วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science th-TH วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2286-9514 การปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงบนด้านเหนียวของเทปกาวต่างชนิดกันโดยการประยุกต์ใช้สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตที่มีความเข้มข้น 10%w/v https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/261328 <p>เทปกาวเป็นหนึ่งในวัตถุสำคัญที่ผู้ร้ายใช้ในการก่อเหตุอาชญากรรม อาจเนื่องมาจากเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ง่าย และมีความอเนกประสงค์สำหรับการใช้งานในหลากหลายด้าน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงบนด้านเหนียวของเทปกาวต่างชนิดกันโดยการประยุกต์ใช้สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตที่ความเข้มข้น 10%w/v และให้คะแนนจากวิธีการนับจุดลักษณะสำคัญพิเศษ (Minutiae) ของรอยลายนิ้วมือแฝง บนด้านเหนียวของเทปกาวจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินและเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต ในการตรวจหาลายนิ้วมือแฝงบนด้านเหนียวของเทปกาว ทั้งทางปฏิบัติและทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกัน จากผลการวิจัยพบว่า สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการใช้ตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงบนด้านเหนียวของเทปกาว เพราะรอยลายนิ้วมือแฝงมีความคมขัด สามารถใช้ตรวจพิสูจน์เพื่อยืนยันตัวบุคคลได้ อีกทั้งยังมีราคาถูก หาซื้อง่าย และมีความปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม</p> กัลญาณี เกียรติดำเนินงาม วรธัช วิชชุวาณิชย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2024-06-27 2024-06-27 13 1 1 13 การตรวจหาสารเคมีที่ติดมากับรอยลายนิ้วมือแฝง โดยเทคนิคไมโครสโคป ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/261562 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อนบนรอยลายนิ้วมือแฝงโดยใช้เทคนิค Microscope-Fourier transform infrared spectroscopy (Microscope-FTIR) ซึ่งตัวอย่างที่นำมาศึกษาในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) คาเฟอีน (Caffeine) และ อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) ในการทดลองผู้วิจัยประทับรอยลายนิ้วมือภายหลังจากการสัมผัสกับสารตัวอย่าง ลงบนกระจกสไลด์ จากนั้นทำการปัดด้วยผงฝุ่นดำ และทำการเก็บตัวอย่างโดยใช้เทปกาวใสลอกลายนิ้วมือแฝงก่อนจะนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิคไมโครสโคป ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟรา เรดสเปกโตรสโคปีและมีการศึกษาการคงอยู่ของสารเคมีบนรอยลายนิ้วมือแฝง ผลการวิจัยพบว่าเทคนิค ดังกล่าวสามารถใช้วิเคราะห์สารตัวอย่างบนรอยลายนิ้วมือแฝงได้ และถึงแม้จะผ่านการสัมผัสและทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง ยังสามารถตรวจพบสารเคมีตัวอย่างในรอยลายนิ้วมือแฝง จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคนิคไมโครสโคป ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี ในการวิเคราะห์สารตก ค้างปริมาณน้อยที่ติดอยู่บนรอยลายนิ้วมือแฝง ซึ่งเป็นประโยชน์ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์</p> อรทัย เขียวพุ่ม ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง ปิยาภา จันทร์มล ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2024-06-27 2024-06-27 13 1 14 24 การพัฒนาวิธีการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ยาจากอาหารในกระเพาะ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/261878 <p>การวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์ยาจากอาหารในกระเพาะเพื่อกำจัดไขมันออกจากตัวอย่าง โดยศึกษาชนิดของตัวทำละลายการสกัดยา ได้แก่ อะซีโตไนไตรล์ เมทานอล และ ตัวทำละลายผสมอะซีโตไนไตรล์ต่อไอโซโพพานอล ปริมาตร 1, 1.5 และ 2 มิลลิลิตร และศึกษาชนิดตัวทำละลายสกัดร่วมที่ใช้กำจัดไขมัน ได้แก่ เฮกเซน ปิโตรเลียมอีเทอร์ และตัวทำละลายผสมเฮกเซนต่อปิโตรเลียมอีเทอร์ ที่ปริมาตร 1, 2 และ 3 มิลลิลิตร ผลการศึกษาการสกัดยาด้วยตัวทำละลาย อะซีโตไนไตรล์ ที่ปริมาตร 2 มิลลิลิตร ร่วมกับตัวทำละลายสกัดร่วม ได้แก่ เฮกเซนต่อปิโตรเลียมอีเทอร์ที่ปริมาตร 1 มิลลิลิตร สามารถสกัดยาที่ให้ค่าร้อยละของ Recovery สูงสุด และการทดสอบความแตกต่างของประสิทธิภาพการสกัดของทั้งสองวิธี (pair-t-test) พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และนำไปประยุกต์ใช้กับตัวอย่างอาหารในกระเพาะจากศพพบว่า วิธีที่พัฒนาขึ้นสามารสกัดยาได้ครบทั้ง 10 ชนิด และเมื่อเปรียบเทียบความสูงของพีคคอเลสเตอรอลในตัวอย่างพบว่าวิธีที่พัฒนาขึ้นมีความสูงของพีคต่ำกว่าวิธีดั้งเดิม ทำให้สามารถวิเคราะห์ผลได้ง่าย ใช้ปริมาณตัวอย่างที่น้อยลง สามารถวิเคราะห์ยาทั้งกลุ่มกรดและกลุ่มด่างได้ในครั้งเดียว ทำให้ยืดอายุการใช้งานเครื่องมือ และลดต้นทุนในการตรวจวิเคราะห์</p> ปัถยา พรหมมา ธิติ มหาเจริญ ธนสิริ ยกเชื้อ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2024-06-27 2024-06-27 13 1 25 35 การตรวจความคงอยู่ของคราบเลือดบนพื้นผิวไม้ชนิดต่างๆ ด้วยวิธีทดสอบลูมินอล https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/261993 <p>คราบเลือดเป็นหลักฐานสำคัญทางกายภาพที่มักพบในสถานที่เกิดเหตุ วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อตรวจสอบความคงอยู่ของคราบเลือดบนผิวไม้ด้วยวิธีลูมินอลในสภาวะที่แตกต่างกัน ผิวไม้ที่เลือกในการวิจัยนี้คือ ไม้ยางพารา ไม้สน และไม้สัก ในการทดลองนี้ใช้ตัวอย่างเลือด 50 ไมโครลิตร หยดลงบนผิวไม้ทั้ง 3 ประเภท โดยตัวอย่างคราบเลือดที่ใช้ในการทดลองถูกเก็บไว้ในสภาวะที่แตกต่างกัน ได้แก่ ในอาคารในที่มืด กลางแจ้งที่มีแดดส่องถึง และในอาคารที่ควบคุมอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และนำไปทดสอบด้วยวิธีลูมินอลแต่ละสัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่า คราบเลือดบนผิวไม้ทุกชนิดสามารถตรวจพบได้อย่างชัดเจนแม้ในตัวอย่างที่มีอายุ 4 สัปดาห์ก็ตาม ผลการวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของการทดสอบด้วยวิธีลูมินอลในการตรวจหาคราบเลือดบนผิวไม้ชนิดต่างๆ และอาจใช้ในการตรวจหาคราบเลือดบนผิวไม้ในตัวอย่างทางนิติวิทยาศาสตร์ได้</p> สุริยาพร บุญธรรม ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2024-06-27 2024-06-27 13 1 50 58 การศึกษาผงฝุ่นจากบอระเพ็ดเพื่อใช้ในการตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงบนวัตถุที่ไม่มีรูพรุน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/262222 <p>ในปัจจุบันมีการก่อคดีอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น การตรวจพิสูจน์โดยใช้ลายนิ้วมือแฝงเป็นอีกทางเลือกในการตรวจหาเอกลักษณ์บุคคลเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการปรากฏของรอยลายนิ้วมือแฝง และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของคุณภาพลายนิ้วมือแฝงโดยการใช้ผงฝุ่นบอระเพ็ดบนวัตถุที่ต่างกัน และนำมาทำการทดสอบตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงบนวัตถุที่ไม่มีรูพรุน 3 ชนิด ได้แก่ แผ่นซีดี กระจก และชามเซรามิก ผลการทดลอง พบว่า ผงฝุ่นจากบอระเพ็ดสามารถทำให้เกิดการปรากฏของรอยลายนิ้วมือแฝง และจากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงจากผงฝุ่นบอระเพ็ดสำเร็จรูป พบว่าสามารถทำให้ปรากฏรอยลายนิ้งมือแฝงบนพื้นผิวทั้งสามชนิดได้ชัดเจน และจากการหาค่าเฉลี่ยจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษ พบว่า บนพื้นผิวแผ่นซีดีมีจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษมากที่สุด รองลงมาเป็นบนพื้นผิวกระจก และบนพื้นผิวชามเซรามิก ตามลำดับ เมื่อได้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความแตกต่างจุดลักษณะสำคัญพิเศษที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ลายนิ้วมือแฝงที่ตรวจเก็บได้บนพื้นผิวแผ่นซีดีและกระจกไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับชามเซรามิก</p> เมทินี มานะจรรยาพงศ์ วรธัช วิชชุวาณิชย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2024-06-27 2024-06-27 13 1 59 69 การพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ซสำหรับซื้อขายกล้องถ่ายรูปออนไลน์ : กรณีศึกษา บริษัท เอส ดีไซน์ แอนด์ อาร์ทเวิร์ค https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/262737 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ซสำหรับซื้อ-ขายกล้องถ่ายภาพ การจัดการสินค้าภายในร้าน การบริหารจัดการคลังสินค้า และส่งเสริมการขาย ด้วยการเพิ่มช่องทางและอำนวยความสะดวกในการ ซื้อกล้องถ่ายภาพ เลนส์กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในร้าน ผู้วิจัยได้ใช้ภาษา PHP ร่วมกับ phpMyAdmin และ MySQL บน Laravel Framework ในการพัฒนาระบบ เพื่อรองรับการทำงานของผู้ใช้งาน 3 กลุ่ม คือ ลูกค้า พนักงานขาย และผู้ดูแลระบบ จากนั้นทำการทดสอบการใช้งาน และสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้งาน จำนวน 126 คน พบว่าความพึงพอใจด้านการตรงต่อความต้องการของผู้ใช้งาน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.42) ด้านความถูกต้องในการทำงานอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.40) ในด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.42) และในด้านการรักษาความปลอดภัยและความถูกต้องของระบบอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.45) ภาพรวมของความพึงพอใจทั้งหมดอยู่ในระบบอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.42) จึงสรุปได้ว่าระบบมีคุณภาพดี ช่วยสนับสนุนการทำงานภายในร้านได้ตามวัตถุประสงค์</p> โยษิตา เจริญศิริ เฉลิมพล แก้วเทพ ริศภพ ตรีสุวรรณ ชาญยุทธ อุปายโกศล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2024-06-27 2024-06-27 13 1 70 80 การศึกษาเปรียบเทียบชนิดของไดอะตอมในแหล่งน้ำจืดกับริมตลิ่งเพื่อสนับสนุน งานทางนิติวิทยาศาสตร์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/262930 <p>งานวิจัยนี้การวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบชนิดของไดอะตอมคลองเขารูปช้างกับชนิดของไดอะตอมบริเวณริมตลิ่งที่ระยะ 0, 1 และ 2 เมตร และที่ระยะห่างจุดละ 1 กิโลเมตร ฝั่งละ 3 จุด ทั้งสองฝั่งของคลอง โดยศึกษาจากลักษณะสัณฐานวิทยาในการจำแนกชนิดของไดอะตอม ไดอะตอมจัดเป็นแพลงก์ตอนพืช พบได้ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติ มีความหลากหลายและจำเพาะในแต่ละพื้นที่ จึงสามารถนำมาพิสูจน์ข้อเท็จ จริงในกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ ระบุสถานที่จมน้ำได้ เชื่อมโยงไดอะตอมจากผู้เสียชีวิตและผู้ต้องสงสัยได้ ไดอะตอมมีผนังเซลล์ลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าฟรัสตัล มองเห็นได้ชัดโดยใช้วิธีการทำความสะอาดไดอะตอมด้วยกรด HCL และ H2SO4 เพื่อขจัดคราบฟรัสตัลของไดอะตอม จำแนกชนิดและนับจำนวนไดอะตอมด้วย Hematocytometer พบว่าไดอะตอมที่พบในน้ำแต่ละจุด มีชนิดเด่นเป็นชนิดเดียวกันกับไดอะตอมที่พบในดินริมตลิ่งที่ระยะ 0 เมตรของแต่ละจุด โดยศึกษาจากความหนาแน่นของไดอะตอมในแต่ละจุด และจากการทดสอบความแตกต่างด้วย Pair-t-test พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการจำแนกชนิดของไดอะตอมสามารถนำมาประกอบการระบุจุดจมน้ำ การเคลื่อนย้ายศพ รวมถึงการเชื่อมโยงไดอะตอมจากผู้เสียชีวิตและไดอะตอมที่พบจากผู้ต้องสงสัยได้</p> <p> </p> พัทธมนัส ดำนุ้ย ปริญญา สีลานันท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2024-06-27 2024-06-27 13 1 81 90 การพัฒนาองค์ความรู้ของผู้ดูแลในการจัดการปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยสมองเสื่อม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/261975 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอองค์ความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและจิตใจให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น ปัญหาด้านพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการทางจิตและประสาทซึ่งอาการเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามระดับความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อม มีกระบวนการคิด สติปัญญาและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันถดถอยลง อาการรุนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพิงระยะยาว และเกิดภาวะทุพพลภาพ การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและจิตใจ ถือว่าเป็นภาระที่หนักมากสำหรับผู้ดูแล ซึ่งหมายถึงบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล ญาติ และบุคคลที่ให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยที่บ้าน ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการดูแล ผู้ดูแลเกิดความตึงเครียด รู้สึกเป็นภาระ ซึ่งย่อมส่งผลต่อคุณภาพในการดูแล หากผู้ดูแลมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับ ปัจจัย อาการและอาการแสดง และการจัดการปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยสมองเสื่อม ย่อมส่งผลให้ผู้ดูแลมีความเข้าใจผู้ป่วยสมองเสื่อมมากขึ้น ลดความรู้สึกเป็นภาระ มีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการที่จะบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น</p> อาทิตยา สุวรรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2024-06-27 2024-06-27 13 1 36 49