การพัฒนาเครื่องอัดเม็ดยาสมุนไพรแบบเพลาลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์สำหรับชุมชนแพทย์แผนไทย อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ภาณุเมศวร์ สุขศรีศิริวัชร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ชูชาติ พยอม พยอม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ศุภชัย แก้วจันทร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

เครื่องอัดเม็ดยาสมุนไพร, เพลาลูกเบี้ยว, แพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

การพัฒนาเครื่องอัดเม็ดยาสมุนไพรแบบเพลาลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์สำหรับชุมชนแพทย์แผนไทย ตำบลกาบเชิง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องอัดเม็ดยาสมุนไพร แบบเพลาลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนแพทย์แผนไทยกาบเชิง ที่มีต่อเครื่องอัดเม็ดยาสมุนไพรแบบเพลาลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์ ผลการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องอัดเม็ดยาสมุนไพร แบบเพลาลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์ กับสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร และนวโกฎ โดยในแต่ละชนิดทำการทดสอบ 5 ครั้ง ๆ ละ 30 เม็ด ประเมินทางกายภาพ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความหนาของเม็ดยาที่ 6 มิลลิเมตร ด้านความกว้างของเม็ดยาที่ 8 มิลลิเมตร และด้านน้ำหนักของเม็ดยาที่ 0.60 กรัมต่อเม็ด สรุปผลการประเมินลักษณะทางกายภาพด้านความหนาของเม็ดยาที่ 6 มิลลิเมตร พบว่าสมุนไพรขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร และนวโกฎมีความหนาตามที่กำหนดไว้เฉลี่ย 28 29 และ 28 เม็ด ตามลำดับ ผลการประเมินลักษณะทางกายภาพด้านความกว้างที่ 8 มิลลิเมตร พบว่าสมุนไพรขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร และนวโกฎ มีความกว้างตามที่กำหนดไว้เฉลี่ย 29 29 และ 29 เม็ด ตามลำดับ และผลการประเมินลักษณะทางกายภาพด้านน้ำหนักที่ 0.60 กรัม พบว่าสมุนไพรขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร และนวโกฎ มีน้ำหนักตามที่กำหนดไว้เฉลี่ย 28 27 และ 28 เม็ด ตามลำดับ ผลการศึกษาพึงพอใจที่มีต่อเครื่องอัดเม็ดยาสมุนไพร 5 ด้าน ได้แก่ด้านองค์ประกอบของเครื่อง ด้านการใช้งานของเครื่อง ด้านผลผลิตที่ได้ ด้านความปลอดภัย และด้านคู่มือการใช้งานของเครื่อง พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46

เผยแพร่แล้ว

28-12-2020 — Updated on 29-12-2020

Versions