีน 4.60%DM ผนังเซลล์ 52.60%DM และลิกโนเซลลูโลส 18.4%DM จลศาสตร์การผลิตแก๊ส พบว่า (T6) มีปริมาณการผลิตแก๊สสูงสุด ในขณะที่สูตรทดลอง T5 มีค่าการผลิตแก๊สสูงกว่าเยื่อในลำต้นปาล์มน้ำมันสูตรทดลองอื่นๆ ค่าการย่อยสลายในกระเพาะรูเมนของเยื่อในลำต้นปาล์มน้ำมันหมัก พบว่า T5 มีอัตราการย่อยสลายสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับเยื่อในลำต้นปาล์มน้ำมันหมักสูตรทดลองอื่น โดยอัตราการย่อยสลายในกระเพาะรูเมนเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการหมักในกระเพาะรูเมนที่ยาวนานมากขึ้น ดังนั้นสามารถสรุป ในเบื้องต้นได้ว่าเยื่อในลำต้นปาล์มน้ำมันเมื่อหมักด้วยยูเรียและกากน้ำตาลจะช่วยทำให้การหมักย่อยในกระเพาะรูเมนได้ดีขึ้นและน่าจะนำมาใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบในการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องได้</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/257278 ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนคลองแขวงกลั่น ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2023-03-24T17:14:11+07:00 อภิญญา แสงสงวน [email protected] ดวงกมล ธรรมมาธิวัฒน์ [email protected] สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช [email protected] <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน ศักยภาพ และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนคลองแขวงกลั่น โดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ดูแลจุดท่องเที่ยว ผู้แทนประชาชนในชุมชนคลองแขวงกลั่น และผู้แทนพัฒนาชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การจัดเวทีชุมชน การสนทนากลุ่ม การทำ Swot Analysis และ Tows Metrix ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนคลองแขวงกลั่นมีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีความเป็นธรรมชาติ และวิถีชีวิตที่ชัดเจน สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ มีกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถได้มาสัมผัสจริงผ่านประสบการณ์โดยการลงมือปฏิบัติพร้อมทั้งมีการให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย การเดินทางสะดวกเนื่องจากอยู่ใกล้เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีที่พักรองรับนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารในการแนะนำนักท่องเที่ยว และดูแลรักษาความปลอดภัยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ประชาชนในพื้นที่มีความตื่นตัว มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน สำหรับกลยุทธ์ที่ชุมชนนำมาเป็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในช่วงเริ่มต้น กลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น กลยุทธ์เชิงแก้ไข ออกไปศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ประสบความสำเร็จ เพื่อนำความรู้มาปรับใช้ กลยุทธ์เชิงป้องกัน พัฒนาแบรนด์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และ กลยุทธ์ที่ดำเนินการควบคู่คือกลยุทธ์เชิงรับ ร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนสู่สายตานักท่องเที่ยวได้อย่างมีคุณภาพ</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/258094 การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อพัฒนากลุ่มและเครือข่าย เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกจังหวัดฉะเชิงเทรา 2023-04-10T10:34:22+07:00 สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช [email protected] ลือพงษ์ ลือนาม [email protected] ดวงกมล ธรรมมาธิวัฒน์ [email protected] <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการ ความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้ 2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้ 3) ประเมินผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกรและเครือข่าย และ 4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงเพื่อส่งออกในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 30 ราย ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test มีผลการศึกษาดังนี้</p> <p>1) เกษตรกรมีความต้องการเทคนิคการถ่ายทอดเทคโนโลยี 3 วิธีร่วมกันมากที่สุด คือ การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ และการสาธิต สื่อที่เกษตรกรต้องการใช้ประกอบการเข้าร่วมการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากที่สุด คือ คู่มือ จำนวนผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกษตรกรคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมที่สุด คือ 20 - 30 คนต่อครั้ง ช่วงเวลาที่เกษตรกรต้องการเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากที่สุด คือ เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้ใช้การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยวิธีการเชิงระบบ (System Approach) คือ ขั้นประเมินความจำเป็น (Assessment Phase) ขั้นพัฒนาและถ่ายทอด (Transfer and Development Phase) ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase) 3) การประเมินผลการถ่ายทอดเทคโนโลยี พบว่า ผลการเปรียบเทียบความรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้น้ำส้มควันไม้ หลังการถ่ายทอดเกษตรกรมีความรู้แตกต่างกับก่อนการถ่ายทอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt; 0.05) โดยหลังการถ่ายทอดเกษตรกรมีคะแนนเฉลี่ย 13.10 คะแนน สูงกว่าก่อนการถ่ายทอดที่มีคะแนนเฉลี่ย 7.37 คะแนน และผลการประเมินการถ่ายทอดเทคโนโลยี พบว่า เกษตรกรที่เข้ารับการถ่ายทอดมีความคิดเห็นต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยรวม อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวม 4.15 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านวิทยากร อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.44 รองลงมา คือ ด้านสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.24 และด้านกระบวนการถ่ายทอด อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.19 4) ข้อเสนอแนะในการถ่ายทอดเทคโนโลยี คือ ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการถ่ายทอดอย่างต่อเนื่อง</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/258648 แบบแผนและปัจจัยตัวกำหนดความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2023-04-27T05:18:18+07:00 สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ [email protected] ประภาพร ชุลีลัง [email protected] สุณีพร สุวรรณมณีพงศ์ [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงแบบแผนความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2) เพื่อวัดความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วยดัชนี Simpson และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยตัวกำหนดความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2564 ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยทำการคัดเลือกเฉพาะครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามเกณฑ์การจำแนกอาชีพของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโทบิต ผลการวิจัย พบว่า สัดส่วนเฉลี่ยรายได้นอกภาคการเกษตรของครัวเรือนตัวอย่างสูงกว่าสัดส่วนเฉลี่ยรายได้ในภาคการเกษตรของครัวเรือนเพียงเล็กน้อย หากพิจารณาถึงความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรด้วยดัชนี Simpson พบว่า ร้อยละ 49.99 ของครัวเรือนเกษตรตัวอย่างมีความหลากหลายของรายได้อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ความหลากหลายของรายได้ระดับสูงและต่ำ คิดเป็นร้อยละ 25.71 และ 24.30 ตามลำดับ แหล่งรายได้ที่ครัวเรือนเกษตรตัวอย่างได้รับสูงที่สุดใน 2 อันดับแรก ได้แก่ รายได้จากการปลูกพืชและการทำป่าไม้ (ร้อยละ 95.91) และรายได้จากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาจากการทำงาน (ร้อยละ 95.17) สำหรับผลการวิเคราะห์การถดถอยโทบิต พบว่า อายุของหัวหน้าครัวเรือน ขนาดของครัวเรือน การมีสมาชิกในครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานภายในประเทศและต่างประเทศ และปริมาณหนี้สินนอกระบบของครัวเรือน ส่งอิทธิพลทางบวกต่อความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตร ในทางตรงกันข้าม รายได้ต่อปีต่อหัวของครัวเรือนและขนาดที่ดินของครัวเรือนส่งอิทธิพลทางลบต่อความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตร อย่างไรก็ดี ผลการศึกษากลับพบว่า เพศของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน อัตราภาระพึ่งพิงของครัวเรือน ปริมาณหนี้สินในระบบของครัวเรือน ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเขตที่อยู่อาศัยของครัวเรือน ไม่ส่งอิทธิพลต่อความหลากหลายของรายได้ของครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่อย่างใด</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/259196 ระยะวิกฤตการแข่งขันของวัชพืชในแปลงปลูกปทุมมาลานนาสโนว์ 2023-06-14T19:47:44+07:00 มนสิชา สงวนธีรพงศ์ [email protected] กนกวรรณ ปัญจะมา [email protected] ภารดี ธรรมาภิชัย [email protected] โสระยา ร่วมรังษี [email protected] อภิรัฐ บัณฑิต [email protected] <p> การรบกวนของวัชพืชเป็นผลกระทบจากวัชพืชที่มีต่อพืชปลูก โดยเป็นผลจากการแข่งขันซึ่งกันและกัน จึงทำการศึกษาวิจัยอิทธิพลของช่วงระยะเวลาการรบกวนของวัชพืชต่อการเติบโตและช่อดอกของปทุมมาภายใต้แปลงทดลอง ระยะวิกฤตสำหรับป้องกันกำจัดวัชพืชประกอบด้วย ช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้นของระยะเวลาที่มีวัชพืชขึ้นแข่งขันแสดงถึงกรรมวิธีการปล่อยวัชพืชขึ้นรบกวน และช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้นของระยะเวลาปราศจากวัชพืชแสดงถึงกรรมวิธีที่มีการกำจัดวัชพืช ซึ่งกรรมวิธีที่มีการกำจัดวัชพืชและการปล่อยวัชพืชขึ้นรบกวนใช้ระบุระยะวิกฤตสำหรับป้องกันกำจัดวัชพืชที่ยอมให้ผลผลิตสูญเสียในระดับที่ยอมรับได้ 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาที่มีวัชพืชแข่งขัน 10, 12, 14 และ 16 สัปดาห์หลังปลูก และระยะเวลาปราศจากวัชพืช 0, 2 และ 4 สัปดาห์หลังปลูก ทำให้จำนวนใบ ความสูงช่อดอก ความกว้างช่อดอก และความยาวช่อดอก ของปทุมมาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ความสูงต้นได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากกรรมวิธีที่มีการกำจัดวัชพืช นอกจากนี้ ระยะวิกฤตสำหรับป้องกันกำจัดวัชพืชที่ทำให้ผลผลิตสูญเสียในระดับที่ยอมรับได้ 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ อยู่ระหว่าง 6 ถึง 10 และ 5 ถึง 8 สัปดาห์หลังปลูก ตามลำดับ โดยระยะวิกฤตสำหรับป้องกันกำจัดวัชพืชที่ระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ มีระยะสั้นกว่าระดับ 5 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาระยะวิกฤตสำหรับป้องกันกำจัดวัชพืชควรคำนึงผลผลิตพืชที่ดีขึ้น และการประหยัดต้นทุนหลังการกำจัดวัชพืช เพื่อพัฒนาคำแนะนำการจัดการวัชพืชที่แม่นยำ การประเมินระยะวิกฤตสำหรับป้องกันกำจัดวัชพืชจึงเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดกลยุทธ์การกำจัดวัชพืชที่ในแปลงปทุมมา</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า