ผลของการใช้ปุ๋ยหมักปอเทืองต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของเมล่อน

ผู้แต่ง

  • วิณากร ที่รัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ, งานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ประเทศไทย 13180
  • วนิดา สำราญรัมย์

คำสำคัญ:

ปุ๋ยหมักปอเทือง, ดินด่าง, การผลิต, เมล่อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตเมล่อนที่ปลูกในดินด่างผสมปุ๋ยหมักปอเทืองปริมาณต่างกัน วางแผนการทดลองแบบ Completely randomized design (CRD) จำนวน 5 กรรมวิธี ได้แก่ ดินด่างผสมปุ๋ยหมักปอเทือง 0, 15, 25, 50 และ 75 เปอร์เซ็นต์ ทำการทดลองกับเมล่อน กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 10 ต้น พบว่า การใช้ดินด่างผสมปุ๋ยหมักปอเทือง 50 และ 75 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลทำให้ จำนวนต้นกล้ารอดตาย จำนวนวันทอดยอด
50 เปอร์เซ็นต์ ความยาวเถา จำนวนวันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ จำนวนวันเก็บเกี่ยว 50 เปอร์เซ็นต์ และน้ำหนักผลดีที่สุด ส่วนความหวานของเมล่อนในการใช้ปุ๋ยหมักปอเทืองทุกระดับไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้น เพื่อเป็นการประหยัดปุ๋ยหมักปอเทือง ควรใช้ปุ๋ยหมักปอเทืองในการปรับปรุงดินด่างในปริมาณ 50 เปอร์เซ็นต์

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2558). สถานการณ์ทรัพยากรดินและที่ดินของประเทศไทย. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ

กรวิชญ์ อุบัติ, ชินดนัย ปิ่นเพชร, วิณากร ที่รัก, วนิดา วัฒนพายัพกุล และสุชาดา สานุสันต์. (2560). ผลของการใช้ปอเทืองและถั่วเขียวในการผลิตผักคะน้า. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2017. มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์. สุรินทร์. A595–A601

คริษฐ์สพล หนูพรม และภัทรพร ภักดีฉนวน. (2560). ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงร้าน 9 พันธุ์ในจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(1): 35-45

ทักษะ ชิยรินทร์, ทศพร ดียิ่ง, วิณากร ที่รัก,วนิดา วัฒนพายัพกุล, สุชาดา สานุสันต์ และปรีชา หลวงจำนง. (2560). ผลของการใช้ปอเทืองกับมูลโคในการผลิตหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2017”. มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์. สุรินทร์. A588–A594

บุญแสน เตียวนุกูลธรรม. (2548). ปฐพีวิทยา. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2563. http://elearning.nsru.ac.th/web_elearning/soil/lesson_8_4.php

วิณากร ที่รัก และวนิดา วัฒนพายัพกุล. (2562). อิทธิพลของปอเทืองร่วมกับมูลโคต่อการผลิตและคุณค่าทางโภชนะของหญ้า เนเปียร์ปากช่อง 1. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 27(5): 866-873

สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์. (2538). แร่ธาตุอาหารพืชสวน. โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท. ขอนแก่น.

อภิชาต ศรีสะอาด และสุธิพงค์ ถิ่นเขาน้อย. (2558). เมล่อน&แคนตาลูบเงินล้าน. สำนักพิมพ์นาคาอินเตอร์มีเดีย. กรุงเทพฯ

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021 — Updated on 15-02-2024

Versions