https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2024-12-23T15:45:13+07:00 นางสาวนราวดี เฉพาะตน apheitoffice@gmail.com Open Journal Systems https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/264674 ระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะสำหรับเครื่องปรับอากาศด้วยอินเทอร์เน็ต ของสรรพสิ่งเพื่อการประหยัดพลังงานในสถาบันการศึกษา 2024-09-13T10:07:27+07:00 เอกรัตน์ สุขสุคนธ์ ekk_ele@hotmail.com วรเชษฐ์ สิงห์ลอ aekkarat.s@rmutsb.ac.th เกรียงศักดิ์ มะละกา aekkarat.s@rmutsb.ac.th อนุสรา สุขสุคนธ์ aekkarat.s@rmutsb.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะสำหรับเครื่องปรับอากาศในสถาบันการศึกษา โดยนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมาประยุกต์ให้มีความเหมาะสมในการใช้งานด้านการจัดการพลังงานและลดค่าใช้จ่ายภายในสถาบันการศึกษา และเพื่อช่วยติดตามและควบคุมการใช้งานของเครื่องปรับอากาศแบบอัตโนมัติ ด้วยการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวและเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ผู้ใช้งานสามารถติดตามสถานะการทำงานและสามารถควบคุมการเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนได้ทันที ผลการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงว่า ระบบสามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีนัยสำคัญ และผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานมีผลประเมินในระดับที่มีความพึงพอใจสูง ( X = 4.68, S.D. = 0.47) ทำให้ระบบนี้เป็นแนวทางสำคัญในการจัดการทรัพยากรพลังงานในสถาบันการศึกษา และสามารถขยายผลนำไปใช้ในสถาบันการศึกษาอื่น ๆ</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/264341 การลดความเสียหายของกำไลในกระบวนการผลิตด้วยหลักการ ECRS 2024-12-03T11:55:45+07:00 ศุภลักษณ์ สุวรรณ supaluck@northcm.ac.th ดาริกา เรือนคำ supaluck@northcm.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดความเสียหายของกำไลที่เกิดจากขั้นตอนของกระบวนการเป่าแห้งในการผลิตหลังจากการชุบกันหมองของกำไล โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์และแก้ปัญหาตามหลักการ ECRS ผลการศึกษาพบว่า ก่อนปรับปรุงเกิดของเสียประเภทรอยกระทบ (Dent) ร้อยละ 6.67 ใช้เวลาผลิต 5.45 ชั่วโมง การซ่อมงาน (Rework) อยู่ที่ 1.76 ชั่วโมง รวม 7.21 ชั่วโมง ต่อรุ่นการผลิต ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางแก้ปัญหา 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 กำหนดทิศทางลมขึ้น-ลงของการเป่าแห้ง หลังการทดลองพบของเสียประเภทรอยกระทบร้อยละ 1.83 ลดลงร้อยละ 4.84 ใช้เวลาผลิต 6.35 ชั่วโมง การซ่อมงาน 0.77 ชั่วโมง รวม 7.12 ชั่วโมง ลดลง 0.09 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 1.25 วิธีที่ 2 กำหนดการเป่าแห้งกำไลทีละชิ้น หลังการทดลองไม่พบของเสียในกระบวนการผลิต ลดลงร้อยละ 6.67 ใช้เวลาผลิต 6.70 ชั่วโมง ลดลง 0.51 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 7.07</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/265517 การประเมินศักยภาพอ่างเก็บกักน้ำ กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง อำเภอปทุมราช จังหวัดอำนาจเจริญ 2024-12-03T01:49:34+07:00 สงวน วงษ์ชวลิตกุล sanguan1234.sv@gmail.com เฉลิมชัย พาวัฒนา chapaw@kku.ac.th ตั้งเฮง ยนต์สถิตย์กุล sirirpav@gmail.com <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อ ประเมินความน่าเชื่อถือศักยภาพการบริหารแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อใช้เป็นข้อมูลป้องกันน้ำท่วม อ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง อำเภอปทุมราช จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นอ่างเก็บน้ำที่นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาการประเมินการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยการใช้ค่าความน่าจะวิบัติและดัชนีความน่าเชื่อถือของทฤษฎีความน่าเชื่อถือทางโครงสร้าง (Structural Reliability) เป็นตัวชี้วัด ใน 3 กรณี คือ กรณีที่ 1 เมื่อการไหลของน้ำเข้าอ่างลดลง กรณีที่ 2 เมื่อศักยภาพการเก็บกักน้ำลดลง และกรณีที่ 3 เมื่อสภาพการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคลดลง การจำลองสถานการณ์ใช้วิธี MonteCaro Simulation ผลการศึกษาพบว่า กรณีที่ 1 เมื่อการไหลของน้ำเข้าอ่างเก็บกักลดลง 0%, 5%, 10% และ 15% ความน่าจะวิบัติของการบริหารจัดการน้ำท่วมพื้นที่ลดลง และดัชนีความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องจะมีค่าเพิ่มขึ้น กรณีที่ 2 เมื่อศักยภาพของอ่างเก็บกักน้ำลดลง 0%, 5%, 10% และ 15% ความน่าจะวิบัติของการบริหารจัดการน้ำท่วมพื้นที่เพิ่มขึ้น และดัชนีความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องจะมีค่าลดลง กรณีที่ 3 เมื่อการไหลของน้ำออกจากอ่างน้อยลง 0%, 5%, 10% และ 15% ความน่าจะวิบัติของการบริหารจัดการน้ำท่วมพื้นที่ลดลง และดัชนีความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องจะมีค่าเพิ่มขึ้น เหมือนกับกรณีที่ 1 ดังนั้น กรณีที่ 2 เป็นกรณีที่ผู้เกี่ยวข้องการบริหารจัดการน้ำ ควรพิจารณาให้มีการจัดทำแผนบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วม</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/264580 ปัญหา อุปสรรค และความต้องการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ 2024-09-03T11:13:42+07:00 บังอร ขัตติ jo090382@gmail.com อุเทน สุทิน jo090382@gmail.com พานิชย์ ยามชื่น panity@g.swu.ac.th เพิ่มสุข ศรีภิญโญ permsuk@scphc.ac.th กฤศภณ เทพอินทร์ kritsapon@unc.ac.th ภัฐ ไทยตรง jo090382@gmail.com <p>วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และความต้องการต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม คัดลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 39 คน และกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 31 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การศึกษาพบว่า ผู้มีอายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 53.30 มีสุขภาพอยู่ในระดับดี จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 49.44 มีปัญหาสุขภาพเช่น การสูญเสียความจำ การเคลื่อนไหวร่างกาย ความเครียด มีภาวะที่ต้องมีผู้ดูแลด้านอาหาร การออกกำลังกาย ส่วนอุปสรรคของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมาจากความเคยชิน วัฒนธรรม ครอบครัว ความเครียดจากภาวะเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม ต้องการระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่สนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีความต่อเนื่อง ความต้องการสนับสนุนในการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงการเตรียมอาหาร กลุ่มผู้สนับสนุนจากท้องถิ่น และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พบปัญหาเชิงนโยบายและอุปสรรคในการจัดทำโครงการ ควรมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูงอายุ ในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควรมีการสนับสนุนบุคคลในครอบครัวร่วมกับชุมชน/ชมรม และระบบสุขภาพปฐมภูมิควรมีกิจกรรมที่เหมาะสม มีความต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/263613 การศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและประสิทธิภาพในการตรวจสถานที่เกิดเหตุของพนักงานสอบสวน สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล 2024-12-04T10:12:21+07:00 วณิชชา อ่อนชำนิ dunkindoughnut25@gmail.com วรธัช วิชชุวาณิชย์ woratouch_w@yahoo.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและระดับประสิทธิภาพในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ของพนักงานสอบสวนหน่วยงานรับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล กลุ่มตัวอย่างพนักงาน จำนวน 318 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) คือ เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน สังกัดกองพิสูจน์หลักฐานกลางจำนวน 8 คน เพื่อศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการตรวจสถานที่เกิดเหตุของพนักงานสอบสวนสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านจำนวนครั้งในการฝึกอบรมการตรวจสถานที่เกิดเหตุ มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับระดับความรู้ความเข้าใจในหลักการการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และปัจจัยด้านอายุและจำนวนครั้งในการฝึกอบรมการตรวจสถานที่เกิดเหตุ มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับระดับประสิทธิภาพในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย