วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science th-TH [email protected] (นางสาวเพชรราตรี เฉพาะตน) [email protected] (นางสาวเพชรราตรี เฉพาะตน) Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การศึกษาเปรียบเทียบรูเหงื่อในลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวชนิดต่างๆ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/259421 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูเหงื่อในลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวชนิดต่างๆ ได้แก่ พื้นผิวมีรูพรุน พื้นผิวไม่มีรูพรุน และพื้นผิวกึ่งรูพรุน เพื่อพัฒนาแนวทางการตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือแฝงโดยใช้รูเหงื่อสำหรับการยืนยันเอกลักษณ์บุคคล เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยการเก็บตัวอย่างลายนิ้วมือแฝงจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ช่วงอายุ 20 - 40 ปี โดยทดสอบการปรากฏของรูเหงื่อบริเวณนิ้วมือในลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวแต่ละประเภท พื้นผิวแบบมีรูพรุนใช้วิธีทางเคมีด้วยนินไฮดริน (Ninhydrin) กรณีพื้นผิวแบบไม่มีรูพรุนและกึ่งรูพรุน ใช้ผงฝุ่นดำและผงฝุ่นแม่เหล็กตามอันดับ ผลการวิจัยพบว่าจำนวนรูเหงื่อที่ปรากฏบนพื้นผิวแต่ละชนิดของอาสาสมัครทั้ง 10 คน มีค่าเฉลี่ยจำนวนรูเหงื่อในพื้นผิวแบบมีรูพรุน เท่ากับ 31.23±26 พื้นผิวแบบไม่มีรูพรุน เท่ากับ 30.97±25.81 และพื้นผิวแบบกึ่งรูพรุน เท่ากับ 31±25.91 และจากการวิเคราะห์ด้วย One-Way ANOVA พบว่าค่าเฉลี่ยจำนวนรูเหงื่อที่ปรากฏนั้น ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้นสามารถนำจำนวนรูเหงื่อของบุคคลมาตรวจยืนยันตัวบุคคลร่วมกับจุดลักษณะสำคัญพิเศษได้ เพื่อใช้เป็นแนวทางการตรวจพิสูจน์รอยลายนิ้วมือแฝงบนวัตถุพยานที่มีจุดลักษณะสำคัญพิเศษไม่เพียงพอในการยืนยันบุคคลตามเกณฑ์การพิจารณาต่อไป</p> พิจิตรา สีสุข, ปริญญา สีลานันท์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/259421 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การตรวจสอบลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษประเภทต่าง ๆ ที่เปื้อนเครื่องดื่มด้วยวิธี Oil Red O https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260087 <p>ลายนิ้วมือแฝงถูกใช้บ่อยในการยืนยันอัตลักษณ์บุคคลและเป็นหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่พบได้บ่อยในสถานที่เกิดเหตุ การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวิธี Oil Red O ในการตรวจสอบลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษประเภทต่างๆ ที่ถูกเปื้อนด้วยเครื่องดื่ม ก่อนการให้คะแนนรอยนิ้วมือแฝงจะทำการเลือกลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษที่ถูกเปื้อนด้วยเครื่องดื่มได้แก่ น้ำโซดา เหล้าขาว น้ำมะนาว กาแฟนม และกาแฟดำ จากการศึกษาพบว่าลายนิ้วมือแฝงที่ปรากฏด้วยวิธี Oil Red O จะมีสีแดงซึ่งสามารถมองเห็นได้ภายใต้แสงธรรมชาติ อีกทั้งคุณภาพของรอยนิ้วมือแฝงที่ปรากฏบนกระดาษประเภท กระดาษ A4 สีขาว กระดาษสำเนาในตัว และกระดาษความร้อนมีคุณภาพระดับปานกลางถึงระดับดีมาก ถึงแม้จะถูกเปื้อนด้วยน้ำโซดาและเหล้าขาว ลายนิ้วมือแฝงที่พบมีความเหมาะสมที่จะนำไปตรวจยืนยันอัตลักษณ์ซึ่งจะถูกตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจลายนิ้วมือแฝง นอกจากนี้พบว่าเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ส่งผลต่อคุณภาพของรอยนิ้วมือแฝงที่พบ ผลการศึกษานี้ยังแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของวิธี Oil Red O ในการตรวจหาลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษประเภทต่างๆ ที่ถูกเปื้อนด้วยเครื่องดื่ม อีกทั้ง Oil Red O ยังเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และราคาไม่แพง</p> ณัฐชนนท์ วสุธาสวัสดิ์, พชรพร ศรีสุวรรณ, ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง, ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260087 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การตรวจสอบความคงอยู่ของคราบเลือดหลังจากผ่านความร้อนโดยวิธีทดสอบด้วย ลูมินอล https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260352 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคงอยู่ของคราบเลือดบนพื้นผิวต่างๆหลังจากผ่านความร้อนโดยวิธีทดสอบด้วยลูมินอล พื้นผิวที่ใช้ในการทดลองนี้ คือแผ่นแก้ว แผ่นสแตนเลส กระเบื้องปูพื้น และแผ่นสังกะสี การทดลองเริ่มจากทำการหยดเลือดปริมาตร 25 µl ลงบนวัสดุที่มีขนาด 5×5 cm และปล่อยให้แห้งที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 20 นาที ศึกษาผลของการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 100°C, 150°C, 200°C, 250°C, 300°C, 350°C, 400°C และ 500°C เป็นระยะเวลา 5, 15, 30 และ 60 นาที ผลการศึกษาพบว่า พื้นผิวสังกะสีเป็นพื้นผิวที่ตรวจพบคราบเลือดได้น้อยที่สุด จากการศึกษาคราบเลือดบนแผ่นแก้ว แผ่นสแตนเลส และแผ่นสังกะสีที่ถูกให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 100°C ถึง 350°C เป็นระยะเวลานานถึง 60 นาที ยังสามารถใช้ลูมินอลในการตรวจสอบได้ ในขณะที่เมื่อให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 400°C และ 500°C ไม่สามารถตรวจสอบด้วยลูมินอลได้ อย่างไรก็ตามคราบเลือดที่ถูกทดสอบบนพื้นผิวกระเบื้องปูพื้นสามารถตรวจสอบได้แม้ใช้อุณหภูมิในการให้ความร้อน 100°C จนถึง 500°C เป็นระยะเวลา 60 นาที การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการใช้ลูมินอลในการตรวจสอบคราบเลือดบนพื้นผิวต่างๆภายหลังจากผ่านความร้อนในตัวอย่างจริงด้านนิติวิทยาศาสตร์ได้</p> จิราภา สิงหะกุลพิทักษ์, อรทัย เขียวพุ่ม, ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง, ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260352 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การใช้ระบบลีนเพื่อยกระดับการบริการดูแลผู้ป่วยในแผนกออร์โธปิดิกส์ของโรงพยาบาลภาครัฐ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260207 <p>การศึกษานี้เน้นการใช้ระบบลีนเพื่อปรับปรุงการบริการดูแลผู้ป่วยในแผนกออร์โธปิดิกส์ของโรงพยาบาลภาครัฐ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) วิเคราะห์และประเมินความคิดเห็นของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในแผนกออร์โธปิดิกส์เกี่ยวกับการใช้ระบบลีนในการปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการบริการ 2) ศึกษาและวิเคราะห์ผลของการใช้ระบบลีนในการลดขั้นตอนการบริการ เพิ่มความคล่องตัวของเวิร์กโฟลว์ (work flow) และยกระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้บริการ 65 คน และผู้รับการบริการ 286 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูล ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.792 ข้อมูลถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา One-way ANOVA และ Pearson Correlation ผลการวิจัยพบว่า 1) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติในความคิดเห็นระหว่างแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทั้งในด้านการปฏิบัติการและการบริหารจัดการ และ 2) การใช้ระบบลีนประสบความสำเร็จในการลดขั้นตอนการบริการจาก 16 ขั้นตอนเป็น 10 ขั้นตอน ซึ่งทำให้เวิร์กโฟลว์โดยรวมคล่องตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การใช้ระบบลีนส่งผลอย่างมากต่อการปฏิบัติการและการบริหารจัดการภายในแผนกออร์โธปิดิกส์ และช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าในแง่มุมต่างๆ ของบริการ รวมถึงขั้นตอนการรับบริการ การสื่อสารกับลูกค้า และคุณภาพการบริการโดยรวม</p> ริศภพ ตรีสุวรรณ, กิตติอำพล สุดประเสริฐ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260207 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาความต้องการระบบตรวจจับใบหน้าบุคคลโดยใช้การสกัดคุณลักษณะของใบหน้าสำหรับการรักษาความปลอดภัยภายในองค์กร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260487 <p>การวิจัยนี้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการและนำผลการศึกษาความต้องการระบบตรวจจับใบหน้าบุคคลโดยใช้การสกัดคุณลักษณะของใบหน้าสำหรับการรักษาความปลอดภัยภายในองค์กรไปออกแบบใช้งาน ในงานวิจัยนี้ได้สอบถามความต้องการจากบุคลากรภายในองค์กรของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาครัฐวิสาหกิจ จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยการประเมินเครื่องมือการวิจัยตรวจสอบความเที่ยงตรง (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่านพบว่าเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุกข้อคำถาม จากผลการประเมินพบว่าบุคลากรมีความต้องการระบบอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.46, S.D. = 0.89) </p> เอกรัตน์ สุขสุคนธ์, เอกชัย เนาวนิช, สุวุฒิ ตุ้มทอง Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260487 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การออกแบบผังโรงงานและกระบวนการทำงานในการผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260204 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวางผังโรงงานและออกแบบกระบวนการผลิตสำหรับผลผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองให้มีความปลอดภัยตามหลักวิธีการผลิตอาหารที่ดีและสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง ผลของงานวิจัยสามารถสร้างโรงงานตามผังโรงงานที่ออกแบบไว้ได้ โดยปริมาณการผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทองสูงสุดต่อวันได้ถึง 2000 กิโลกรัม(ลำไยสด) และผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 2.87 กิโลกรัมต่อลำไยสด 30 กิโลกรัม นอกจากนั้นยังสามารถประยุกต์ใช้ผังโรงงานกับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ เช่น การอบแห้งแก้วมังกร การอบแห้งมะม่วง การอบแห้งกล้วยหอมทองเป็นต้น</p> ศุภลักษณ์ สุวรรณ, สุรชัย สานติสุขรัตน์, บุตรี กาเด็น, สามชัย จิระภัทรศิลป, ภีมพัฒน์ สมประเสริฐ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260204 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ศึกษาแนวทางการจัดการด้านการขนส่งเพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ สู่มหาวิทยาลัยสีเขียว https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260235 <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูล ในด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง (2) เพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพการจราจร และศักยภาพของระบบการขนส่งภายในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน (3) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านการขนส่งที่เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โดยการสำรวจ และเก็บข้อมูลการเดินทาง เข้า-ออก ภายในมหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. ซึ่งงานวิจัยได้มีการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านการขนส่ง โดยใช้การสำรวจพฤติกรรมการเดินทาง และใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนัก จากผลของการศึกษา พบว่า โครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัย และข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง ยังถือว่ามีปริมาณไม่มากและคล่องตัว และจากการวิเคราะห์และระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในมาหาวิทยาลัยดังนี้ มาตรการในการควบคุมความต้องการเดินทาง ได้แก่ มาตรการเชิงบังคับ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้การเดินทางรูปแบบอื่น ๆ แทนการใช้รถยนต์ และมาตรการเชิงสนับสนุน ได้แก่ มาตรการปรับปรุงทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกของทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยาน มาตรการพัฒนาทางกายภาพของเส้นทางที่เหมาะสำหรับคนทุกประเภท และความสามารถในการสร้างสภาพแวดล้อมทางเดินเท้าทางจักรยานที่ปลอดภัย เพื่อเป็นแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมาใช้แบบไร้เครื่องยนต์ในอนาคต</p> กมลรักษ์ แก้งคำ, ศักดิ์ชัย ดรดี Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/apheitoffice_science/article/view/260235 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700