ผลของ BA และ NAA ต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสในต้นว่านตาลเดี่ยว

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ภูเรียนคู่ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร
  • อาอีเสาะห์ สะอุ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร
  • ประภาษ กาวิชา คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร
  • มนฑิณี กมลธรรม ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กรุงเทพมหานคร
  • ธัญญ์วนิช ธัญสิริวรรธน์ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร

คำสำคัญ:

การชักนำแคลลัส, ต้นว่านตาลเดี่ยว, สารควบคุมการเจริญเติบโต

บทคัดย่อ

ว่านตาลเดี่ยวเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาสิว ฝ้า และจุดด่างดำ จึงได้รับความสนใจในการนำมาสกัดสารสำคัญเพื่อผสมในเครื่องสำอาง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของ 6-benzyladenine (BA) และ
1-naphthaleneacetic acid (NAA) ที่ความเข้มข้นต่างกันต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสของต้นว่านตาลเดี่ยวสำหรับเป็นวัตถุดิบในการสกัดสารสำคัญ โดยเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนลำต้นใต้ดินบนอาหารแข็งสูตร Murashige and Skoog (MS) ที่เติม BA ความเข้มข้น 3.0 และ 5.0 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0 0,.1, 0.3 และ 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่าชิ้นส่วนต้นว่านตาลเดี่ยวที่เพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 3.0 และ 5.0 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0 และ 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้มากที่สุด คิดเป็น 93.20% ส่วนสูตรอาหารที่เติมเฉพาะ BA ความเข้มข้น 3.0 มิลลิกรัม/ลิตร ช่วยให้แคลลัสมีขนาดใหญ่ที่สุด (2.38 เซนติเมตร) น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งมากที่สุดเท่ากับ 9.23 กรัม และ 0.8 กรัม ตามลำดับ จากผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการผลิตแคลลัสระดับห้องปฏิบัติการเพื่อใช้เป็นต้นแบบการสกัดสารสำคัญจากต้นว่านตาลเดี่ยวในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในอนาคตได้

References

กสานติ์ หาญชน และปิยะพร แสนสุข. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสและโซมาติกเอ็มบริโอจากการเพาะเลี้ยงคัพภะในส้มหอม. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 46(1): 131-141.

กาพย์แก้ว แก้วนาบอน, ทัศไนย จารุวัฒนพันธ และธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์. (2562). การชักนำให้เกิดแคลลัสจากชิ้นส่วนต่าง ๆ ของต้นลินเดอร์เนียในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 8(2): 139-145.

เกวลิน คุณาศักดากุล, เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี, พนมพร วรรณประเสริฐ, เพชรรัตน์ จันทรทิณ, ยี่โถ ทัพภะทัต, รมณีย์ เจริญทรัพ์ และสุรวิช วรรณไกรโรจน์. (2564). บาทฐานงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์: กรุงเทพฯ.

ชาตรี ตุ้มคำ และศิรศาธิญากร จันทร์ขศิราพร. (2562). การชักนำให้เกิดแคลลัสและการตรวจสอบหาระดับพลอยดีจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของหยาดน้ำค้าง (Droseraindica L.) ในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 24(3): 929-944.

ปิยะพร แสนสุข และนุชมะณี สุดดี. (2547). อิทธิพลของ NAA และ BA ต่อการชักนำแคลลัสและยอดของผักชีช้าง. วารสารวิจัย มข. 9(2): 31-39.

บุญยืน กิจวิจารณ์. (2547). เทคโนโลยีเบื้องต้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น.

ภูวดล บุตรรัตน์. (2559). พฤกษศาสตร์ทั่วไป ตอนลักษณะภายนอกของพืชดอก ภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี.

เยาวพา จิระเกียรติกุล, ภาณุมาศ ฤทธิไชย, ขวัญข้าว เมืองเขียว และปิยะมาศ ไพโรจน์. (2564). การชักนำให้เกิดแคลลัสและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระของแคลลัสรางจืด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 29(1): 102-110.

ลิลลี่ กาวีต๊ะ. (2546). การเปลี่ยนแปลงสัณฐานและพัฒนาการพืช. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

สัมฤทธิ์ เศรษฐวงศ์. (2552). ฮอร์โมนและการใช้ฮอร์โมนกับไม้ผล. ธนธัชการพิมพ์: กรุงเทพฯ.

สนธยา เรืองศักดิ์, เกศสุคนธ์ มณีวรรณ, อิสราภรณ์ สมบุญวัฒนกุล และวิจิตรา หลวงอินทร. (2560). การชักนำให้มะเฟืองเกิดแคลลัสและผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ. แก่นเกษตร. 45(1): 1186-1190.

Al-Zuhairi E.M.A. and Ghanm N.S. (2018). Effect of BA, NAA, methyl jasmonate and mannitol on callus induction of Periwinkle Plant (Catharanthus roseus L. cv. Heatwave Mix) by in vitro culture. Journal of Tikrit University for Agriculture Sciences. 18(4): 66-71.

Appleton M.R., Ascough G.D. and Staden J.V. (2012). In vitro regeneration of Hypoxis colchicifolia plantlets. South African Journal of Botany. 80: 25–35.

Bakar D.A., Ahmed B.A. and Taha R.M. (2014). In vitro callus induction and plant regeneration of Celosia argentea-An important medicinal plant. Brazilian Archives of Biology and Technology. 57(6): 860-866.

Boonpisuttinant K., Sodamook U., Ruksiriwanich W. and Winitchai S. (2014). In vitro anti-melanogenesis and collagen biosynthesis stimulating activities of star grass (Hypoxis aurea Lour) extracts. Asian Journal of Applied Sciences. 2(4): 405-413.

Geerick D.J.L. (1993). Amarillidaceae (including Hypoxidaceae). Flora Malesiana Series I. 11(12): 353-73.

Grabkowska R., Matkowski A., Karolak I.G. and Wysokinska H. (2016). Callus cultures of Harpagophytum procumbens (Burch.) DC. ex Meisn.; production of secondary metabolites and antioxidant activity. South African Journal of Botany. 103: 41-48.

Guo G. and Jeong B.R. (2021). Explant, Medium, and Plant Growth Regulator (PGR) Affect Induction and Proliferation of Callus in Abies koreana. Forests. 12: 1388-1402.

Miri S.M. (2020). Micropropagation, callus induction and regeneration of ginger (Zingiber officinale Rosc.). Open Agriculture. 5: 75-84.

Nsibande B.E. (2012). In vitro regeneration of four Hypoxis Species and transformation of Camelina sativa and Crambe abyssinica. M.Sc. Thesis. Department of Plant Breeding and Biotechnology, Faculty of Landscape Planning, Horticulture and Agricultural Science, Swedish University of Agricultural Sciences.

Page Y.M. and Staden J.V. (1986). In vitro propagation of Hypoxis rooperi from flower buds. South African Journal of Botany. 52: 261-264.

Phillips G.C. and Garda M. (2019). Plant tissue culture media and practices: An overview, In Vitro Cellular and Developmental Biology–Plant. 55: 242-257.

Rao R.S. and Ravishankar G.A. (2002). Plant cell cultures: Chemical factories of secondary metabolites. Biotechnology Advances. 20: 101-153.

Rout G.R., Samantaray S. and Das P. (2000). In vitro manipulation and propagation of medicinal plants. Biotechnology Advances. 18: 91-120.

Skoog F. and Miller C.O. (1957). Chemical regulation of growth and organ formation in plant tissue grown in vitro. Symposia of the Society for Experimental Biology. 11: 118-130.

Srinivasan R., Selvam G.G., Karthikeyan K., Chandran C., Kulothungan S. and Govindasamy C. (2012). In vitro propagation of shoot and callus culture of Tectona grandis (L.). Global Journal of Biotechnology & Biochemistry. 7(1): 26-29.

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022 — Updated on 19-02-2024

Versions