การต้านยาปฏิชีวนะเชื้อ Escherichia coli ที่คัดแยกได้จากมูลโคนม-โคเนื้อ

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา เพ็งคำลุน คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • เอกกวี กังขรนอก คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • สุทธิดล ปิยะเดชสุนทร คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

การต้านยาปฏิชีวนะ, Escherichia coli, มูลโคนม-โคเนื้อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของการต้านยาปฏิชีวนะ Escherichia coli(E. coli) กับกลุ่มการเลี้ยงโคนม-โคเนื้อ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างจากมูลโคนม 4 ตัวอย่าง และมูลโคเนื้อ 3 ตัวอย่าง หาปริมาณความเข้มข้น
โคลิฟอร์มของแต่ละตัวอย่างโดยวิธีการตรวจนับจุลินทรีย์มาตรฐาน (Standard Plate Count) พบว่าปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ยโคลิฟอร์มของกลุ่มการเลี้ยงโคนม 2.75 log CFU/g และกลุ่มการเลี้ยงโคเนื้อ 3.96 log CFU/g นำโคโลนีบริสุทธิ์ของ
E. coli
ที่คัดแยกจากตัวอย่างมูลโคนม-โคเนื้อ ทดสอบการต้านยาปฏิชีวนะ 5 ชนิด (Oxytetracycline 30 µg, Penicillin G 10 units, Sulfamethoxazole 100 µg, Streptomycin 10 µg และ Enrofloxacin 5 µg) ด้วยวิธีการ Disk Diffusion
พบกลุ่มการเลี้ยงโคนมต้านยาปฏิชีวนะหลายชนิด 30% และไม่ต้านยาปฏิชีวนะหลายชนิด 70% และกลุ่มการเลี้ยงโคเนื้อพบการต้านยาปฏิชีวนะหลายชนิด 56.67% และไม่ต้านยาปฏิชีวนะหลายชนิด 43.33% จากผลการทดลองสรุปได้ว่าปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ยโคลิฟอร์มกลุ่มการเลี้ยงโคเนื้อมากกว่ากลุ่มการเลี้ยงโคนม 4.07 log CFU/g ด้วยการทดสอบสถิติ T-test (p=0.014) และเมื่อทดสอบด้วยสถิติ Chi-square พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างการต้านยาปฏิชีวนะ 5 ชนิดของ E. coli กับกลุ่มการเลี้ยงโคนม-โคเนื้อ

เผยแพร่แล้ว

28-12-2020 — Updated on 29-12-2020

Versions