วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal <p align="center"> </p> <p><img src="https://li01.tci-thaijo.org/public/site/images/agritechadmin/1_Page_1.jpg" width="249" height="348" /></p> <h3>วารสารเกษตรพระจอมเกล้า</h3> <p style="text-align: justify;"> วารสารเกษตรพระจอมเกล้า (King Mongkut’s Agricultural Journal) เผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ทางด้านเกษตรศาสตร์ เช่น พืชศาสตร์ ปฐพีศาสตร์ สัตวศาสตร์ วิทยาศาสตร์การประมง อารักขาพืช เทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร(เนื้อสัตว์) เศรษฐศาสตร์เกษตรและธุรกิจเกษตร การทำฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร นิเทศศาสตร์เกษตร และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร</p> <p style="text-align: justify;"> ผู้เขียนสามารถส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความที่เผยแพร่ในวารสารได้ทางเว็ปไซต์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย</p> <p style="color: blue;"> </p> <p style="font-size: 18px;"><strong>เกณฑ์การตรวจพบความซ้ำซ้อน</strong></p> <p style="text-align: justify;"> บทความที่ตรวจพบความซ้ำซ้อนเกินร้อยละ 30 โดยโปรแกรม Turnitin จะไม่ได้รับการพิจารณาในขั้นตอนต่อไป</p> School of Agricultural Technology, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang th-TH วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 3027-8287 <p>วารสารเกษตรพระจอมเกล้า</p> ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสมบัติทางฟิสิกส์ของดินบางประการในพื้นที่แสดงโรคต้นและรากเน่า ของมันสำปะหลังในประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/255990 <p> ทำการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของดินและเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ที่มีการเกิดโรครากเน่า โคนเน่า และลำต้นเน่า ของมันสำปะหลังในประเทศไทย เพื่อศึกษาสมบัติทางฟิสิกส์ของดินที่เป็นลักษณะเฉพาะในพื้นที่เกิดโรครากเน่า โคนเน่า และลำต้นเน่า ของมันสำปะหลัง ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่เกิดโรค พร้อมอ้างอิงพิกัดภูมิศาสตร์และข้อมูลดินระดับชุดดินจากแผนที่ดินรายจังหวัดของประเทศไทยของกรมพัฒนาที่ดิน ศึกษาสัณฐานวิทยาของดินโดยการขุดดินด้วยสว่านเจาะดิน เก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 0-20, 20-40 และ 40-60 เซนติเมตร เพื่อนำไปวิเคราะห์ เนื้อดิน ความหนาแน่นรวมของดิน และสภาพการนำน้ำของดิน ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่เกิดโรคมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาของดินที่พบได้คือ การมีชั้นดานแข็ง ดินตื้น การพบจุดประ และการสะสมดินเหนียวในชั้นดินล่าง ผลการวิเคราะห์สมบัติทางฟิสิกส์พบว่าพื้นที่เกิดโรคสามารถเกิดได้ในดินเนื้อหยาบไปจนถึงดินเนื้อละเอียด (ดินทรายถึงดินเหนียว) ดินมีความหนาแน่นรวมสูงในดินล่างอย่างชัดเจน ในขณะที่มีสภาพการนำน้ำของดินอิ่มตัวต่ำในดินล่าง ซึ่งลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่พบในพื้นที่เกิดโรคได้แก่ การเป็นดินตื้น การพบจุดประ และการสะสมดินเหนียวในชั้นดินล่าง เป็นไปตามข้อมูลพื้นฐานระดับชุดดิน อย่างไรก็ตามพบว่าการเกิดโรคเป็นผลสืบเนื่องจากการจัดการดินต่อสมบัติดินด้วย ได้แก่การมีชั้นดานไถพรวนระดับตื้น เกิดชั้นแน่นทึบ ความหนาแน่นสูง เป็นข้อจำกัดในการระบายน้ำของดิน ส่งเสริมให้เกิดโรคได้</p> นภาพร พันธุ์กมลศิลป์ จินตนา อันอาตม์งาม นวรัตน์ เวชวิฐาน นุชจรินทร์ เนียมจำนงค์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 134 144 10.55003/kmaj.2024.08.16.001 ผลของระยะเวลาการนึ่งและอุณหภูมิอบแห้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อสารต้านอนุมูลอิสระ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/255697 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาผลของการนึ่งที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 10, 20 และ 30 นาที และอบแห้งที่อุณหภูมิ 50, 60 และ 70 องศาเซลเซียส ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อสารต้านอนุมูลอิสระ โดยความชื้นสุดท้ายอยู่ระหว่าง 15-16 % มาตรฐานแห้ง ผลการศึกษาพบว่ามีค่าสี L*, a* และ b* อยู่ระหว่าง 29.53-32.74, 0.88-1.00 และ 0.14-0.18 ตามลำดับ โดยเมื่อผ่านการนึ่งและการอบแห้งพบว่า ปริมาณฟีนอลลิกทั้งหมดลดลงอยู่ระหว่าง 10.00-10.90 mgGAE/g ส่วน %DPPH scavenging activity ลดลงอยู่ระหว่าง 69.52-81.80% และปริมาณ ferric-reducing antioxidant power ลดลงอยู่ระหว่าง 7.14-7.99 mgFeSO<sub>4</sub>/g เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวอ้างอิง โดยการนึ่ง 10 นาที และการอบแห้งที่ 50 องศาเซลเซียส จะเหมาะสมที่สุดในการศึกษานี้</p> ประไพ บางเชย ชัยวัฒน์ บรรใดเพ็ชร กฤตนัย แก้วยศ ชัยยงค์ เตชะไพโรจน์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 145 151 10.55003/kmaj.2024.08.16.002 ประสิทธิภาพการผลิต การตอบสนองต่อความเครียด และสถานะภูมิคุ้มกันของสุกรอนุบาล ที่ได้รับอาหารที่มีส่วนผสมกากเมล็ดกัญชง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/254965 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการใช้กากเมล็ดกัญชง (hemp seed meal; HSM) ในสูตรอาหารต่อประสิทธิภาพการผลิต การตอบสนองต่อความเครียด และสถานะภูมิคุ้มกันในสุกรอนุบาล ใช้สุกรเพศผู้ตอน [(Landrace × Large White) × Duroc] อายุ 3 สัปดาห์ จำนวน 40 ตัว น้ำหนักเริ่มต้น 5.48±0.2 กก. แบ่งสุกรออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 10 ซ้ำ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับอาหารพื้นฐานที่ไม่มี HSM (HSM0) และกลุ่มที่ได้รับอาหารผสม HSM ที่ระดับ 5, 10 และ 15 % ตามลำดับ (HSM5, HSM10, และ HSM15) HSM มีคุณค่าทางโภชนะได้แก่ ไขมัน โปรตีน เยื่อใย และไลซีน 7.95, 32.46, 12.94 และ 1.49% ตามลำดับ พลังงานรวม 3,594 กิโลแคลอรี/กก. ผลการใช้ HSM ในอาหารสุกรอนุบาลพบว่า ปริมาณการกินอาหารของสุกรกลุ่ม HSM10 เฉลี่ยต่อวันในสัปดาห์ที่ 1-2 ดีกว่าสุกรกลุ่ม HSM15 (P&lt;0.05) ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม อัตราการเจริญเติบโตตลอดการทดลอง มากกว่ากลุ่มอื่น (P&lt;0.05) สำหรับอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักของสุกรไม่พบความแตกต่าง (P&gt;0.05) ระหว่างกลุ่มทดลอง ผลด้านสภาวะความเครียดที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันพบได้จากระดับของเอนไซม์ในพลาสมาของลูกสุกรกลุ่ม HSM15 มีค่าความเข้มข้นของเอนไซม์ superoxide dismutase (SOD) ต่ำที่สุด และเอนไซม์ glutathione peroxidase (GPx) มากที่สุด (P&lt;0.05) สุกรกลุ่ม HSC5 มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลน้อยที่สุด (P&lt;0.05) ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับสุกรกลุ่ม HSM10 นอกจากนี้ยังพบว่าสุกรกลุ่ม HSM10 มีความเข้มข้นของอิมมูโนโกลบูลินชนิด M (IgM) มากที่สุด (P&lt;0.05) ในขณะที่สุกรกลุ่ม HSM10 และ HSM15 พบความเข้มข้นของอิมมูโนโกลบูลินชนิด G (IgG) มากที่สุด (P&lt;0.05) สรุปได้ว่าระดับการใช้ HSM ที่ระดับ 10% ให้ผลดีที่สุดในสุกรอนุบาล</p> วันดี ทาตระกูล อดิศักดิ์ คงแก้ว รุ่งทิวา ใจมาศรี นิทัศน์ วิชาสิทธิ์ ณัฐปภัสร์ สุภัสสราโภคิน จักรพันธ์ สาตุ้ม Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 152 162 10.55003/kmaj.2024.08.16.003 การตอบสนองทางสรีรวิทยาของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เสื่อมคุณภาพแตกต่างกัน ต่อการกระตุ้นการงอกด้วย PEG 6000 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/259492 <p> การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เสื่อมคุณภาพแตกต่างกันหลังจากการกระตุ้นการงอก ดำเนินการทดลองโดยนำเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มาทำให้เสื่อมคุณภาพโดยวิธีการเร่งอายุที่อุณหภูมิ 44 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 0 (ไม่ผ่านการเร่งอายุ), 1, 2, 3 และ 4 วัน เมื่อครบเวลาที่กำหนด นำเมล็ดพันธุ์ที่มีการเสื่อมคุณภาพแตกต่างกันทุกกรรมวิธีมากระตุ้นการงอกด้วยการแช่ในสารละลาย PEG 6000 ที่มีความเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านกรรมวิธีดังกล่าวแล้วมาลดความชื้นด้วยตู้อบลมร้อนที่ควบคุมอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 ชั่วโมง จนระดับความชื้นของเมล็ดพันธุ์ลดลงใกล้เคียงกับความชื้นเริ่มต้น แล้วนำมาตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในห้องปฏิบัติการและในสภาพแปลงปลูก ดัชนีการงอก ความเร็วในการงอก และค่าการนำไฟฟ้าของน้ำที่แช่เมล็ด ผลการทดลอง พบว่า เมล็ดพันธุ์ที่มีการเสื่อมคุณภาพแตกต่างกันทุกระดับการเสื่อมมีค่าการนำไฟฟ้าของน้ำที่แช่เมล็ดลดลงหลังจากกระตุ้นการงอก ส่วนในด้านการงอกและความสม่ำเสมอในการงอก หากเมล็ดพันธุ์มีการเสื่อมคุณภาพแตกต่างกันจะมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นได้แตกต่างกัน โดยเมล็ดพันธุ์ที่มีระดับการเสื่อมคุณภาพที่มีความงอกอยู่ที่ 12 และ 33 เปอร์เซ็นต์ สามารถกระตุ้นการงอกเพิ่มขึ้นได้ 27 และ 48 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่เมล็ดพันธุ์ที่เสื่อมคุณภาพมากไปกว่านั้นมีการตอบสนองที่ลดลง</p> พจนา สีขาว จำรูญ เล้าสินวัฒนา Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 163 172 10.55003/kmaj.2024.08.16.004 การศึกษาปริมาณไขมันและสารสีของสาหร่ายขนาดเล็กที่เพาะเลี้ยงในน้ำจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/258710 <p> การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กในน้ำจากบ่อต่างๆ ในฟาร์มกุ้งขาวแวนนาไมเพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารเสริมให้กับกุ้ง โดยทำการศึกษาการเจริญ ปริมาณไขมัน และสารสีของสาหร่ายขนาดเล็ก ผลการเติมยูเรียเป็นแหล่งไนโตรเจนเสริม และผลการขยายขนาดบ่อเพาะเลี้ยงสาหร่าย ผลการทดลองพบว่าสาหร่ายสายพันธุ์ <em>Chlorella</em> sp. SHP ที่คัดแยกได้จากฟาร์มกุ้งให้ปริมาณสารสีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าอีกสองสายพันธุ์มาก และยังสามารถเจริญได้ดีที่สุดในน้ำทิ้งจากบ่อบำบัด เมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะเลี้ยงในน้ำจากบ่อพักน้ำและบ่อเลี้ยงกุ้ง และพบว่าการเติมยูเรียที่ความเข้มข้น 2 กรัมต่อลิตร และการขยายขนาดการเพาะเลี้ยงสาหร่ายในบ่อเลี้ยงสาหร่ายจำลองขนาด 50 ลิตร แบบเปิดและมีน้ำไหลวน ทำให้ได้สาหร่ายน้ำหนักเซลล์แห้งสูงสุดเท่ากับ 0.19±0.03 กรัมต่อลิตร โดยเซลล์สาหร่ายมีปริมาณไขมันเท่ากับร้อยละ 44.96±2.79 ปริมาณสารสีคลอโรฟิลล์เอบี และแคโรทีนอยด์ เท่ากับ 11.65 มิลลิกรัมต่อกรัม และ 5.45 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ และพบว่าเซลล์สาหร่าย 1 กรัม มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่วัดจากค่า Radical scavenging activity เท่ากับร้อยละ 66.71±0.02 ซึ่งผลจากการศึกษาคาดว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการผลิตเซลล์สาหร่ายที่มีไขมันและสารสีสูงที่จะสามารถนำไปใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับเลี้ยงกุ้งต้นทุนต่ำได้</p> เบญจมาส เชียรศิลป์ ธิดาพร ขุมเงิน วจีพร มณีโชติ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 173 182 10.55003/kmaj.2024.08.16.005 การศึกษาตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับปริมาณการส่งออก ปลาสดหรือแช่เย็นของประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/253981 <p><span style="font-weight: 400;"> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับปริมาณการส่งออกปลาสดหรือแช่เย็นของประเทศไทยด้วยวิธีการทางสถิติ 7 วิธี ได้แก่ วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของโฮลต์ วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของบราวน์ วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังที่มีแนวโน้มแบบแดม วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังที่มีฤดูกาลอย่างง่าย วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก และวิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณ โดยใช้ปริมาณการส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ข้อมูลชุดที่ใช้สร้างตัวแบบคือ ปริมาณการส่งออกตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2563 จำนวน 120 เดือน ข้อมูลชุดที่ใช้เปรียบเทียบความแม่นคือ ปริมาณการส่งออกตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 12 เดือน โดยใช้เกณฑ์ร้อยละค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการศึกษาพบว่า วิธีที่มีความแม่นมากที่สุดคือ วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังที่มีแนวโน้มแบบแดม </span></p> วรางคณา เรียนสุทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 183 191 10.55003/kmaj.2024.08.16.006 การทำธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของคนรุ่นใหม่ตลอดโซ่อุปทานการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/259487 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีของการเป็นเกษตรกร ประเภทของเกษตรกร และผลลัพธ์ต่อตนเองและสังคมในการทำธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยการศึกษาจาก 20 ต้นแบบเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากแวดวงเกษตรอินทรีย์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า ในช่วง ปี 2554-2564 มีอัตราการเติบโตของเกษตรอินทรีย์อย่างก้าวกระโดด ทั้งในเชิงพื้นที่และจำนวนเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลตามยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ 2560-2564 และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ 2566-2570 โดยปัจจัยที่ทำให้คนรุ่นใหม่ทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้นนั้นมีแรงจูงใจทั้งปัจจัยผลักและปัจจัยดึง โดยมีรูปแบบการทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 9 รูปแบบ และ 2 ประเภท ที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิต ความต้องการ และเป้าหมายของชีวิตวิถีใหม่ โดย เกษตรกรรุ่นใหม่มีวิถีการทำเกษตรตลอดทั้งโซ่อุปทานบนฐานนิเวศธุรกิจเกษตรอินทรีย์ทั้งงานต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยผลที่เกิดขึ้นจากการที่คนรุ่นใหม่มาทำเกษตรอินทรีย์มีทั้งผลในเชิงรูปธรรมและนามธรรม โดยผลลัพธ์ในเชิงรูปธรรม คือ 1) มิติทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การลดรายจ่าย และการมีรายได้ทั้งรายได้หลักและรายได้เสริม 2) มิติทางด้านสุขภาพ ได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม ส่วนผลในเชิงนามธรรม ได้แก่ 1) เกิดความเปลี่ยนแปลงและขยายความหมายของคำว่าเกษตรกร 2) มีการส่งเสริมภาพลักษณ์เกษตรกร 3) ได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน 4) สร้างการตระหนักรู้ถึงการมีชีวิตที่ดีด้วย “อาหาร” ให้กับผู้บริโภค </p> รัตนวดี เศรษฐจิตร วิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 192 201 10.55003/kmaj.2024.08.16.007 การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของการใช้ประโยชน์ทางตรงของต้นสาคูในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/255319 <p> งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ประโยชน์ และประเมินมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจของต้นสาคู โดยการสำรวจป่าสาคูในจังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 9,942.502 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์จากชาวบ้านที่มีการใช้ประโยชน์จากสาคู จำนวน 272 ครัวเรือน การศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนต่าง ๆ ของต้นสาคูที่ชาวบ้านในพื้นที่เก็บหามาใช้ประโยชน์ทั้งการอุปโภค บริโภค รวมถึงจำหน่าย และส่วนที่ 2 ปริมาณที่ชาวบ้านเก็บหา คิดเป็นมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจ โดยใช้ราคาท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านมีการนำสาคูไปใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน กล่าวคือใบสาคู ทางสาคู และเปลือกลำต้นที่ส่วนใหญ่นำมาแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และลำต้นนำมาแปรรูปเป็นอาหารของทั้งคนและสัตว์ ในรูปของส่วนต่าง ๆ 4 ส่วน ได้แก่ ใบ ก้านใบ เปลือกลำต้น และลำต้น ส่วนของสาคูที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ ใบ มูลค่าการซื้อขายในพื้นที่ทั้งหมดเท่ากับ 24,201,272 บาทต่อปี ต้นทุนรวมทั้งหมดเท่ากับ 2,968,647 บาทต่อปี ดังนั้น มูลค่าสุทธิเท่ากับ 21,232,625 บาทต่อปี คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย เท่ากับ 78,061.15 บาทต่อคนต่อปี การศึกษานี้สะท้อนให้เห็นมูลค่าของต้นสาคู ที่ชาวบ้านในพื้นที่ควรตระหนักรู้ถึงคุณค่าและส่งเสริมให้เข้าใจถึงการใช้ประโยชน์จากสาคูอย่างยั่งยืน</p> วัฒนณรงค์ มากพันธ์ มลิมาศ จริยพงศ์ นฤมล ขุนวีช่วย มานะ ขุนวีช่วย Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 202 211 10.55003/kmaj.2024.08.16.008 ผลของชนิดวัสดุปลูกและระดับความเข้มข้นสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกระวาน (Amomum testaceum Ridl.) ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/256919 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของวัสดุปลูกและระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกระวานในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน วางแผนการทดลองแบบ 2x3 Factorial in Completely Randomized Design จำนวน 5 ซ้ำ ซึ่งมี ปัจจัยที่ 1 คือ ชนิดวัสดุปลูก ได้แก่ ขุยมะพร้าว และกาบมะพร้าวสับ และปัจจัยที่ 2 คือ ระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหาร ได้แก่ EC 1.00, 2.00 และ 3.00 mS/cm เริ่มดำเนินการทดลองในเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 จากการทดลองพบว่า ชนิดของวัสดุปลูกและระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตสูงที่สุด คือกระวานที่ปลูกโดยใช้กาบมะพร้าวสับให้น้ำหนักต้นสูงที่สุด เท่ากับ 256.00 กรัม/ต้น ระดับค่า EC 3.00 mS/cm ให้จำนวนต้นสูงที่สุด เท่ากับ 21.30 ต้น/กระถาง และอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัย พบว่า กระวานที่ปลูกโดยใช้กาบมะพร้าวสับที่ระดับ EC 3.00 mS/cm ให้จำนวนต้นสูงที่สุด เท่ากับ 23.60 ต้น/กระถาง ดังนั้นการปลูกกระวานเพื่อผลิตหน่อขาย ควรปลูกโดยใช้กาบมะพร้าวสับที่ระดับ EC 3.00 mS/cm ซึ่งให้ผลการเจริญเติบโตและผลผลิตของกระวานดีที่สุด </p> นภาพร จิตต์ศรัทธา พิกุล นุชนวลรัตน์ วัชรวิทย์ รัศมี Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 212 220 10.55003/kmaj.2024.08.16.009 ผลของสารไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดกรีนคอส https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/253490 <p> ศึกษาผลของสารไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (COS) ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดกรีนคอส วางแผนการทดลองแบบ 3×2 Factorial in Completely Randomized Design (CRD) โดยศึกษา 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 สาร COS ความเข้มเข้น 1, 2 และ 4 มิลลิลิตรต่อลิตร และ ปัจจัยที่ 2 ระยะเวลาการให้สาร COS ทุก 7 และ 14 วันหลังปลูก ร่วมกับตำรับควบคุม (ไม่ให้สารไคโตโอลิโกแซคคาไรด์) จำนวน 4 ซ้ำ ผลการทดลอง พบว่าการให้สาร COS อัตรา 4 มิลลิลิตรต่อลิตร พ่นทุก 14 วัน ส่งผลให้น้ำหนักสดของผักสลัดกรีนคอสสูงที่สุด 134.78 กรัม แตกต่างกับการให้สาร COS อัตรา 4 มิลลิลิตรต่อลิตร พ่นทุก 7 วัน การให้สาร COS อัตรา 2 มิลลิลิตรต่อลิตร พ่นทุก 7 และ 14 วัน และการให้สาร COS 1 มิลลิลิตรต่อลิตรพ่นทุก 7 และ 14 วัน ตามลำดับ ขณะที่การไม่ให้สาร COS ให้น้ำหนักสดน้อยที่สุด 91.87 กรัม</p> ธีรยุทธ คล้ำชื่น วิยดา กึ่งกลาง ขวัญชัย ทองอร่าม นิยม บัวบาน พันทิพา ลิ้มสงวน วัชรพงษ์ พิทักษ์ภากร Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 221 226 10.55003/kmaj.2024.08.16.010 ผลของ BA ต่อการชักนำให้เกิดแคลลัส การเจริญพัฒนาเป็นต้นและรากจากแคลลัสของ หม้อข้าวหม้อแกงลิงในสภาพปลอดเชื้อ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/255047 <p> หม้อข้าวหม้อแกงลิง (<em>Nepenthes</em> <em>ampullaria </em>Jack.) เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Nepenthaceae ปัจจุบัน กำลังอยู่ในสภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากป่าธรรมชาติลดลง อากาศแปรปรวน และมลพิษ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ BA (benzyl adenine) ต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสของข้าวหม้อแกงลิงในสภาพปลอดเชื้อ แบ่งเป็น 3 การทดลอง ดังนี้ (1) การชักนำให้เกิดแคลลัส โดยการเพาะเลี้ยงยอดด้วยอาหารสูตร MS (Murashige &amp; Skoog, 1962) ที่เติม BA ความเข้มข้น 0 1 2 และ 4 มก./ล. วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) มี 4 สิ่งทดลองๆ ละ 10 ซ้ำ เพาะเลี้ยงนาน 70 วัน พบว่า อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 4 มก./ล. สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ดีที่สุด (70%) (2) การชักนำให้แคลลัสพัฒนาเป็นยอด โดยเพาะเลี้ยงแคลลัสด้วยอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0 2 และ 4 มก./ล. วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 3 สิ่งทดลองๆ ละ 10 ซ้ำ เพาะเลี้ยงนาน 45 วัน พบว่า แคลลัสมีการพัฒนาเป็นยอดใหม่ได้มากที่สุด (19.7±0.3 ยอด) เมื่อเพาะเลี้ยงด้วยอาหารสูตร MS ที่ไม่เติม BA และ (3) การชักนำให้เกิดราก โดยเพาะเลี้ยงยอดขนาด 1-2 เซนติเมตรด้วยอาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0 1 3 และ 5 มก./ล. ร่วมกับ IBA ความเข้มข้น 0 และ 3 มก./ล. วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 8 สิ่งทดลองๆ ละ 10 ซ้ำ เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 40 วัน พบว่า อาหารสูตร MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 1 มก./ล. ร่วมกับ IBA ความเข้มข้น 3 มก./ล. มีความเหมาะสมต่อการชักนำให้เกิดราก ทำให้มีจำนวนรากมากที่สุด เฉลี่ย 7.4±1.6 รากต่อยอด </p> จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 227 234 10.55003/kmaj.2024.08.16.011 ผลของความเข้มข้นและความถี่ของรำข้าวเปลือกหมักต่อการเพิ่มจำนวนของโคพีพอดธรรมชาติ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/256863 <p> การผลิตโคพีพอดธรรมชาติ โดยการให้รำข้าวเปลือกหมักเป็นอาหาร ที่ความเข้มข้นต่างกัน 3 ระดับ 50, 100, 150 ppm และความถี่ของการให้อาหารต่างกัน 2 ระดับ คือ ให้ครั้งเดียวและให้สองครั้ง (ในวันที่ 4) ต่อการเพิ่มจำนวนและองค์ประกอบของโคพีพอดในธรรมชาติ โดยวางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล (Factorial design) ในถังพลาสติกขนาด 10 ลิตร 18 ใบ เป็นเวลา 30 วัน ผลการทดลองพบว่าโคพีพอดมีการตอบสนอง (เพิ่มและลดจำนวน<strong>) </strong>ไปในทิศทางเดียวกัน ปัจจัยทั้งสองมีอิทธิพลร่วมกันต่อการเพิ่มจำนวนของโคพีพอด (<em>p&lt;0.05</em>) โดยความหนาแน่นโคพีพอดพบสูงสุดในการทดลองที่ให้อาหารเพียงครั้งเดียวตลอดการทดลองที่ความเข้มข้น 150 ppm (ค่าเฉลี่ย±SE<strong>)</strong> 6.4±1.4 ตัว<strong>/ </strong>มล. ขณะที่การให้อาหารเพิ่มขึ้นเป็นสองครั้ง (วันที่ 4) ที่ความเข้มข้นของรำข้าวเปลือกหมักต่ำไม่มีผลต่อความหนาแน่นของโคพีพอด <em>(</em><em>p&gt;</em>0.05<em>)</em> มีค่าเฉลี่ย <strong>(</strong>±SE) สูงสุด 2.7±0.4, 2.4±0.3, 2.1±0.5 ตัว<strong>/ </strong>มล.ตามลำดับ สำหรับกลุ่มชนิดของโคพีพอดที่พบมากที่สุดคือ คาลานอยด์ ไซโคลพอยด์ ฮาร์แพคทิคอยด์<strong> </strong><strong>(</strong>ร้อยละ 64.9, 23.3, 11.8<strong>) </strong>และสัดส่วนร้อยละของระยะการเติบโตที่พบมากสุดคือ นอเพลียส ตัวเต็มวัย โคพีโพดิด และตัวเต็มวัยที่มีถุงไข่ <strong>(</strong>38.9±2.0, 37.0±1.7, 23.6±1.4, 0.5±0.2.<strong>) </strong>ตามลำดับ ผลการทดลองสรุปได้ว่าการให้รำข้าวเปลือกหมัก ที่ความเข้มข้นสูง 150 ppm เพียงครั้งเดียว เพียงพอสำหรับการเพิ่มจำนวนโคพีพอดธรรมชาติจำนวนมากได้</p> ดวงทิพย์ อู่เงิน วรเทพ มุธุวรรณ ศิรประภา ฟ้ากระจ่าง วิรชา เจริญดี วิไลวรรณ พวงสันเฑียะ พัชริดา รัตนวัฒนาพงษ์ อมรรัตน์ กนกรุ่ง รติมา ครุวรรณเจริญ สรณฐ โชตินิพัทธ์ ชนม์ ภู่สวรรณ จักรพงษ์ ศรีพนมยม Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 235 243 10.55003/kmaj.2024.08.16.012 การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมของโฟลิโอสไลเคนชนิด Parmotrema tinctorum (Despr. ex Nyl.) Hale https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/256622 <p> ไลเคนคือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันระหว่างราและสาหร่าย ไลเคนสร้างสารทุติยภูมิที่มีความเฉพาะเจาะจงและแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น ทำให้ไลเคนมีความน่าสนใจเกี่ยวกับสารสำคัญที่สะสมในทัลลัสไลเคน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมของโฟลิโอสไลเคนชนิด <em>Parmotrema tinctorum </em>จากสารสกัดหยาบด้วยการหมักกับเมทานอล อะซิโตน และเอทิลอะซิเตทที่อุณหภูมิห้อง ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และ Ferric reducing antioxidant power (FRAP) และวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดด้วยวิธี Folin-Ciocaltue phenol จากผลการทดลองพบว่าปริมาณสารสกัดหยาบด้วยตัวทำละลายเมทานอลมีร้อยละของผลผลิตมากที่สุดเท่ากับ 34.74 รองลงมาคือ อะซิโตน และเอทิลอะซิเตท ตามลำดับ ส่วนปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมสูงที่สุดคือ สารสกัดเอทิลอซิเตท เท่ากับ 83.15±12.52 mg GAE/g DW รองลงมาคือ อะซิโตน และเมทานอลเท่ากับ 754.55±14.90 และ 443.94±11.36 mg GAE/g DW ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดด้วยเมทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด มีค่า IC<sub>50</sub> = 4.61±0.04 mg/mL รองลงมาคือ สารสกัดด้วยเอทิลอะซิเตท และอะซิโตน ส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP พบว่าสารสกัดด้วยเมทานอลมีค่า F value เท่ากับ 2096.27±9.24 mg Fe/g extract รองลงมาคือ สารสกัดด้วยอะซิโตน และเอทิลอะซิเตท ตามลำดับ</p> อัมรินทร์ ธงจันทร์ อารีรัตน์ ใสส่อง นุจรี ชำนาญทัพ กฤษฎา จำปาทาสี ขวัญเรือน นาคสุวรรณ์กุล Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 244 252 10.55003/kmaj.2024.08.16.013 มูลค่าทางเศรษฐกิจของเนื้อไม้ ในพื้นที่พระตำหนักเมืองนคร อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/255055 <p> งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายของชนิดพรรณไม้และประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของเนื้อไม้ ในพื้นที่พระตำหนักเมืองนคร โดยใช้การวางแปลงตัวอย่าง 20 X 50 เมตร จำนวน 5 แปลง สำหรับสำรวจชนิดพรรณไม้และจำนวนต้นของพรรณไม้ ประเมินมูลค่าเนื้อไม้ ต้นทุนการทำไม้ รวมถึงมูลค่าสุทธิ ผลการศึกษาพบว่า พระตำหนักเมืองนครมีพื้นที่ทั้งหมด 52 ไร่ มีจำนวนต้นไม้ทั้งหมด 3,777ต้น ใน 16 ชนิด 12 วงศ์ สำรวจพบจำปาทอง มากที่สุด รองลงมา คือ ประ มังคุด เนียง ก่อ ลองกอง สะตอ ทุเรียน มะไฟ กระท้อน มะฮอกกานี เงาะ ลังสาด ยางนา เทียม และมะไฟกา ตามลำดับ คิดเป็นปริมาตรไม้ทั้งหมด 3,399.28 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจของไม้ทั้งป่าเท่ากับ 22,211,384.51 บาท โดยมีต้นทุนในการทำไม้เท่ากับ 2,726,322.93 บาท และมีมูลค่าสุทธิเท่ากับ 19,485,061.59 บาท</p> บวรพจน์ เทพรัตน์ วัฒนณรงค์ มากพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 253 264 10.55003/kmaj.2024.08.16.014 กลวิธีการสร้างธนาคารต้นไม้เพื่อสิ่งแวดล้อมชุมชนและเศรษฐกิจครัวเรือนในประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/261250 <p> บทความนี้มุ่งเสนอกลวิธีการสร้างธนาคารต้นไม้ กิจกรรมในแปลงธนาคารต้นไม้เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชุมให้ยั่งยืนและยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือนตามโมเดลเศรษฐกิจใหม่ พื้นที่วิจัยเป็นชุมชนที่จัดการธนาคารต้นไม้ประสบผลสำเร็จและได้รับยกย่องให้เป็นต้นแบบ ใน 3 ภาค รวม 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ จังหวัดเพชรบุรี ธนาคารต้นไม้วนเกษตรเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว และ ธนาคารต้นไม้บ้านคลองเรือ จังหวัดชุมพร เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม และวางแปลงสำรวจต้นไม้ในภาคสนาม กลุ่มตัวอย่าง เป็นคณะกรรมการ สมาชิกธนาคารต้นไม้และตัวแทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทั้ง 3 แห่งๆ ละ 11 คน รวมเป็น 33 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ค่าความมากหลายพันธุ์ไม้ ด้วยสูตร Menhinick (1964) ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการสร้างธนาคารต้นไม้ได้ใช้การจัดตั้งกลุ่มสมาชิกเป็นครัวเรือนที่มีที่ดินของตนเองโดยปลูกต้นไม้ในแปลงแบบวนเกษตร มุ่งให้ได้เนื้อไม้เป็นสินทรัพย์และใช้ต้นไม้เป็นหลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันเงินกู้จากสถาบันการเงินที่รัฐรับรอง ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมใช้การเพาะกล้าไม้ ปลูกไม้ยืนต้นอย่างน้อย 25 ต้นต่อไร่ เลือกปลูกพันธุ์ไม้ได้ตามที่ ธ.ก.ส. กำหนดไว้ 58 ชนิด (Rasarin, 2020) บำรุงดินด้วยปุ๋ยหมักที่ทำจากเศษใบไม้และกิ่งไม้ ผลการวิเคราะห์ความมากหลาย (R<sub>2</sub>) ของชนิดพันธุ์ไม้ในแปลงมีค่าอยู่ในระดับมาก (R<sub>2</sub> =2.5-4.5) ด้านการยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือน ได้จัดกิจกรรมโดยนำผลผลิตจากต้นไม้ใช้ทำฟืนและ เผาถ่าน ทำน้ำส้มควันไม้ แปรรูปเนื้อไม้เพื่อใช้สร้างบ้านและสิ่งของเครื่องใช้ เผยแพร่ความรู้ธนาคารต้นไม้โดยจัดเป็นศูนย์เรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาเพื่อใช้ธนาคารต้นไม้ในการพัฒนาสู่ความยั่งยืน</p> ทศพร สอนบุตร สุวารีย์ ศรีปูณะ ผมหอม เชิดโกทา ประภาพร ชุลีลัง บุญวณิช บุญวณิชนานันท์ ธันว์ยากร คำวงศ์ ประเสริฐ เหล่าบุศณ์อนันต์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-16 2024-08-16 42 2 265 275 10.55003/kmaj.2024.08.16.015