การแปลงเพศปลาหมอสีฟลาวเวอร์ฮอร์นโดยใช้ฮอร์โมน 17 อัลฟา-เมทธิลเทสโทสเตอร์โรน ระดับความเข้มข้นต่างกัน

ผู้แต่ง

  • ธวัฒน์ชัย งามศิริ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
  • อรุณชัย กาหลง

คำสำคัญ:

ปลาหมอครอสบรีด, 17 อัลฟา-เมทธิลเทสโทสเตอโรน, แปลงเพศ

บทคัดย่อ

การแปลงเพศปลาหมอสีฟลาวเวอร์ฮอนให้เป็นเพศผู้โดยการให้อาหารผสมฮอร์โมน 17 อัลฟา-เมทธิลเทสโทสเตอร์โรน ระดับความเข้มข้น 0, 20, 40 และ 60 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เป็นระยะเวลา 21 วัน ผลการทดลองพบว่า เปอร์เซ็นต์อัตราการแปลงเพศแต่ละการทดลอง เท่ากับ 53.62±14.32, 64.82±3.21, 73.27±0.92 และ 77.10±9.32 ตามลำดับ โดยชุดการทดลองที่ 3 และ 4 เปอร์เซ็นต์ อัตราแปลงเพศมากกว่าชุดการทดลองที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) อัตราการเจริญเติบโตในด้านน้ำหนักเฉลี่ย ชุดการทดลองที่ 1, 2, 3 และ 4 มีน้ำหนักเฉลี่ย เท่ากับ 34.93±3.84, 31.27±4.82, 31.07±6.40 และ 22.53±1.67 กรัม ตามลำดับ ผลการทดสอบทางสถิติแต่ละชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ     (p>0.05) ความยาวเฉลี่ยในแต่ละชุดการทดลอง มีค่าเท่ากับ 10.87±0.31, 10.53±0.47, 11.40±0.2 และ 9.60±0.10 เซนติเมตร ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์อัตราการรอดตายเฉลี่ยสูงสุดในชุดการทดลองที่ 4 มีค่าเท่ากับ 76.47±2.94 เปอร์เซ็นต์ และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กับทุกชุดการทดลอง

References

บัลลังก์ เนื่องแสง วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย และบุญรัตน์ ประทุมชาติ. (2547). การพัฒนาสูตรอาหารและการใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน อันเดคาโนเอต เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต เร่งสี และการแปลงเพศของปลาหางนกยูง. รายงานการวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.

วิเชียร หวัดสนิท. (2542). ปลานิล. สำนักพิมพ์เกษตรวิชาการ: กรุงเทพฯ.

วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย. (2536). การเพาะพันธุ์ปลา. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์: กรุงเทพฯ.

สมศักดิ์ ระยัน นัยนา เสนาศรี และสมพงษ์ ศรีขันแก้ว. (2558). ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลตอบแทนการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 3-6 กุมภาพันธ์ 2558. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 1326-1332.

สุภาพร สุกสีเหลือง. (2552). การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. สำนักพิมพ์ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ: กรุงเทพฯ.

อุทัยรัตน์ ณ นคร. (2538). การเพาะขยายพันธุ์ปลา. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์รั้วเขียว: กรุงเทพฯ.

อำไพพรรณ ไกรสุรสีห์ และสุชาติ ไกรสุรสีห์. (2548). การเลี้ยงปลาหมอในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน. เอกสารวิชาการ. ฉบับที่ 27. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดตรัง กรมประมง.

Johnson R., Wolf J. and Braunbeck T. (2009). OECD Guidance Document for the Diagnosis of Endocrine-Related Histopathology of Fish Gonads. France.

Phelps R.P. and Popma T.J. (2000). Sex reverse of tilapia. in B.A. Costa-Pierce and J.E. Rakocy, editors. Tilapia Aquaculture in the Americas. The World Aquaculture Society, Baton Rouge, Louisiana. USA. 2: 34-59.

Silarudee S. and Kongchum P. (2008). Masculinization of Flowerhorn by Immerstion in Androgens. Silpakorn University Science and Technology Journal. 2(2): 26-32.

Vinarukwong N., Lukkana M and Wongtavatchai J. (2018). Decreasing duration of androgenic hormone feeding supplement for production of male monosex in tilapia (Oreochromis spp.) fry. Thai Journal of Veterinary Medicine. 48(3): 375-383.

Tayamen M.M. and Shelton W. (1978). Inducement of sex reversal in Sarotherodon niloticus(Linnaeus). Aquaculture. 14(4): 349-354.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021 — Updated on 15-02-2024

Versions