ความหลากชนิดของพืชระดับกลางและพืชระดับล่างในป่าชุมชน กับการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นของชุมชนชาวไทยเขมร จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สมชญา ศรีธรรม Department of Landscape Technology, Faculty of Agriculture and Technology, Rajamangala University of Technology Isan, Surin Campus
  • บรรณวิชญ์ ศิริโชติ
  • ยสินทร จงเทพ

คำสำคัญ:

พืชระดับกลาง, พืชระดับล่าง, พรรณไม้ท้องถิ่น, การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น, ชาวไทยเขมรสุรินทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดของพืชระดับกลางและพืชระดับล่าง และศึกษาการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นชุมชนชาวไทยเขมรจังหวัดสุรินทร์ โดยวิธีการสำรวจป่าชุมชนจำนวน 4 ป่า สัมภาษณ์ชุมชน 3 ตำบลในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ รวม 30 คน ผลการศึกษาพบพรรณไม้ 32 ชนิด 31 สกุล 18 วงศ์ แบ่งเป็นไม้พุ่ม 22 ชนิด (68.75%) ไม้รอเลื้อย 8 ชนิด (25%) และ ไม้ล้มลุก 2 ชนิด (6.25%) วงศ์ที่พบมากที่สุดคือ Annonaceae, Fabaceae, Malvaceae, Phyllanthaceae และ Rubiaceae พบวงศ์ละ 3 ชนิด (14.29%) พรรณไม้ทุกชนิดมีการนำมาใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นจำแนกได้ 8 ประเภท ดังนี้ ใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรมากที่สุด 26 ชนิด (81.25%) รองลงมาคือ อาหาร 15 ชนิด (46.88%) ไม้ประดับ 15 ชนิด (46.88%) เครื่องมือเครื่องใช้ 13 ชนิด (40.63%) เชื้อเพลิง 10 ชนิด (31.25%) พิธีกรรม 4 ชนิด (12.50%) ไม้ย้อมสี 3 ชนิด (9.38%) และอาหารและยารักษาสัตว์ 3 ชนิด (9.38%) ตามลำดับ ชนิดที่มีการใช้ประโยชน์มากที่สุดทั้ง 6 ประเภท คือ โปร่งกิ่ว (Dasymaschalon lomentaceum) รองลงมามีการใช้ประโยชน์ 5 ประเภท ได้แก่ ไผ่เพ็ก (Arundinaria pusilla) และพลองเหมือด (Memecylon edule) ใช้ประโยชน์ 4 ประเภท ได้แก่ ทองพันดุล (Decaschistia parviflora) พลองแก้มอ้น (Rhodamnia dumetorum) และมะเม่า (Antidesma ghaesembilla) และใช้ประโยชน์ได้ 3 ประเภท ได้แก่ กาหลง (Bauhinia acuminata) นมแมว (Melodorum siamense) ปอพราน (Colona auriculata) พุดน้ำ (Kailarsenia godefroyana) สีฟันคนทา (Harrisonia perforata) และเสียวใหญ่ (Phyllanthus taxodiifolius) ตามลำดับ ส่วนของพืชที่มีการใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ ราก 21 ชนิด (65.63%) รองลงมาคือ ลำต้น 16 ชนิด (50.00%) งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้และภูมิปัญญาของชุมชนที่มีคุณค่า เพื่อสืบสานการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้ในท้องถิ่นให้มีความยั่งยืนสืบไป

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). ฐานข้อมูลพรรณไม้องค์การสวนพฤกษศาสตร์. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2558. http://www.qsbg.org/database/plantdb/index.asp.

กวินธร เสถียร, ศักดิ์ดา หอมหวล และเสวียน เปรมประสิทธิ์. (2561). การใช้ประโยชน์พรรณพืชในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านทุ่งลุยลาย ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(2): 211-245.

กาญจนา ลิมป์กิตติกุล. (2559). ความหลากหลายของไม้ล้มลุก ไม้พุ่มและไม้เลื้อยตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาหลวงอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพฤกษศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะเภสัชศาสตร์. (ม.ป.ป.). ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. http://www.phargarden.com/main.php.

ดอกรัก มารอด. (2549). บทปฏิบัติการการวิเคราะห์สังคมพืช. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

เต็ม สมิตินันทน์. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557.สำนักงานหอพรรณไม้. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช: กรุงเทพฯ.

ทรรศนีย์ พัฒนเสรี และชูจิตร อนันต์โชค. (2551). พืชพื้นเมือง: ป่าชุมชนบ้านคุ้ม จังหวัดพะเยา. สำนักวิจัยการป่าไม้กรมป่าไม้: กรุงเทพฯ.

เทศบาลเมืองทุ่งสง. (2564). พืชผักพื้นบ้าน นครศรีธรรมราช 103 ชนิด. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563. https://www.tungsong.com/NakhonSri/vegetable/vegetable.html.

ธวัชชัย สันติสุข. (2549). ป่าไม้ในประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช: กรุงเทพฯ.

นันท์นภัส สุวรรณสินธุ์ และบัญญัติ ศิริธนาวงศ์. (2554). ความหลากหลายของไม้พุ่ม ไม้รอเลื้อย และไม้เถาเนื้อแข็ง ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านโป่งสลอด จังหวัดเพชรบุรี. ใน การประชุมวิชาการ การพัฒนาอนาคตชนบทไทย: ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน 27-29 มกราคม 2554. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 643-646.

พนม สุทธิศักดิ์โสภณ และจักรพงษ์ รัตตะมณี. (2562). ความหลากชนิดของพืชพื้นล่างของป่าเต็งรังในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านพร้าว อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11(2): 104-108.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2563). ฐานข้อมูลพืชพื้นเมืองของไทย. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563. http://inptw-tipdatabase.com.

สำนักงานหอพรรณไม้. (2561). ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช: กรุงเทพฯ.

ศรายุทธ รักอาชา, สุรพล แสนสุข และปิยะพร แสนสุข. (2563). ความหลากชนิดของไม้พื้นล่างในป่าโคกหนองขวาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 48(3): 364-376.

สมจิต โยธะคง. (2540). วัสดุพืชพรรณในการจัดภูมิทัศน์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี.

สมชญา ศรีธรรม. (2559). ความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น ป่าระหาร อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 34(3): 96-105.

สมชญา ศรีธรรม และวสา วงศ์สุขแสวง. (2563). การศึกษาพรรณไม้ท้องถิ่นเพื่อใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม กรณีศึกษา: ไม้พุ่มและไม้คลุมดินในป่าจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 11(1): 163-180.

สุวิทย์ วรรณศรี และประจักษ์ บัวพันธ์. (2556). ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรบริเวณพื้นที่ภูแผงม้า อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา: กรุงเทพฯ.

เสรี ศรีธิเลิศ, เสถียร ฉันทะ และสุนทรี กรโอชาเลิศ. (2564). ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืชป่าของชุมชนบ้านปางขอน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 16(1): 129-149.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. (ม.ป.ป.). ฐานข้อมูลพรรณไม้ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563. http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/Search_page.asp.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021 — Updated on 15-02-2024

Versions