@article{ศรีธรรม_วงศ์สุขแสวง_ศรบุญทอง_2024, title={การศึกษาพรรณไม้ดอกหอมเพื่อใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม}, volume={3}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/254303}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดพันธุ์ของพรรณไม้ดอกหอมในพื้นที่สวนไม้หอม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และศึกษาการนำพรรณไม้ดอกหอมไปใช้ประโยชน์ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ผลการศึกษาพบพรรณไม้ดอกหอม 60 ชนิด 51 สกุล 29 วงศ์ แบ่งเป็นไม้ต้น 24 ชนิด (ร้อยละ 40) ไม้พุ่ม 18 ชนิด (ร้อยละ 30) ไม้พุ่มรอเลื้อย 11 ชนิด (ร้อยละ 18) และ ไม้เลื้อย 7 ชนิด (ร้อยละ 12) วงศ์ที่พบมากที่สุดคือ Annonaceae และ Apocynaceae พบวงศ์ละ 9 ชนิด พบพรรณไม้ดอกหอมโทนสีขาวมากที่สุด (ร้อยละ 58) ส่วนใหญ่ออกดอกตลอดปี (ร้อยละ 57) และมีกลิ่นหอมอ่อน (ร้อยละ 57) พบดอกบานระยะ 2-3 วัน มากที่สุด (ร้อยละ 32) พรรณไม้ดอกหอมทุกชนิดมีประโยชน์ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ดังนี้ ไม้ต้นใช้ประโยชน์เป็นไม้ให้ร่มเงา เช่น กระทิง (<em>Calophyllum inophyllum</em>) กันเกรา (<em>Fagraea fragrans</em>) และพิกุล (<em>Mimusops elengi</em>) ไม้พุ่มใช้ประโยชน์เป็นไม้ปิดกั้น กรอง และลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น เข็มพวงขาว (<em>Ixora finlaysoniana</em>) พุดซ้อน (<em>Gardenia jasminoides</em>) และยี่โถ (<em>Nerium oleander</em>) ไม้เลื้อยใช้ประโยชน์เป็นซุ้มไม้เลื้อยและรั้วไม้เลื้อย เช่น พวงชมพู (<em>Antigonon leptopus</em>) ม่วงมณีรัตน์ (<em>Bignonia magnifica</em>) และเล็บมือนาง (<em>Combretum indicum</em>) การเลือกพรรณไม้ดอกหอมไปใช้ประโยชน์ในงานภูมิสถาปัตยกรรมต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ ลักษณะทางกายภาพ สีและความหอมของดอก โดยเลือกระดับของความหอมที่เหมาะสมกับระยะใกล้ไกลและระยะเวลาของการใช้พื้นที่ ช่วงเวลาการบานของดอก จะช่วยสร้างบรรยากาศของสวนให้หอมสดชื่น ดึงดูดผู้คน และนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น สมุนไพร อาหาร วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ</p>}, number={1}, journal={วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี}, author={ศรีธรรม สมชญา and วงศ์สุขแสวง วสา and ศรบุญทอง ปัณณธร}, year={2024}, month={ก.พ.}, pages={23–40} }