https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/issue/feed วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี 2024-04-26T01:49:16+07:00 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี atj.rmuti@gmail.com Open Journal Systems <p style="text-align: justify;"><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร</strong><strong> </strong></p> <p style="text-align: justify;"> เพื่อเผยแพร่ความรู้และผลงานวิชาการทางด้านการเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมแก่สังคม</p> <p style="text-align: justify;"><strong>ประเภทบทความ </strong></p> <p style="text-align: justify;"> วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวารสารเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย เปิดรับบทความประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ดังนี้สาขาเกษตรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องจัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ตามมาตรฐานวารสารวิชาการ</p> <p style="text-align: justify;"><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong></p> <p style="text-align: justify;"> ปีละ 3 ฉบับ คือ มกราคม – เมษายน, พฤษภาคม - สิงหาคม และ กันยายน - ธันวาคม</p> <p style="text-align: justify;"><strong>ประเภทของการ Peer-review</strong></p> <p style="text-align: justify;"> รูปแบบ (Double blinded) ในการพิจารณาบทความ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็น ขั้นแรกแล้วจัดให้มีกรรมการ ภายนอกร่วมกลั่นกรอง (peer review) 3 ท่าน ประเมินตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนด ในลักษณะเป็น double blinded คือ ปกปิดรายชื่อผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้อง</p> <p style="text-align: justify;"><strong>จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></p> <p style="text-align: justify;"> วารสารมีผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินบทความที่เชี่ยวชาญและตรงตามสาขาฯ (ทั้งภายในและภายนอก) จำนวน 3 ท่านต่อบทความ</p> <p style="text-align: justify;"><strong>** วารสารยังไม่มีการดำเนินการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ** เนื่องจากได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจากทางคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี</strong></p> https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/260071 การตรวจจับท่าทางมือเพื่อเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือและแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์โดยใช้วิธีการระบุพิกัดของมือด้วยมีเดียไปป์ 2023-11-03T14:00:25+07:00 ณรงค์ฤทธิ์ ภิรมย์นก narongrit.piromnok@gmail.com <p>ปัญหาความไม่ปลอดภัยเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้พิการทางการได้ยินที่มีจำนวนมากเป็นอันดับ 2 ของผู้พิการทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัวที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งภายในบ้าน โรงเรียน หรือที่สาธารณะ ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับบุคคลทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบการตรวจจับท่าทางมือเพื่อเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือและแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์โดยการใช้วิธีการระบุพิกัดตำแหน่งด้วย MediaPipe โดยช่วยให้พวกเขาสามารถขอความช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้โดยไม่ต้องพูดหรือส่งเสียงออกมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อตรวจจับท่าทางมือที่เป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือและแจ้งเตือน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการตรวจจับท่าทางมือขอความช่วยเหลือ โดยจะใช้ MediaPipe framework โดยได้รับการฝึกฝนจากข้อมูล 30,000 ภาพ และทดสอบโดยการรับข้อมูลจากกล้องวิดีโอมาทำการตรวจจับท่าทางมือขอความช่วยเหลือ จำนวน 6 ท่าทาง จำนวนท่าทางละ 100 ภาพ รวมเป็น 600 ภาพ โดยการกำหนดค่าพิกัดของฝ่ามือและนิ้วมือลงในโปรแกรมภาษา Python เมื่อตรวจพบท่าทางมือขอความช่วยเหลือจะส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแล จากผลการทดสอบ พบว่า ค่าความถูกต้องของท่าทางมือ 1-6 ของชุดข้อมูลอยู่ในช่วง 95-99% ความแม่นยำประมาณ 97%</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/259393 ผลของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสพริกที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Colletotrichum sp. 2023-10-19T15:26:22+07:00 ศิริโสภา วรรณวงศ์ kungking_261@hotmail.com วิโรจ ชมภู kungking_261@hotmail.com กมลพร ปานง่อม kungking_261@hotmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide: H<sub>2</sub>O<sub>2</sub>) ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนส (<em>Colletotrichum </em>sp.) ในพริก มี 2 การทดลองโดยทั้ง 2 การทดลองวางแผนแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) การทดลองที่ 1 การบ่มสารแขวนลอยสปอร์เชื้อรา <em>Colletotrichum </em>sp. ไอโซเลท NMK-MJ01 ในสารละลาย H<sub>2</sub>O<sub>2 </sub>ที่ความเข้มข้น 10, 20, 40 และ 80 มิลลิโมลาร์ (mM) เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ก่อนนำมาปลูกเชื้อบนผลพริก การทดลองที่ 2 การปลูกเชื้อรา <em>Colletotrichum </em>sp. ไอโซเลท NMK-MJ01 บนผลพริก เป็นเวลา 72 ชั่วโมง แล้วพ่นด้วยสารละลาย H<sub>2</sub>O<sub>2 </sub>ที่ความเข้มข้นดังกล่าวข้างต้นบนผลพริก เป็นเวลา 4 วัน ติดต่อกัน เปรียบเทียบกับชุดควบคุมปลูกเชื้อ(น้ำกลั่นฆ่าเชื้อ) และไม่ปลูกเชื้อ ผลของ เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคและ เปอร์เซ็นต์ดัชนีความรุนแรงของโรคที่บ่มในวันที่ 7 พบว่า สารละลาย H<sub>2</sub>O<sub>2 </sub>สามารถยับยั้งการเกิดโรคและความรุนแรงของโรค ในการทดลองที่ 1 ได้ดีกว่าการทดลองที่ 2 โดยเฉพาะสารละลาย H<sub>2</sub>O<sub>2 </sub>ที่ความเข้มข้น 40 และ 80 mM มีการเกิดโรคเท่ากับ 26.00 และ 16.00 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีความรุนแรงของโรคเท่ากับ 13.33 และ 9.25 เปอร์เซ็นต์ และขนาดของแผลเท่ากับ 12.93 และ 11.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนการทดลองที่ 2 มี เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคและเปอร์เซ็นต์ดัชนีความรุนแรงของโรคบนผลพริกที่สูง ดังนั้นสารละลาย H<sub>2</sub>O<sub>2</sub> สามารถประยุกต์ใช้ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในพริก เพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตพริก</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/259677 การจำลองสถานการณ์จัดเส้นทางการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชน ตำบลกันตวจระมวล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 2023-10-19T12:32:07+07:00 ศุภวิช นิยมพันธุ์ supawit.big@gmail.com ธาริณี มีเจริญ supawit.big@gmail.com ศิวพร แน่นหนา supawit.big@gmail.com นิศานาถ แก้ววินัด supawit.big@gmail.com พงศ์ไกร วรรณตรง supawit.big@gmail.com ชลิตา แก้วบุตรดี supawit.big@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบสำหรับจัดเส้นทางการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชน ตำบลกันตวจระมวล จังหวัดสุรินทร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชนที่มีระยะทางโดยรวมสั้นที่สุด โดยคณะผู้วิจัยประยุกต์ใช้วิธีการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่ง 2 วิธี ได้แก่ วิธีเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงที่สุด (Nearest Neighbor Heuristics: NNH) และวิธีการแก้ปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย (Travelling Salesman Problem: TSP) ผลลัพธ์พบว่า การจัดเส้นทางการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชนด้วยวิธีเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงที่สุด (Nearest Neighbor Heuristics: NNH) สามารถจัดเส้นทางการขนส่งได้ 10 เส้นทาง คิดเป็นระยะทางรวมทั้งสิ้น 9.88 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ ซึ่งแต่ละรอบการขนส่งจะมีปริมาณผักอินทรีย์ไม่เกิน 40 กิโลกรัม ตามเงื่อนไขการบรรทุกของยานพาหนะ และมีปริมาณการขนส่งทั้งสิ้น 355 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และจากการปรับปรุงคำตอบด้วยวิธีการแก้ปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย(Travelling Salesman Problem: TSP) ผลลัพธ์พบว่า มีระยะทางการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชนโดยรวมที่สั้นที่สุด 9.55 กิโลเมตร ลดลง 0.33 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 3.34 ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางการจัดเส้นทางการขนส่งและกระจายผักอินทรีย์ในชุมชน จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการบริโภคผักอินทรีย์ในชุมชนได้</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/260365 การเพิ่มสมรรถนะเชิงความร้อนของเครื่องอุ่นอากาศพลังแสงอาทิตย์ด้วยการติดตั้งปีกโค้งพรุนบนแผ่นดูดซับความร้อน 2023-11-13T16:15:50+07:00 ภาณุวัฒน์ หุ่นพงษ์ sompop2525@gmail.com สืบสกุล คุรุรัตน์ sompol@eng.src.ku.ac.th สมพล สกุลหลง sompol@eng.src.ku.ac.th <p>การทำให้พื้นผิวขรุขระบนแผ่นดูดซับความร้อนสามารถเพิ่มสมรรถนะเชิงความร้อนของเครื่องอุ่นอากาศพลังแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องอุ่นอากาศพลังงานแสงอาทิตย์แบบท่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า งานวิจัยนี้นำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการทำให้พื้นผิวขรุขระด้วยการติดตั้งปีกโค้งพรุนและแผ่นดูดซับความร้อนผิวเรียบ จุดมุ่งหมายของการติดตั้งปีกโค้งพรุนเพื่อสร้างการไหลหมุนควงตามแนวยาวซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มระดับความปั่นป่วนของการไหลและนำไปสู่การเพิ่มการถ่ายเทความร้อนในท่อทดสอบ อากาศถูกใช้เป็นของไหลทดสอบโดยไหลผ่านท่อในช่วงเลขเรย์โนลด์ระหว่าง 5,390 ถึง 23,000 พารามิเตอร์ทางเรขาคณิตที่ใช้ในการทดสอบมีอัตราส่วนความความสูงต่ออัตราส่วนความกว้างของท่อของปีกพรุนสี่ค่า (A<sub>h</sub>/A<sub>w</sub> = 0.2, 0.33, 0.47 และ 0.6) ที่มุมปะทะปีกคงที่ (a = 45◦) ผลการทดลองพบว่า การติดตั้งปีกโค้งพรุนมีค่าอัตราการถ่ายเทความร้อนสูงกว่าแผ่นดูดซับความร้อนผิวเรียบอยู่ในช่วง 2.55–3.22 เท่า ขณะที่ความเสียดทานสูงกว่าแผ่นดูดซับความร้อนผิวเรียบ 6.21–15.4 เท่า การติดตั้งปีกโค้งพรุนที่อัตราส่วนความพรุนต่ำให้ค่าการถ่ายเทความร้อนและความเสียดทานสูงกว่าการติดตั้งปีกโค้งพรุนที่อัตราส่วนความพรุนสูง การติดตั้งปีกโค้งพรุนที่อัตราส่วนความพรุน A<sub>h</sub>/A<sub>w</sub> = 0.33ให้ค่าตัวประกอบสมรรถนะเชิงความร้อนสูงสุดอยู่ที่ 1.56</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/259455 คุณภาพน้ำและความหลากหลายของโพรโทซัวในแม่น้ำจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 2023-11-10T12:53:14+07:00 วีระ ยินดี mr.beer1234@gmail.com วิทวัส เวชกูล weera_yi@rmutto.ac.th นฤมล เวชกูล weera_yi@rmutto.ac.th สิทธิ กุหลาบทอง weera_yi@rmutto.ac.th ดุสิต ศรีวิไล weera_yi@rmutto.ac.th วัชนะชัย จูมผา weera_yi@rmutto.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำและความหลากหลายของโพรโทซัวในแม่น้ำจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี จำนวน 8 สถานี ได้แก่ บ้านจันทเขลม อ่างเก็บน้ำศาลทราย Bokies house วัดกะทิง ถนนสุขุมวิท วัดจันทราราม โรบินสันและร้านปั้นจิ้ม ในฤดูน้ำน้อย (เมษายน 2560) และฤดูน้ำหลาก (ตุลาคม 2559) โดยเก็บตัวอย่างโพรโทซัวด้วยถุงลากแพลงก์ตอน ขนาด 40 ไมโครเมตร ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง เมษายน พ.ศ. 2560 โดยศึกษาคุณภาพน้ำมีผลการศึกษาเป็นดังนี้ อุณหภูมิของน้ำมีค่าเฉลี่ยคือ 26.4±0.88<sup>๐</sup>C ความเป็นกรด-ด่าง มีค่าเฉลี่ย 6.83±0.92 ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีค่าเฉลี่ยคือ 8.15±3.44 มิลลิกรัมต่อลิตร พบ โพรโทซัวทั้งหมด 2 คลาส 6 สกุล 17 ชนิด ดัชนีความหลากหลาย Shannon-Weiner Index (H') ฤดูน้ำหลากเท่ากับ 2.55 ส่วนฤดูน้ำน้อยเท่ากับ 2.73 และค่าดัชนีความสม่ำเสมอ (Evenness index) ทั้งสองฤดูในการพบโพรโทซัวไม่แตกต่างกัน โดยฤดูน้ำหลากเท่ากับ 0.15 ส่วนฤดูน้ำน้อยเท่ากับ 0.16</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/260121 การประเมินผลผลิตและคุณภาพมะเขือเทศสายพันธุ์ที่รายงานความต้านทานโรค ในสภาพโรงเรือน 2023-11-02T19:30:01+07:00 ชัชวาล แสงฤทธิ์ chdhort@npu.ac.th ศุลีพร พิมพ์กลาง pheng8865@gmail.com ธัญญารัตน์ ตาอินต๊ะ tanyarattainta@gmail.com <p>โรคพืชเป็นปัญหาหลักในการผลิตมะเขือเทศ (<em>S</em><em>olanum lycopersicum</em>) ที่ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนและร้อนชื้นรวมทั้งประเทศไทย การใช้พันธุ์มะเขือเทศต้านทานต่อโรคจะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน ด้านการผลิตให้แก่เกษตรกรได้ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินผลผลิตและคุณภาพสายพันธุ์มะเขือเทศที่มียีนความต้านทานโรคในสภาพโรงเรือนตาข่ายมุงด้วยพลาสติก (Plastic-net house) จำนวนทั้งหมด 23 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ทดสอบ 19 สายพันธุ์ และพันธุ์ต้านทานเปรียบเทียบ 4 พันธุ์ คือ HAWAII 7996, R3034-3-10-N-UG, Ty52 และ CXD227 โดยทำการทดสอบในฤดูหนาวระหว่าง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2565 ที่แปลงทดลอง สาขาพืชศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม วางแผนการการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค (Randomized Complete Block Design; RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ต้น ทำการทดสอบมะเขือเทศ จำนวน 23 พันธุ์/สายพันธุ์ จากการศึกษา พบว่า มะเขือเทศพันธุ์ที่ทดสอบให้ผลผลิตต่อต้นสูง จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ CLN2777-168-27-2-7-8-8 และ KKU-T47-1 (ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 2,253.7 และ 2,1576 กรัมต่อต้น ตามลำดับ) และสำหรับสายพันธุ์ที่มีจำนวนผลต่อต้นสูง คือ TML46-N-12-N-early-NT, CLN2768-69-23-30-30-27-9 และ KKU-T47-10 มีจำนวนผลเฉลี่ย 67.4, 53.5, 50.7 ผลต่อต้น ตามลำดับ สำหรับปริมาณของแข็งที่ละลายได้ TSS (องศาบริกซ์) พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสายพันธุ์ทดสอบเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4-6 องศาบริกซ์ และสายพันธุ์ที่มีจำนวนเมล็ดต่อผลค่อนข้างสูงสุด (มากกว่า 100 เมล็ด) <br />คือ สายพันธุ์ KKU-T47-10, CLN2777-168-27-2-7-8-8, CLN3087F1-12-34-29-7-8-5-0, KKU-T47-1, KKU-T47-5 และ TML46-N-12-N-early-NT (116.3, 113.8, 111.8, 106.1, 102.4 และ 101.1 เมล็ดต่อผล ตามลำดับ) ดังนั้นสามารถนำมะเขือเทศสายพันธุ์ดังกล่าวมาเผยแพร่สำหรับเป็นพันธุ์การค้า หรือเชื้อพันธุกรรมสำหรับการพัฒนาพันธุ์ที่ดีต่อไป</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/259388 การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อตรวจหาเชื้อ ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (M. tuberculosis) จากเสมหะด้วยวิธีการตรวจ Acid-Fast Bacillus (AFB) 2023-11-29T12:56:56+07:00 ปัณณธร ขุนโหร khpunnathorn@gmail.com ปีระกา พวงทอง personal.tnpuangtong@gmail.com วิเชียร ดอนแรม khpunnathorn@gmail.com แธนธรรพ์ แสงภู่ khpunnathorn@gmail.com <p>วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (<em>Mycobacterium tuberculosis</em>) ซึ่งในประเทศไทยนิยมตรวจวัณโรคด้วยวิธีการตรวจเสมหะ Acid-Fast Bacillus (AFB) เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ทว่าในการตรวจหาเชื้อวัณโรคสำหรับแพทย์นั้นมีระยะเวลาที่นาน การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจหาเชื้อวัณโรคเพื่อสนับสนุนแพทย์ โดยในขั้นตอนการพัฒนา ผู้วิจัยได้เริ่มจากการรวบรวมภาพเสมหะจาก Kaggle และ ZNSM-iDB รวมทั้งสิ้น 1,952 ภาพ นำภาพเหล่านั้นไปทำความสะอาดและปรับแต่งภาพ โดยการกลับภาพ หมุนภาพ ปรับความความสว่าง ความคมชัด และค่าสีของภาพเพื่อเพิ่มชุดจำนวนข้อมูลภาพ และฉลากเชื้อวัณโรคภายในทุกภาพเพื่อนำไปเทรนโมเดลทั้งหมด 8 โมเดล ประกอบด้วย Yolov5n, Yolov5s, Yolo5m, Yolo5l, Yolo5n6, Yolo5s6, Yolo5m6 และ Yolo5l6 จากนั้นจึงนำแต่ละโมเดลที่เทรนไปประเมินและเปรียบเทียบประสิทธิภาพเพื่อหาโมเดลที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจหาเชื้อวัณโรค ซึ่งจากผลการพัฒนาพบว่า ในการตรวจภาพเบื้องต้นซึ่งคัดกรองภาพเสมหะว่ามีเชื้อวัณโรคหรือไม่ โมเดล Yolov5s มีประสิทธิภาพมากที่สุดซึ่งให้ค่าความไว ความจำเพาะ F1-score และระยะเวลาเฉลี่ยในการตรวจจับเชื้อต่อ 1 ภาพ คือ 0.9802, 0.9647, 0.9727 และ 11.1 มิลลิวินาที ตามลำดับ และในขั้นตอนการตรวจจับวัตถุซึ่งระบุตำแหน่งของเชื้อวัณโรคทั้งหมดภายในภาพ โมเดล Yolov5n6 มีความแม่นยำที่สุดซึ่งมีค่า Precision, Recall และ mAP@0.5 อยู่ที่ 0.673, 0.761 และ 0.727 ตามลำดับ โดยสรุปแล้วระบบปัญญาประดิษฐ์นี้สามารถตรวจหาเชื้อวัณโรคได้อย่างอัตโนมัติด้วยความแม่นยำที่สูง และใช้เวลาที่รวดเร็วในการตรวจ</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/260862 ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ต่อผลผลิตข้าวและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 2023-11-29T13:21:20+07:00 ภุชงค์ สุภัควรางกูร nion.ng@rmuti.ac.th สำเนาว์ เสาวกูล nion.ng@rmuti.ac.th อัจฉราวดี เครือภักดี nion.ng@rmuti.ac.th นิอร งามฮุย nion.ng@rmuti.ac.th <p>การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่เป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากช่วยลดต้นทุนการผลิตพืชได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวของพื้นที่ศึกษาโดยใช้สมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน ใช้เทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่หรือปุ๋ยสั่งตัด และเพื่อศึกษาผลผลิตที่ได้จากการปลูกข้าวโดยใช้เทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ ในพื้นที่ปลูกข้าวตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยเก็บตัวอย่างดินจากพื้นที่นาข้าวจำนวน 50 แปลง วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน ได้แก่ เนื้อดิน ค่าความเป็นกรด-ด่าง ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ผลผลิตข้าว ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ในปี 2564-2565 ผลการศึกษาพบว่า ดินเป็นชุดดินร้อยเอ็ด มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง ประกอบด้วยอนุภาคทราย อนุภาคทรายแป้ง และอนุภาคดินเหนียว ร้อยละ 20.78, 70.09 และ 9.13 ตามลำดับ ปริมาณธาตุอาหารหลักในดินมีปริมาณต่ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงต้องมีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ เพื่อปรับปรุงสมบัติเคมีของดินในการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูงที่สุด ดังนั้นการใช้การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ของปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าวในพื้นที่ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวสูงขึ้นร้อยละ 13.33 และลดต้นทุนการผลิตร้อยละ 11.95 หากเกษตรกรใช้การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่จะทำให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารพืชที่เพียงพอ ส่งผลให้พืชสามารถให้ผลผลิตที่สูงขึ้น และเป็นการลดต้นทุนการผลิตเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/259825 การสังเคราะห์สารประกอบแคลเซียมอะซิเตทจากเปลือกหอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) โดยกระบวนการที่ใช้ต้นทุนต่ำเพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับปุ๋ยน้ำ 2023-11-02T20:00:13+07:00 วิมลมาศ บุญมี 65056103@kmitl.ac.th เชาวเรศ แสงอรุณ chaowared@gmail.com บรรจง บุญชม 65056103@kmitl.ac.th นที โอ้ภาษี 65056103@kmitl.ac.th สรกิจจ์ มงคล 65056103@kmitl.ac.th ธนา กั่วพานิช 65056103@kmitl.ac.th บุบผา จงพัฒน์ 65056103@kmitl.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของกรดอะซิติกต่อการสังเคราะห์แคลเซียมอะซิเตทจากเปลือกหอยเชอรี่ ซึ่งตัวอย่างถูกเตรียมโดยปฏิกิริยาระหว่างผงเปลือกหอยเชอรี่ (CaCO<sub>3</sub>) กับกรดอะซิติกเข้มข้น 8, 10 และ 12 โมลาร์ โดยใช้อัตราส่วนโดยโมลของแคลเซียมคาร์บอเนตต่อกรดอะซิติกเป็น 1:2 จะได้ตัวอย่าง 3 ตัวอย่าง (CA8 CA10 และ CA12) จากนั้นวิเคราะห์โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีผงแคลเซียมอะซิเตทที่เตรียมได้โดยใช้เทคนิค X-ray Fluorescence (XRF), X-ray Powder Diffraction (XRD), Fourier Transform-infrared Spectroscopy (FTIR), Thermal Gravimetric Analysis (TG/DTG) และ Scanning Electron Microscopy (SEM) ผล FTIR และ XRD ยืนยันว่า โครงสร้างของสารประกอบที่เตรียมได้เป็น Ca(CH<sub>3</sub>COO)<sub>2</sub>.H<sub>2</sub>O โดยความเข้มข้นของกรดอะซิติกที่เพิ่มขึ้นไม่ส่งผลต่อโครงสร้างของแคลเซียมอะซิเตท แต่ส่งผลให้ขนาดอนุภาคของแคลเซียมอะซิเตทที่ได้มีขนาดเล็กลง ซึ่งตัวอย่างที่มีร้อยละผลผลิตและร้อยละการละลายสูงสุด คือ CA10 เมื่อนำสารประกอบแคลเซียมอะซิเตทที่สังเคราะห์ได้มาทดลองเตรียมสารละลายแคลเซียมอะซิเตทโดยนำตัวอย่าง 17.6 g ละลายในน้ำปราศจากไอออน 100 mL เมื่อนำสารละลายแคลเซียมอะซิเตทที่เตรียมได้ไปตรวจวัดด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer (AAS) พบว่า สารละลายที่เตรียมจาก CA10 มีปริมาณแคลเซียมสูงที่สุด ผลการวิจัยได้ข้อสรุปว่า สามารถผลิตปุ๋ยน้ำแคลเซียมจากสารประกอบแคลเซียมอะซิเตทจากเปลือกหอยเชอรี่เหลือทิ้งโดยกระบวนการที่รวดเร็วและต้นทุนต่ำได้ ซึ่งกระบวนการนี้เหมาะสมจะนำไปใช้ต่อยอดในระดับอุตสาหกรรม</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/258213 การศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ นิเวศวิทยา เรณูวิทยา และฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของต้นหยาดน้ำค้าง (Drosera burmanni Vahl) ในอำเภอเมืองและอำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2023-11-16T15:30:36+07:00 ปริญญา สุกแก้วมณี keangpsu@gmail.com อารยา ปรานประวิตร araya.pra@sru.ac.th <p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ นิเวศวิทยา เรณูวิทยาและฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของต้นหยาดน้ำค้าง (<em>Drosera burmanni</em> Vahl) ในป่าดั้งเดิม และป่าที่ถูกคุกคามในอำเภอเมืองและอำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพืชที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (Least concern) ในฐานข้อมูล IUCN โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (LM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่งกราด (SEM) ผลการศึกษาพรรณไม้ต้นที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูงสุด (IVI) คือ กระถิน (<em>Leucaena leucocepphala</em> (Lam.) de Wit) เสม็ดขาว (<em>Melaleuca quinquenervia</em> (Cav.) J.T. Blake) ปาล์มน้ำมัน <em>Elaeis guineensis</em> Jacq. จากการศึกษาค่าดัชนีความหลากหลายชนิดของชนิดพรรณไม้ (H) ไม้ต้น มีค่า 2.43 ในอำเภอเมือง และ 3.43 อำเภอกาญจนดิษฐ์ และค่าดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดพรรณ (E) ไม้ต้น มีค่า 0.38 ในอำเภอเมือง และ 0.56 ในพื้นที่ป่าดั้งเดิมอำเภอกาญจนดิษฐ์ และจากการศึกษาเรณูวิทยา พบว่า ละอองเรณูต้นหยาดน้ำค้าง มีลักษณะเรณูเป็นเม็ดสี่เม็ดเรียงติดกัน ชนิดของช่องเปิดเป็นแบบกลมผสมรี จำนวน 3 ช่องเปิด (3-Colpate) มีลวดลายผนังชั้นนอกเป็นแบบ มีลักษณะผิวมีหนามแบบแหลม (Acuminate) มีลวดลายแบบตาข่าย (Reticulate) มีความหนา 1-2 ไมครอน ขนาดเรณูเฉลี่ย 35-50 ไมครอน นอกจากนั้นมีการศึกษาสารสกัดหยาบต้นหยาดน้ำค้างในเอทานอล ที่พบในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีฤทธิ์ในการยั้งยั้งแบคทีเรีย <em>Staphylococcus aureus</em> โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางในการยับยั้งเชื้อเท่ากับ 10.33 ± 1.15 มิลลิเมตร ผลจากการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของพืชพื้นถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี