วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal <p align="center"> </p> <p><img src="https://li01.tci-thaijo.org/public/site/images/agritechadmin/1_Page_1.jpg" width="249" height="348" /></p> <h3>วารสารเกษตรพระจอมเกล้า</h3> <p style="text-align: justify;"> วารสารเกษตรพระจอมเกล้า (King Mongkut’s Agricultural Journal) เผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ทางด้านเกษตรศาสตร์ เช่น พืชศาสตร์ ปฐพีศาสตร์ สัตวศาสตร์ วิทยาศาสตร์การประมง อารักขาพืช เทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร(เนื้อสัตว์ ตั้งแต่วารสารปีที่ 43 ฉบับที่ 3) เศรษฐศาสตร์เกษตรและธุรกิจเกษตร การทำฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร นิเทศศาสตร์เกษตร และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร</p> <p style="text-align: justify;"> ผู้เขียนสามารถส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความที่เผยแพร่ในวารสารได้ทางเว็ปไซต์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย</p> <p style="color: blue;"> </p> <p style="font-size: 18px;"><strong>เกณฑ์การตรวจพบความซ้ำซ้อน</strong></p> <p style="text-align: justify;"> บทความที่ตรวจพบความซ้ำซ้อนด้วยโปรแกรม Turnitin ต้องมีผลการประเมินดังนี้ จึงจะได้รับการพิจารณาในขั้นตอนถัดไป<br />- บทความมีความซ้ำซ้อนไม่เกิน 30%<br />- บทความมีความซ้อนซ้อนเกิน 30% แต่ไม่เกิน 35% ผลรายงานความซ้ำซ้อนแต่ละรายการต้องไม่เกิน 5%</p> th-TH <p>วารสารเกษตรพระจอมเกล้า</p> ajournal@kmitl.ac.th (รองศาสตราจารย์ ดร.ผุสดี ตังวัชรินทร์) ajournal@kmitl.ac.th (Admin) Mon, 24 Mar 2025 11:04:53 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การตรึงและปลดปล่อยโพแทสเซียมในดินปลูกยางพาราในภาคใต้ของประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/259949 <p> โพแทสเซียม (K) เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและสร้างน้ำยางของยางพารา การตรึงและปลดปล่อยโพแทสเซียมในดินเป็นกระบวนการสำคัญในดินที่ควบคุมความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียมในดิน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในการตรึงและการปลดปล่อยโพแทสเซียมในกลุ่มดินเนื้อหยาบ เนื้อปานกลาง และเนื้อละเอียดที่ใช้ปลูกยางพาราในภาคใต้ของประเทศไทย ผลการทดลอง พบว่า ดินที่ใช้ศึกษามีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์และโพแทสเซียมที่ถูกตรึงระดับต่ำ ดินมีศักยภาพในการตรึงโพแทสเซียมสูงเมื่อเติมโพแทสเซียมในดินที่ความเข้มข้นต่ำ ๆ (10-50 mg K kg<sup>-1</sup>) ร้อยละการตรึงโพแทสเซียมในกลุ่มดินเนื้อละเอียดมีค่าสูงกว่ากลุ่มดินเนื้อปานกลาง และกลุ่มดินเนื้อหยาบ ตามลำดับ นอกจากนั้น เมื่อประเมินค่าสัมประสิทธิ์การต้านทานโพแทสเซียม (BC<sub>K</sub>) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสามารถของดินในการตรึงโพแทสเซียมในดิน พบว่า กลุ่มดินเนื้อละเอียดมีความสามารถในการตรึงและปลดปล่อยโพแทสเซียมได้สูงกว่ากลุ่มดินเนื้อปานกลาง และกลุ่มดินเนื้อหยาบ ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณโพแทสเซียมที่ถูกปลดปล่อยออกมามีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อดินมีการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมปริมาณสูงขึ้น ดังนั้น แนวทางการจัดการความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียมในดินปลูกยางพาราในภาคใต้ควรมีการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มระดับโพแทสเซียมและความสามารถในการดูดซับโพแทสเซียมในดิน โดยเฉพาะในกลุ่มดินเนื้อหยาบที่มีความสามารถในการต้านทานโพแทสเซียมต่ำกว่ากลุ่มดินเนื้อละเอียด</p> อารีรัตน์ ชูเมฆา, จำเป็น อ่อนทอง, ขวัญตา ขาวมี, จักรกฤษณ์ พูนภักดี Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/259949 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณลักษณะทางกายภาพของดาร์กช็อกโกแลตเพื่อการใช้ผลโกโก้อย่างยั่งยืน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/258174 <p> โกโก้และช็อกโกแลตเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก การศึกษาสมบัติทางกายภาพบางประการของผลิตภัณฑ์ดาร์กช็อกโกแลตที่ความเข้มข้นของน้ำตาลแตกต่างกันสามระดับ ได้แก่ ชนิดร้อยละ 60 ร้อยละ 80 และร้อยละ 100 พบว่าชุดการทดลองดาร์กช็อกโกแลตชนิดร้อยละ 80 ได้รับคะแนนความพึงพอใจสูงสุดที่ระดับ 8 ชอบมากที่สุดในด้านกลิ่นรส รสชาติและความชอบรวมจากผู้บริโภค นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์นี้มีค่าสีที่สม่ำเสมอและมีค่า a<sub>w</sub> อยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษา การวิเคราะห์สารประกอบที่ระเหยได้ (volatile compounds) โดย Headspace-Solid Phase Microextraction (HS-SPME) Gas Chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS) ปรากฏสารที่โดดเด่น คือสารประกอบในกลุ่ม Butanal, 3-methyl- (C<sub>5</sub>H<sub>10</sub>O), Pentanoic acid (C<sub>5</sub>H<sub>10</sub>O<sub>2</sub>), Acetic acid, 2-phenylethyl ester (C<sub>10</sub>H<sub>12</sub>O<sub>2</sub>) และ Benzeneethanol (C<sub>8</sub>H<sub>10</sub>O) ตามลำดับ ข้อมูลโภชนาการสำหรับผลิตภัณฑ์ดาร์กช็อกโกแลตชนิดร้อยละ 80 ให้คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ (30 กรัม) เมื่อรับประทานตามปริมาณที่กำหนดจะได้รับพลังงาน 180 กิโลแคลอรี น้ำตาล 8 กรัม ไขมัน 10 กรัม โดยค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน ที่ได้รับคิดเป็น ร้อยละ 8 ร้อยละ 12 และร้อยละ 15 ของปริมาณสูงสุดที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน ผลลัพธ์ที่ได้ชี้ให้เห็นว่าดาร์กช็อกโกแลตชนิดร้อยละ 80 เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการลดการบริโภคน้ำตาลแต่ยังคงได้รับรสชาติที่เป็นที่นิยม งานวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางสำคัญสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตเพื่อสุขภาพในอนาคต</p> <p> </p> พัชณิยา เอกเพชร, ณัฐธิดา ศรีราชยา, ศราวุธ ทองเนื้อห้า Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/258174 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการหมักคีเฟอร์เพื่อผลิตคีเฟอรัน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/258519 <p> คีเฟอร์เป็นนมหมักพื้นเมืองที่มีต้นกำเนิดจากชาวคอเคซัส (Caucasian) มีคุณสมบัติที่มีประโยชน์ มีรสเปรี้ยว และมีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ด้วย ซึ่งเกิดจากการหมักโดยแบคทีเรียและยีสต์ที่ฝังตัวอยู่ในก้อนเชื้อที่เรียกว่าคีเฟอร์เกรน โดยการหมักคีเฟอร์จะทำให้เชื้อแบคทีเรียแลคติกในก้อนเชื้อผลิตสารเมือกเหนียวที่เรียกว่าคีเฟอรัน จากการศึกษาการผลิตคีเฟอรันโดยการหมักคีเฟอร์เกรนสองแบบ คือ คีเฟอร์เกรนน้ำที่เลี้ยงด้วยน้ำมะพร้าวและคีเฟอร์เกรนนมที่เลี้ยงด้วยนมสด พบว่าคีเฟอร์เกรนนมมีความสามารถในการผลิตคีเฟอรันและกรดแลคติกได้มากกว่าคีเฟอร์เกรนน้ำมะพร้าว ในขณะที่คีเฟอร์น้ำมะพร้าวให้การผลิตเอทานอลสูงกว่า และพบว่าการหมักที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ทำให้คีเฟอร์เกรนน้ำมะพร้าวผลิตคีเฟอรัน กรดแลคติก และเอทานอลสูงกว่าการหมักที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ในขณะที่คีเฟอร์เกรนนมให้การผลิตคีเฟอรันและกรดแลคติกใกล้เคียงกันทั้งที่อุณหภูมิ 30 และ 37 องศาเซลเซียส แต่ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ให้การผลิตเอทานอลสูงกว่าที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และพบว่าปริมาณหัวเชื้อคีเฟอร์เกรนนมเริ่มต้นที่ร้อยละ 1 โดยน้ำหนักคีเฟอร์เกรนเปียกต่อปริมาตรนม และการหมักแบบไม่เขย่า ให้การผลิตคีเฟอรันได้สูงสุดเท่ากับ 73.63 มิลลิกรัมต่อปริมาตรนม 120 มิลลิลิตร ซึ่งสภาวะที่เหมาะสมที่ได้จากการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการผลิตคีเฟอรันโดยการหมักคีเฟอร์ได้</p> เบญจมาส เชียรศิลป์, จรียา สทานสัตย์, รัตนพรรณ ภูมิไชยา Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/258519 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไวน์เมล่อนและการหมักแบบกะซ้ำ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/258520 <p> งานวิจัยนี้สนใจนำเมล่อนมาทำการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้เป็นผลิตภัณฑ์ไวน์โดยใช้เทคโนโลยีการหมัก โดยศึกษาผลของการใช้เมล่อนสองสายพันธุ์ คือ สายพันธุ์โมโม๊ะ (เนื้อสีส้ม) และสายพันธุ์คิโมจิ (เนื้อสีเขียว) ผลของสัดส่วนของน้ำเมล่อนสกัดต่อน้ำที่ 1:0, 1:1 และ 1:2 และผลของระยะเวลาในการหมักที่ 2, 3, 5 และ 7 วัน จากการทดลองพบว่าน้ำเมล่อนเนื้อสีเขียวสามารถหมักได้เร็วกว่าน้ำเมล่อนเนื้อสีส้ม และพบว่าการเจือจางน้ำเมล่อนสกัดต่อน้ำที่สัดส่วน 1:2 และหมักด้วยเชื้อยีสต์ <em>Saccharomyces cerevisiae</em> ทางการค้า เป็นเวลา 2 วัน ให้ผลผลิตไวน์ที่ได้รับคะแนนความชอบเฉลี่ยที่ 7 คะแนน จากคะแนนเต็ม 9 คะแนน ซึ่งแสดงถึงการได้รับการยอมรับโดยผู้ทดสอบชิม และพบว่าสามารถหมักไวน์เมล่อนแบบกะซ้ำโดยใช้เชื้อยีสต์จากการหมักเดิมเป็นหัวเชื้อสำหรับการหมักในรอบถัดไปได้ถึง 4 รอบ โดยที่ยังให้ประสิทธิภาพในการหมักสูง ซึ่งวิธีนี้สามารถลดต้นทุนการเตรียมหัวเชื้อและยังสามารถลดระยะเวลาการหมักได้อีกด้วย และจากการศึกษาการปรับปรุงรสชาติโดยการผสมไวน์เมล่อนสีเขียวกับน้ำเมล่อนสกัดเข้มข้นในอัตราส่วน 2:1 ทำให้ไวน์มีรสชาติหวาน กลิ่นรสหอม และได้คะแนนการยอมรับเพิ่มขึ้นเป็น 7.3 คะแนน</p> เบญจมาส เชียรศิลป์, อภิสรา เอียดเจริญ, รัตนพรรณ ภูมิไชยา Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/258520 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 ผลของระดับความเค็มและการฉีดพ่นพูเทรสซีนต่อผลผลิตและปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/258178 <p> ความเค็มของดินนับเป็นปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญมากในการจำกัดผลผลิตและปริมาณสารสำคัญของพืชหลายชนิด สารพูเทรสซีนเป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยหมู่อะมิโน 2 หมู่ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการลดความเครียดของพืชหลายชนิด งานวิจัยจึงศึกษาถึงผลของการฉีดพ่นสารพูเทรสซีนในฟ้าทะลายโจรที่ได้รับความเครียดจากความเค็มระดับต่างๆ ออกแบบการทดลองเป็นแบบสุ่มสมบูรณ์โดยจัดการทดลองแบบแฟคทอเรียล (Factorial in CRD) จำนวน 5 ซ้ำ 2 ปัจจัย ในดินชุดกำแพงแสน กำหนดปัจจัย A เป็นระดับความเค็ม ได้แก่ 0, 5 และ 10 เดซิซีเมนส์/เมตร และปัจจัย B คือความเข้มข้นของสารพูเทรสซีนที่ใช้ฉีดพ่นทางใบ ได้แก่ 0, 150 และ 300 พีพีเอ็ม ทำการเก็บเกี่ยวหลังปลูกฟ้าทะลายโจรได้ 120 วัน และบันทึกน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของส่วนเหนือดิน ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H<sub>2</sub>O<sub>2</sub>) และสารแอนโดรกราโฟไลด์ ผลการทดลองพบว่าระดับความเค็มส่งผลให้ฟ้าทะลายโจรมีน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งลดลงแต่ปริมาณ H<sub>2</sub>O<sub>2</sub> เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อได้รับการฉีดพ่นพูเทรสซีนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและ H<sub>2</sub>O<sub>2</sub> ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับฟ้าทะลายโจรที่ไม่ได้รับการฉีดพ่นสารพูเทรสซีน นอกจากนี้ยังพบว่าความเค็มทำให้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์สะสมมากในฟ้าทะลายโจร เมื่อฉีดพ่นสารพูเทรสซีนที่ระดับความเข้มข้น 150 พีพีเอ็ม ทำให้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ต่อหน่วยน้ำหนักและปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ทั้งต้นสะสมสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 80.7 และ 307.1 มิลลิกรัม/กรัม ตามลำดับ</p> ปุญญิศา ตระกูลยิ่งเจริญ, กนกกร สินมา Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/258178 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 ผลของระดับโปรตีนในอาหารผสมครบส่วนต่อการกินได้ การย่อยได้ และสมรรถภาพการเจริญเติบโตในลูกแพะนมเมื่อได้รับกระถินหมักเป็นแหล่งอาหารหยาบ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/254959 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับโปรตีนในอาหารผสมครบส่วนต่อการกินได้ การย่อยได้ และสมรรถภาพการเจริญเติบโตในลูกแพะนมเมื่อได้รับกระถินหมักเป็นแหล่งอาหารหยาบ ใช้แพะนมลูกผสมซาแนน จำนวน 8 ตัว แบ่งเป็น เพศเมีย 4 ตัว และเพศผู้ 4 แพะถูกขังในคอกขังเดี่ยว แพะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มการทดลอง คือ กลุ่มที่1 (T1) ระดับโปรตีนรวมต่ำ 8% และ และกลุ่มที่2 (T2) ระดับโปรตีนรวมสูง 10% โดยให้อาหารในรูปแบบอาหารผสมครบส่วน โดยมีกระถินหมักเป็นแหล่งอาหารหยาบหลัก โดยมีสัดส่วนระหว่าง อาหารหยาบ (60) ต่ออาหารข้น (40) ผลการทดลองพบว่าระดับโปรตีนรวมในสูตรอาหารมีผลต่อปริมาณการกินได้ อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และอัตราการแลกเนื้อในแพะไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P&gt;0.05) เมื่อแพะได้รับอาหารผสมครบส่วนที่มีระดับโปรตีนรวมสูงและต่ำ มีค่าการกินได้เท่ากับ 706 และ 678 กรัมวัตถุแห้งต่อวัน ตามลำดับ อัตราการเจริญเติบโตต่อวันมีค่าเท่ากับ 100.80 และ 112.90 กรัมต่อวัน ตามลำดับ และอัตราการแลกเนื้อมีค่าเท่ากับ 6.96 และ 6.57 ตามลำดับ จากผลการทดลอง สรุปได้ว่าระดับโปรตีนในอาหารผสมครบส่วน ไม่มีผลต่อปริมาณการกินได้ อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันและอัตราการแลกเนื้อ และค่าการย่อยได้โภชนะของแพะ เมื่อได้รับกระถินหมักเป็นแหล่งอาหารหยาบ</p> จิระวัลย์ โคตรศักดี, เฉลิมพล เยื้องกลาง, ไกรสิทธิ วสุเพ็ญ, ศศิพันธ์ วงศ์สุทธาวาส, เบญจมาศ คนแข็ง Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/254959 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 ผลของอายุการเก็บเกี่ยวต่อปริมาณสารคอร์ไดเซปินและอะดีโนซีนของถั่งเช่าสีทอง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/256225 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบอายุการเก็บเกี่ยวถั่งเช่าสีทองและเปรียบเทียบสูตรอาหารที่มีผลต่อปริมาณสารคอร์ไดเซปินและอะดีโนซีน แบ่งชุดการทดลองตามสูตรอาหาร 3 สูตร ได้แก่ ข้าวสังข์หยดผสมน้ำเปล่า (สูตรที่ 1) ข้าวสังข์หยดผสมน้ำต้มมันฝรั่ง (สูตรที่ 2) และข้าวสังข์หยดผสมดักแด้ปั่น (สูตรที่ 3) ร่วมกับระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่ 60, 70, 80 และ 90 วัน วางแผนการทดลองสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) จำนวน 4 ซ้ำๆ ละ 10 ขวด ผลการศึกษา พบว่าผลผลิต ปริมาณสารสารคอร์ไดเซปินและสารอะดีโนซีนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) โดยอาหารสูตร 3 อายุการเก็บเกี่ยว 80 วัน ให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเฉลี่ยสูงสุด 66.97±1.80 และ 7.68±0.58 กรัมต่อขวด ตามลำดับ อีกทั้งยังให้ผลผลิตร้อยละเฉลี่ยสูงสุด 14.40±0.82 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณสารคอร์ไดเซปินและสารอะดีโนซีนในถั่งเช่า สีทองด้วยเทคนิค High Performance Liquid Chromatography (HPLC) พบว่าอาหารสูตร 3 ที่อายุการเก็บเกี่ยว 80 วัน มีปริมาณสารคอร์ไดเซปินเฉลี่ยสูงสุด 1,506.80±18.12 มิลลิกรัม /100 กรัม ในขณะที่สูตร 2 ที่อายุการเก็บเกี่ยว 60 วัน มีปริมาณสารอะดีโนซีนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 118.70±0.82 มิลลิกรัม /100 กรัม การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเก็บเกี่ยวถั่งเช่าสีทองคือ ที่อายุ 80 วัน ส่วนสูตรอาหารที่ให้สารคอร์ไดเซปินสูงที่สุดคือ สูตรข้าวสังข์หยดผสมกับดักแด้ปั่น และสูตรอาหารที่ให้สารอะดีโนซีนที่สูงคือ สูตรข้าวสังข์หยดผสมกับน้ำต้มมันฝรั่ง</p> ณัฐพัชร์ ศรีหะนัลต, ธนภักษ์ อินยอด, ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์, ธนภัทร เติมอารมณ์, ชาตรี กอนี Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/256225 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 อัจฉริยภาพทางดิจิทัลในการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในเขตภาคกลาง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/260951 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อัจฉริยภาพทางดิจิทัลในการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และ 2) เปรียบเทียบอัจฉริยภาพทางดิจิทัลทั้ง 8 ด้าน จำแนกตามลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล และลักษณะการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลบางประการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในเขตภาคกลางจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 231 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.851 ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน พ.ศ. 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-test, F-test และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัย พบว่า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีอัจฉริยภาพทางดิจิทัลในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 2.41) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกันจะมีอัจฉริยภาพทางดิจิทัลที่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุและการรู้จักช่องทางสื่อดิจิทัลที่ใช้งานแตกต่างกันมีอัจฉริยภาพทางดิจิทัลที่แตกต่างกันที่ระดับ 0.01 ปัญหาอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร คือ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่มีอายุมากมีปัญหาเรื่องการติดตามใช้เทคโนโลยี ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรควรตระหนักถึงภัยจากโลกดิจิทัลด้วยการใฝ่หาความรู้ด้านรักษาความเป็นส่วนตัว ด้านการจัดสรรเวลาหน้าจอ และด้านการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งร่องรอยไว้บนโลกออนไลน์</p> วัชรภรณ์ ประทุมโพธิ์, พิชัย ทองดีเลิศ, พัชราวดี ศรีบุญเรือง Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/260951 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการออกดอกของมะม่วงพันธุ์แดงจักรพรรดิในจังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/259574 <p> การศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการออกดอกของมะม่วงพันธุ์แดงจักรพรรดิในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อชักนำการออกดอกนอกฤดูของมะม่วงพันธุ์แดงจักรพรรดิ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) โดยกำหนดให้ 18 ต้น เป็น 1 บล็อก รวมทั้งหมด 3 บล็อก โดยทำการเปรียบเทียบ 9 กรรมวิธี ผลการทดลอง พบว่า การราดทางดินด้วยพาโคลบิวทราโซลอัตรา 1 กรัม ของสารออกฤทธิ์ต่อตารางเมตรของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม การพ่นสารเมพิควอทคลอไรด์ และคลอร์มีควอทคลอไรด์ ส่งผลให้ต้นมะม่วงมีการออกดอกได้เร็วกว่าชุดควบคุม โดยสามารถออกดอกได้ในระหว่าง 71 - 76 วันหลังใช้สาร ซึ่งการราดทางดินด้วยพาโคลบิวทราโซลอัตรา 1 กรัม ของสารออกฤทธิ์ต่อตารางเมตรของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม มีการออกดอกสูงถึง 88.83 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณะช่อดอกล้วนสูงถึง 87.39 เปอร์เซ็นต์ และมีจำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ย 1,526.66 ดอก ดังนั้นการใช้สารพาโคลบิวทราโซลจึงมีความเหมาะสมต่อการชักนำการออกดอกของมะม่วงพันธุ์แดงจักรพรรดิในจังเชียงใหม่ เนื่องจากมีผลทำให้มีเปอร์เซ็นต์การออกดอก จำนวนช่อดอกล้วน และจำนวนดอกต่อช่อสูงกว่ากรรมวิธีอื่นๆ ดังนั้นการศึกษานี้จึงสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการมะม่วงพันธุ์แดงจักรพรรดิเพื่อให้มีการออกดอกนอกฤดูกาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงพันธุ์แดงจักรพรรดิในจังหวัดเชียงใหม่</p> ราเชนทร์ ใคร่ครวญ, อำพล สอนสระเกษ, นพพร บุญปลอด Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/259574 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 เปรียบเทียบการขุนโคพันธุ์กำแพงแสนกับโคลูกผสมวากิวเพศผู้ตอนที่ได้รับอาหารข้นอย่างเต็มที่ ต่อสมรรถภาพการขุน ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ และผลตอบแทนจากการขุนโค https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/260759 <p> สายพันธุ์โคเนื้อและการให้อาหารข้นที่เหมาะสมมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จในการผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการขุนโคพันธุ์กำแพงแสนและโคลูกผสมวากิว (F1 และ F2) เพศผู้ตอนที่ได้รับอาหารข้นอย่างเต็มที่ต่อสมรรถภาพการขุน ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ และผลตอบแทนจากการเลี้ยงโคขุน โดยใช้โคพันธุ์กำแพงแสน และโคลูกผสมวากิว (F1 และ F2) กลุ่มละ 8 ตัว (น้ำหนักเฉลี่ย 406.04 กก. และอายุเฉลี่ย 18 เดือน) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โคได้รับอาหารข้นสูตรทางการค้าและหญ้าเนเปียร์หมักอย่างเต็มที่ และเสริมฟางข้าว 1 กก./ตัว/วัน ทำการเลี้ยงโคขุนเป็นเวลา 368 วัน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม โดยใช้น้ำหนักเริ่มต้นเป็นตัวแปรร่วม เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลอง ด้วยวิธี Tukey's Honesty Significant Difference (HSD) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนจากการเลี้ยงโคขุนระหว่างสองสายพันธุ์ ผลการศึกษาพบว่าโคพันธุ์กำแพงแสน และโคลูกผสมวากิว (F2 และ F1) มีสมรรถภาพการขุน ลักษณะซาก และคุณภาพเนื้อไม่มีความแตกต่างกัน (P&gt;0.05) แต่โคลูกผสมวากิว F1 มีเปอร์เซ็นต์ซากต่ำกว่าโคลูกผสมวากิว F2 ในขณะที่โคลูกผสมวากิว F1 มีแนวโน้มที่จะมีการสะสมไขมันแทรกในมัดกล้ามเนื้อสันนอกสูงกว่า (P=0.09) โคลูกผสมวากิว F2 หรือโคพันธุ์กำแพงแสน อย่างไรก็ตามในการทดลองนี้การเลี้ยงโคขุนโดยให้อาหารข้นอย่างเต็มที่ยังไม่มีความเป็นไปได้ในการลงทุน</p> อัญชลี คงประดิษฐ์, คมกฤช เอกฉัตร, ปรมาพิชญ์ เจริญศรี, พีระยุทธ อินกล่ำ, ภูมพงศ์ บุญแสน, ภานุวัฒน์ กาลจักร, สุริยะ สะวานนท์ Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/260759 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 ผลของการปลูกเชื้อเห็ดตับเต่า (Phlebopus portentosus) ต่อการเติบโตของกล้าพะยูง (Dalbergia cochinchinensis) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/257575 <p> การศึกษาผลของการปลูกเชื้อเห็ดตับเต่า (Phlebopus portentosus) ซึ่งเป็นเห็ดไมคอร์ไรซาที่นิยมรับประทานต่อการเติบโตของกล้าพะยูง (Dalbergia cochinchinensis) ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีมูลค่าสูง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) มี 7 ชุดการทดลอง ได้แก่ ชุดควบคุม (ไม่ปลูกเชื้อ) ชุดทดลองที่ปลูกเชื้อเห็ดปริมาตร 10, 20 และ 30 มิลลิลิตร จำนวน 1 และ 2 ครั้ง โดยปลูกเชื้อห่างกัน 15 วัน ทดสอบกับกล้าพะยูงอายุ 4 เดือน บันทึกผลการ เติบโตจนอายุครบ 180 วัน พบว่าการปลูกเชื้อที่ปริมาตร 20 มิลลิลิตร จำนวน 2 ครั้ง ให้ผลดีที่สุด เมื่อวัดปริมาณคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี และคลอโรฟิลล์รวม มีค่าเฉลี่ย 3.23±0.03, 1.40±0.12 และ 4.63±0.09 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ปริมาณ คลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์รวม แตกต่างกับชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt; 0.05) เมื่อวัดความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางที่ ระดับคอราก ทรงพุ่ม และมวลชีวภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 62.94±13.07 เซนติเมตร 8.22±1.13 มิลลิเมตร 41.69±5.78 เซนติเมตร และ 23.47±8.13 กรัม ตามลำดับ แตกต่างกับชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณคลอโรฟิลล์เอกับการเติบโตของกล้าพะยูง พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ มีความสัมพันธ์กับ ความสูงของกล้าไม้มากที่สุด (R² = 0.7512) รองลงไปคือ มวลชีวภาพ เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอราก และขนาดความกว้างของทรงพุ่ม ตามลำดับ เมื่อทำการ ตรวจสอบลักษณะเส้นใยเห็ดที่อยู่กับรากฝอยของกล้าพะยูงด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ที่กำลังขยาย 100 ไมโครเมตร พบว่ารากฝอยกล้าพะยูงที่ปลูกเชื้อมีเส้นใยเห็ดตับเต่าเกาะผิวรากโดยรอบ ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทาง ส่งเสริมการปลูกป่า โดยใช้เชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา (เห็ดตับเต่า) ร่วมกับไม้เศรษฐกิจ เพื่อช่วยเพิ่มการเติบโตของพืช</p> อัญชิสา วสุสุนทร, แหลมไทย อาษานอก, กมลพร ปานง่อม, วรรณา มังกิตะ Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/257575 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 ผลของวิธีการปลูกและอัตราปลูกต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/261108 <p> วิธีการปลูกและอัตราปลูกที่เหมาะสมอาจแตกต่างกันตามพันธุ์และนิเวศของพื้นที่ปลูกข้าว จึงได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาผลของวิธีการปลูก 5 วิธีร่วมกับอัตราปลูก 4 อัตราต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 จัดสิ่งทดลองแบบ 5×4 แฟคทอเรียลในแผนการทดลองสุ่มภายในบล็อค 3 ซ้ำ สิ่งทดลองประกอบด้วย 1) การหว่านเมล็ดข้าวงอกอัตรา 5, 10, 15 และ 20 กก./ไร่ 2) การโรยเมล็ดข้าวงอกเป็นแถวระยะแถว 30 ซม. อัตรา 5.0, 7.5, 10.0 และ 12.5 กก./ไร่ 3) การหยอดเมล็ดข้าวงอก 8-10 เมล็ด/จุดระยะ 36x30, 30x30, 24x30 และ 18x30 ซม. 4) การย้ายต้นกล้ารากเปลือยอายุ 20-21 วันปักดำ 3 ต้น/หลุมระยะ 36x30, 30x30, 24x30 และ 18x30 ซม. 5) การย้ายต้นกล้ามีดินติดรากอายุ 14-15 วันปักดำ 3 ต้น/หลุมระยะ 36x30, 30x30, 24x30 และ 18x30 ซม. สุ่มบันทึกองค์ประกอบผลผลิต 50-60 รวง/หน่วยทดลอง และเก็บผลผลิต 7.2-7.5 ตร.ม./หน่วยทดลอง ผลการทดลองพบว่า จำนวนรวง/ตร.ม. จำนวนข้าวเต็มเมล็ด/รวง เปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและผลผลิตจากการปลูกต่างกัน 5 วิธี และอัตราปลูกต่างกัน 4 อัตราไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยวิธีการปลูก 5 วิธี ให้ผลผลิตเฉลี่ยไม่แตกต่างกันระหว่าง 904.37-1,075.45 กก./ไร่ และอัตราปลูก 4 อัตรา ให้ผลผลิตเฉลี่ยไม่แตกต่างกันระหว่าง 939.42-1,027.23 กก./ไร่ แสดงว่าสามารถเลือกปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 วิธีใดวิธีหนึ่งใน 5 วิธีที่ศึกษานี้โดยผลผลิตที่คาดว่าจะได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ไม่จำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์อัตราสูงหรือปักดำถี่เพราะข้าวพันธุ์นี้แตกกอดี</p> ดวงยี่หวา จิระวงศ์สันติสุข, กมลรัตน์ วินิจสกุลไทย, ธิดากุล อุดคำเที่ยง, ณีรนุช ชลพาทินันท์, อำนาจ บุตรทองคำวงษ์, ธงชัย พุฒทองศิริ, ปัทมา นิตไธสง, ธีรวัฒน์ ศรุตโยภาส Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/261108 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 การคัดเลือกสารสกัดสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลานิล (Oreochromis niloticus) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/260959 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลานิล 2 ชนิด ได้แก่ เชื้อ <em>Streptococcus agalactiae</em> และ <em>Aeromonas hydrophila</em> โดยวิธี disc diffusion และวิธี broth dilution โดยใช้สารสกัดสมุนไพร 29 ชนิด (32 ตัวอย่างสมุนไพร) ได้แก่ กระชาย กระเทียม กะเพรา ข่า ขิง ขมิ้นขาว ขมิ้นชัน ขึ้นฉ่าย ชะพลู ชะอม ตะค้านเหล็ก ตะไคร้ ต้นหอม บัวบก ผักชี (ใบ, เมล็ด) ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว ผักแพว พริกไทย ฟ้าทะลายโจร มะกรูด มะแขว่น มะระขี้นก มะรุม (ใบ, ฝัก) ยี่หร่า สะระแหน่ สะเดา (ดอก, ใบ) หอมแดง และหอมหัวใหญ่ โดยสกัดสารสกัดสมุนไพรด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ (อัตราส่วนสมุนไพรต่อตัวทำละลายเท่ากับ 1:6 (w/v)) พบว่า สารสกัดจากข่ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ <em>S. agalactiae</em> และ <em>A. hydrophila</em> สูงที่สุด มีค่าโซนการยับยั้งที่ 2.80±0.17 และ 2.36±0.05 เซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (MIC) ในการศึกษาครั้งนี้ไม่สามารถอ่านผลได้เนื่องจากสมุนไพรมีสีที่เข้ม ทำให้มองไม่เห็นความขุ่นจากการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) ต่อเชื้อ <em>S. agalactiae</em> พบว่า ขมิ้นชันมีค่า MBC ดีที่สุด เท่ากับ 9.8 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนเชื้อ <em>A. hydrophila</em> พบว่า กระชายขาว มีค่า MBC ดีที่สุด เท่ากับ 156.2 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จากผลการศึกษานี้จะเห็นได้ว่าสารสกัดจากขมิ้นชัน กระชายขาว และขมิ้นขาว มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลานิลได้เป็นอย่างดี</p> กรทิพย์ กันนิการ์, อลิศรา นพนรินทร์, นลินี ลีเกสร, อาภาพร แสงจินะ, อามินตรา นามภักดิ์, กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, เกรียงไกร สีตะพันธุ์, ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์, เปรมดา ทิพย์เดโช Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/260959 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 การพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับ Bacillus subtilis ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์และการเจริญเติบโตของต้นกล้า ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 69 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/260307 <p> การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเกษตรกรยังพบปัญหาการเข้าทำลายของโรคและแมลงในทุกระยะ จึงได้นำเอาเทคโนโลยี การพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับจุลินทรีย์ มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาดังกล่าวงานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง คุณภาพและการเจริญเติบโตต้นกล้าของเมล็ดพันธุ์ข้าวหลังการพอกร่วมกับ <em>Bacillus subtilis</em> ด้วยอัตราที่แตกต่างกัน ดำเนินการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แบ่งออกเป็น 5 กรรมวิธี คือ เมล็ดไม่พอก (T<sub>1</sub>), เมล็ดพอกโดยไม่เติม <em>Bacillus subtilis</em> (T<sub>2</sub>), เมล็ดพอกร่วมกับ <em>Bacillus subtilis</em> อัตรา 1, 2 และ 3 มิลลิลิตร (T<sub>3</sub>-T<sub>5</sub>) ตามลำดับ หลังการพอกนำมาตรวจสอบ คุณภาพเมล็ดพันธุ์ และการเจริญเติบโตของต้นกล้า จากการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์พบว่า การพอกเมล็ดข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 69 ร่วมกับ <em>Bacillus subtilis</em> อัตรา 1, 2 และ 3 มิลลิลิตร มีเปอร์เซ็นต์ความงอกไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับเมล็ดที่ไม่ได้พอก แต่มีแนวโน้ม ทำให้เมล็ดพันธุ์งอก เพิ่มขึ้นทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง และเมื่อตรวจสอบ การเจริญเติบโตของต้นกล้าพบว่า การพอกเมล็ดพันธุ์ ข้าวทั้ง 2 พันธุ์ มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้า คือทำให้ต้นกล้าข้าว มีความยาวต้นมีแนวโน้มลดลงในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และการพอกเมล็ดร่วมกับ <em>Bacillus subtilis</em> ที่อัตรา 1 และ 3 มิลลิลิตร ในข้าวทั้ง 2 พันธุ์ มีผลทำให้ความยาวรากเพิ่มขึ้น จากเมล็ดไม่พอก 5-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบว่า ต้นกล้าข้าวที่เกิดจากเมล็ดที่พอกร่วมกับ <em>Bacillus subtilis</em> อัตรา 1, 2 และ 3 มิลลิลิตร มีอัตราการ เจริญเติบโตดีกว่าเมล็ดที่ไม่ได้พอก และเมล็ดพอกโดยไม่เติม <em>Bacillus subtilis</em> ทั้งในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 69</p> ธิดารัตน์ แก้วคำ Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/260307 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 การศึกษากระบวนการผลิตนมข้าวเม่าอัดเม็ดที่เหมาะสมกับชุมชน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/259699 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตนมข้าวเม่าอัดเม็ดที่เหมาะสมสำหรับวิสาหกิจชุมชน ทำการศึกษาวิธีทำแห้งข้าวเม่าสดและศึกษาสูตรการผลิตนมข้าวเม่าอัดเม็ด โดยทำแห้งข้าวเม่าสด 3 แบบคือผึ่งลม อบแห้งในตู้อบลมร้อน และคั่ว แล้วบดเป็นแป้งก่อนอัดเม็ด พบว่าค่าสีของข้าวเม่าแห้งทุกตัวอย่างไม่แตกต่างจากข้าวเม่าสด ปริมาณน้ำอิสระของข้าวเม่าแห้งทุกตัวอย่างน้อยกว่าข้าวเม่าสด (P&lt;0.05) ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์และรา ของข้าวเม่าทุกตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของข้าวเม่า คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเม่าหลังอบแห้งพบว่าพลังงานจากไขมัน ไขมันทั้งหมด โปรตีน วิตามินบี2 เหล็ก เถ้า และความชื้น มีปริมาณลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวเม่าสด แต่พลังงานทั้งหมดคาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร น้ำตาล โซเดียม วิตามินบี1 และแคลเซียม มีปริมาณสูงกว่าข้าวเม่าสด เมื่อบดข้าวเม่าอบแห้งเป็นแป้งพบว่ามีค่าความสว่างและค่าสีเขียวมากขึ้น แต่ค่าสีเหลืองและ ความเข้มสีลดลง เมื่อผลิตนมข้าวเม่าอัดเม็ด 3 สูตรคือหวานน้อย ปานกลาง และมาก แล้วทดสอบคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสพบว่าสูตรหวานปานกลางได้คะแนนด้านรสชาติมากที่สุดแต่ไม่แตกต่างจากสูตรหวานมาก ส่วนคะแนนด้านสี กลิ่น เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมของทุกสูตรไม่แตกต่างกัน และเมื่อผลิตนมข้าวเม่าผสมสารสกัดจากใบข้าวอัดเม็ด 3 สูตรคือสีเขียวอ่อน เขียวปานกลาง และเขียวเข้ม แล้วทดสอบคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสพบว่าสูตรสีเขียวอ่อนได้คะแนนด้านความชอบโดยรวมมากที่สุด (P&lt;0.05) ส่วนคะแนนด้านสี กลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัสของทุกสูตรไม่แตกต่างกัน (P&gt;0.5)</p> พรประภา ชุนถนอม, รวีพร ศรีสำราญ, กรรณิการ์ สมบุญ, วิวัฒน์ ศรีวิชา, เดือนรุ่ง สุวรรณโสภา Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระจอมเกล้า https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/259699 Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700