ผลของการเสริมผงปลาป่นต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขนมผิง

ผู้แต่ง

  • ณัฎวลิณคล เศรษฐปราโมทย์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • ศิริรัตน์ มีธรรม
  • วิภาวรรณ พันเลียว
  • เบญญาลักษณ์ ศุภพิชญ์นาม
  • อุรชา วานิช
  • นิตยา ภูงาม

คำสำคัญ:

ขนมผิง, ผงปลาป่น, คุณภาพอาหาร

บทคัดย่อ

ขนมผิงเป็นขนมไทยทำจากแป้งผสมกับน้ำตาล นำไปอบให้มีสีเหลืองนวลและให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทเท่านั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมเนื้อปลาป่นต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขนมผิง ผลการศึกษาการคัดเลือกสูตรพื้นฐานผลิตภัณฑ์ขนมผิง 3 สูตร พบว่า สูตรที่ 1 มีคะแนนความชอบโดยรวมมากที่สุด (p≤0.05) มีค่าเท่ากับ 7.73 ±1.03 (ระดับความชอบปานกลาง) จากนั้นศึกษาการเสริมเนื้อปลาป่นร้อยละ 0, 2.5, 5 และ 7.5 ของวัตถุดิบทั้งหมด พบว่า การเสริมเนื้อปลาป่นที่ต่างกันมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขนมผิงด้านกายภาพ เคมี และทางด้านประสาทสัมผัสที่ต่างแตกกัน และพบว่า การเสริมเนื้อปลาป่นร้อยละ 5 ของน้ำหนักวัตถุดิบทั้งหมด เป็นสูตรที่เหมาะสมที่สุด ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่า ผลิตภัณฑ์ขนมผิงเสริมเนื้อปลาป่นร้อยละ 5 มีปริมาณความชื้นร้อยละ 2.85 และปริมาณน้ำอิสระ (aW ) เท่ากับ 0.47 ผลการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ พบว่า ผลิตภัณฑ์มีค่าสี L* a* และ b* เท่ากับ 65.50, 2.21 และ 17.26 ตามลำดับ ค่าความกรอบ และความแข็งของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 30.31±1.78 N และ 34.20±3.11 N ตามลำดับ ผลทางด้านประสาทสัมผัส พบว่า ได้รับคะแนนคุณภาพทางด้านสี รสชาติ และความขอบโดยรวม (p≤0.05) มีค่าเท่ากับ 6.40± 1.13, 6.56±1.30 และ 7.13 ±1.97 (ระดับความชอบปานกลาง) ดังนั้นการเสริมปลาป่นในผลิตภัณฑ์ขนมผิงส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะปรากฏที่ดีเป็นที่ยอมรับสำหรับผู้บริโภคทั่วไป

References

จักรกฤษณ์ เพียรทอง, อรพินธ์ ทันเที่ยง, จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง และอารี ธนวัฒน์ชัย. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมผิงเสริมน้ำใบบัวบก. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 22 ธันวาคม 2558. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. กำแพงเพชร. 808-815.

จริยา เดชกุญชร. (2549). ขนมไทยเล่ม 1. สำนักพิมพ์เพชรการเรือน. กรุงเทพฯ.

นพวรรณ จงสันติกุล. (2539). ขนมไทย. สำนักพิมพ์แสงแดด. กรุงเทพฯ.

นรินทร์ เจริญพันธ์. (2563). การใช้ประโยชน์จากแป้งปลายข้าวในการผลิตขนมผิงสูตรสมุนไพร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28(9): 1595-1607.

นิรนาม. (2564). วิธีทำขนมผิง เมนูขนมไทยโบราณ กรุบกรอบ ละลายในปาก. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564. https://www.wongnai.com/recipes/khanom-ping?ref=ct.

วลัย หุตะโกวิท, บุษรา สร้อยระย้า, ชญาภัทร์ สุทธิมิตร, น้อมจิตต์ สุธีบุตร, นพพร สกุลยืนยงสุข, เจตนิพัทธ์ บุณยสวัสดิ์ และธนภพ โสตรโยม. (2551). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาน้ำจืดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ. รายงานการวิจัย. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ.

ศันสนีย์ อุตมอ่าง. (2559). การพัฒนาทองม้วนข้าวกล้องเสริมโปรตีนจากเนื้อปลาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปบ้านกุดกุ่ม ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการวิจัย. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์.

ศรีสมร คงพันธุ์. (2539). ตำรับขนมไทย. สำนักพิมพ์แสงแดด. กรุงเทพฯ.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2548). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่อง ขนมผิง มผช. 745/2548. รายงานการประชุม. กองบริหารมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ.

สุมภา เทิดขวัญชัย และอมรรัตน์ เจริญชัย. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลานิลหยอง. วารสารคหเศรษฐศาสตร์. 54: 5-11.

Kitts D.D., Wu C.H., Kopec A. and Nagasawa T. (2006). Chemistry and genotoxicity of caramelized sucrose. Molecular Nutrition & Food Research. 50: 1180-1190.

Khan S., Rehman A., Shah H., Aadil R.M., Ali A., Shehzad Q., Shehzada W., Ashrafa F., Yanga A., Karima A., Khaliqd A. and Xia W. (2020). Fish Protein and its derivatives: the novel applications, bioactivities, and their functional significance in food products. Food Reviews International. 23: 1-28.

Stefansson G. and Hultin H.O. (1994). On the solubility of cod muscle proteins in water. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 42(26): 56–64.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021 — Updated on 16-02-2024

Versions