ผลของการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หญ้าขน หญ้ากินนีสีม่วง และหญ้าอะตราตั้มต่อปริมาณการกินได้และการย่อยได้ของโภชนะในไก่ตะเภาแก้ว

ผู้แต่ง

  • นพคุณ สุราช คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ สุรินทร์
  • ชยพล มีพร้อม คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ สุรินทร์
  • ทิวากร อำพาพล คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ สุรินทร์
  • สุปรีณา ศรีใสคำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว สระแก้ว
  • ปิตุนาถ หนูเสน คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา
  • นพรัตน์ ผกาเชิด คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ไก่ตะเภาแก้ว, การกินได้, การย่อยได้, การเจริญเติบโต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หญ้าขน หญ้ากินนีสีม่วง หญ้าอะตราตั้มที่ระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร ต่อปริมาณการกินได้และการย่อยได้ของโภชนะของไก่ตะเภาแก้ว จำนวน 32 ตัว ที่มีอายุเฉลี่ย 14±0.5 สัปดาห์ น้ำหนักตัวเฉลี่ย 1.4±1 กิโลกรัม ถูกนำมาจัดอยู่ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ และจัดกลุ่มทดลองแบบแฟคทอเรียล แบ่งเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ เพศของไก่ตะเภาแก้วและสายพันธุ์หญ้า โดยมีปัจจัย A คือ เพศของไก่ตะเภาแก้ว ได้แก่ เพศผู้และเพศเมีย ปัจจัย B คือ สายพันธุ์หญ้า ได้แก่ 1) หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 2) หญ้ากินนีสีม่วง 3) หญ้าขน และ 4) หญ้าอะตราตั้ม เพื่อนำมาทดสอบการย่อยได้ของหญ้าทั้ง 4 สายพันธุ์ โดยไก่ทุกตัวถูกขังอยู่ในกรงเมทาบอลิซึมขนาด 60x60x63 เซนติเมตร โดยจะมีน้ำ อาหาร และการอยู่อาศัยที่เป็นอิสระต่อกัน ระยะเวลาทดลองทั้งหมด 21 วัน โดย 7 วันแรกเป็นการปรับ และ 14 วัน เป็นระยะการทดลอง โดย 2 วันสุดท้ายเป็นการเก็บตัวอย่างมูล พบว่าการใช้หญ้าไม่ส่งผลต่อปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้งอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในส่วนของการย่อยได้ พบว่ากลุ่มไก่ที่ได้รับหญ้า
อะตราตั้ม มีเปอร์เซ็นต์การย่อยได้สูงสุด เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

References

กรมปศุสัตว์. (2547). ตารางคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 1 โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด กรุงเทพฯ

กรมปศุสัตว์. (2559). คู่มือการเลี้ยงไก่พื้นเมืองกรมปศุสัตว์ระบบปล่อยอิสระและอินทรีย์. โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด กรุงเทพฯ

จารุณี หนูละออง และอับดุลรอฮิม เปาะอีแต. (2560). คุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีของหญ้าอะตราตั้มหมักร่วมกับกระถินในอัตราส่วนต่าง ๆ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 48(2): 631-642.

นพ ตัณมุขยกุล, จักรินทร์ ม่วงปั้น, ทรงยศ โชติชุติมา, สายัณห์ ทัดศรี และเอ็จ สโรบล. (2563). อิทธิพลของการจัดการท่อน พันธุ์เนเปียร์ต่อการงอกของท่อนพันธุ์และผลผลิตของหญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์. Thai Journal of Science and Technology. 9(3): 324-332.

ประนิดา ธรรมษา, วรรณนิษา วงค์ทหาร และทิพเนตร นาหนองตูม. (2560). ช่วงห่างเวลาการตัดของหญ้าเนเปียร์ลูกผสมต่อลักษณะการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบทางเคมีเพื่อเป็นอาหารสัตว์กระเพาะเดี่ยว. รายงานวิชาปัญหาพิเศษทางสัตวศาสตร์ สาขาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พืชเกษตร. (2559). หญ้าขน ประโยชน์ และการปลูกหญ้าขน. ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2565. https://puechkaset.com/หญ้าขน.

รักษิณา สัตย์ชาพงษ์, วรินธร มณีรัตน์ และมณฑิชา พุทซาคำ. (2557). ผลการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ต่อสมรรถภาพการผลิตในไก่ไทยละโว้. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5. 27 พฤศจิกายน 2558. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุโขทัย. 26-39.

ลัดดาวัลย์ หอกกิ่ง. (2556). ผลของการใช้กากมันสำปะหลังต่อการย่อยได้ของโภชนะ สมรรถนะการผลิตคุณภาพไข่ คอเลสเตอรอลในไข่แดง และการเปลี่ยนแปลง ประชากรจุลินทรีย์ของไก่ไข่. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วรวุฒิ สุมา, ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ และจิตติมา กัลตนามัลลกุล. (2555). สมรรถภาพการผลิตไก่พื้นเมืองไทยที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมหญ้ารูซี่สด. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4 26-27 พฤศจิกายน 2555 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุโขทัย. 22-37.

วิทยา สุมามาลย์, และพรชัย ล้อวิลัย. (2557). อิทธิพลของระยะปลูกที่มีต่อผลผลิตและคุณค่าทางโภชนะของหญ้ากินนีสีม่วง ภายใต้การให้น้ำชลประทาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 33(1): 35-45.

AOAC. (2012). Official Methods of Analysis, 19th Ed. Gaithersburg, MD: Association of Official Analytical Chemists. Arlington, VA.

Fenton T.W. and Fenton M. (1979). An improved method for chromic oxide determination in feed and feces. Canadian Journal of Animal Science. 59: 631-634.

Sharifi S.D., Dibamerhr A., Lotfollahian H. and Baurhoo B. (2012). Effects of flavomycin and probiotic supplementation to diets containing different sources of growth performance, intestinal morphology, apparent metabolizable energy, and fat digestibility in broiler chickens. Poultry Science. 91: 918-927.

Vincenzo T., Ragni M. and Laudadio, V. (2018). Feeding forage in poultry: A promising alternative for the future of production systems. Agriculture. 8(81): 1-10.

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022 — Updated on 19-02-2024

Versions