วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj
<p style="text-align: justify;"><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร</strong><strong> </strong></p> <p style="text-align: justify;"> เพื่อเผยแพร่ความรู้และผลงานวิชาการทางด้านการเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมแก่สังคม</p> <p style="text-align: justify;"><strong>ประเภทบทความ </strong></p> <p style="text-align: justify;"> วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวารสารเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย เปิดรับบทความประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ดังนี้สาขาเกษตรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องจัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ตามมาตรฐานวารสารวิชาการ</p> <p style="text-align: justify;"><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong></p> <p style="text-align: justify;"> ปีละ 3 ฉบับ คือ มกราคม – เมษายน, พฤษภาคม - สิงหาคม และ กันยายน - ธันวาคม</p> <p style="text-align: justify;"><strong>ประเภทของการ Peer-review</strong></p> <p style="text-align: justify;"> รูปแบบ (Double blinded) ในการพิจารณาบทความ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็น ขั้นแรกแล้วจัดให้มีกรรมการ ภายนอกร่วมกลั่นกรอง (peer review) 3 ท่าน ประเมินตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนด ในลักษณะเป็น double blinded คือ ปกปิดรายชื่อผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้อง</p> <p style="text-align: justify;"><strong>จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></p> <p style="text-align: justify;"> วารสารมีผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินบทความที่เชี่ยวชาญและตรงตามสาขาฯ (ทั้งภายในและภายนอก) จำนวน 3 ท่านต่อบทความ</p> <p style="text-align: justify;"><strong>** วารสารยังไม่มีการดำเนินการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ** เนื่องจากได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจากทางคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี</strong></p>
คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
th-TH
วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
2730-1648
<p style="color: #000000; font-family: &quot; noto sans&quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> <p style="color: #000000; font-family: &quot; noto sans&quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ<span style="background-color: #ffffff; color: #000000; cursor: text; display: inline; float: none; font-family: &quot; noto sans&quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">วารสารทดสอบระบบ ThaiJo2</span> หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จาก<span style="background-color: #ffffff; color: #000000; cursor: text; display: inline; float: none; font-family: &quot; noto sans&quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">วารสารทดสอบระบบ ThaiJo2</span> ก่อนเท่านั้น</p>
-
การพัฒนากระดาษใยไหมจากเศษไหมเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตผ้าไหม จังหวัดสุรินทร์ เพื่อใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/259665
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตกระดาษจากเศษไหมเหลือทิ้งหลังการกระบวนการผลิตผ้าไหม 2) เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตและศึกษาสมบัติของกระดาษใยไหม และ 3) เพื่อปรับปรุงสมบัติของกระดาษจากใยไหมให้มีคุณภาพเพื่อพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ การปรับปรุงสมบัติของกระดาษจากใยไหมโดยการใช้เยื่อกระดาษ 20 กรัม กับ กาวลาเท็กซ์ ร้อยละ 6 พบว่า กระดาษมีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถใช้กาวลาเท็กซ์ผสมเยื่อในขั้นตอนการผลิตกระดาษทำให้ได้กระดาษมีความแข็งแรงมากขึ้น เนื่องจากกาวลาเท็กซ์ทำหน้าที่ช่วยให้เยื่อไหมมีขนาดเล็กลง และกาวลาเท็กซ์ยังสามารถจับตัวกันอยู่ในเนื้อกระดาษแล้วยังช่วยเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเส้นใยด้วยกันเอง รวมทั้งเส้นใยกับกาวลาเท็กซ์เข้ากันได้ดีจึงส่งผลให้กระดาษที่ได้มีความแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีการออกแบบบรรจุผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยสู่ชุมชน มีความพึงพอใจในด้านความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ด้านผิวสัมผัสของผลิตภัณฑ์ ด้านหน้าที่การใช้งานของผลิตภัณฑ์ และด้านใช้งานได้จริง อยู่ในเกณฑ์ดี และผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการในการผลิตกระดาษใยไหม พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยกระดาษใยไหมมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น การผสมผสานวัสดุที่ดึงดูดความน่าสนใจ มีความสะดวกสบายในการใช้งาน มีความประณีตและลวดลายเป็นธรรมชาติ และการผลิตที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อน รวมถึงกรรมวิธีเหมาะสมกับการใช้งาน</p>
ยุพดี สินมาก
บัญชา ชื่นจิต
อภินันทิชัย โจมสติ
กัญญา เยี่ยมสวัสดิ์
แสงเดือน ธรรมวัตร
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
5 2
1
13
-
การประเมินลักษณะประจำพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลาง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/259844
<p>ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญ โดยเกษตรกรนิยมใช้พันธุ์ข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์แล้ว ซึ่งส่งผลให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองค่อย ๆ หายไป ซึ่งข้าวพันธุ์พื้นเมืองเป็นแหล่งเชื้อพันธุกรรมที่มีศักยภาพในการปรับปรุงพันธุ์ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางและประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยา โดยทำการเก็บรวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าว 7 พันธุ์จาก 4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดนครพนม บึงกาฬ มุกดาหาร และหนองคาย และใน 2 จังหวัดของประเทศลาว ได้แก่ จังหวัดคำม่วน และเชียงขวาง โดยมี กข6 (ข้าวเหนียว) และขาวดอกมะลิ 105 (ข้าวเจ้า) เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ทำการบันทึกข้อมูลลักษณะสัณฐานวิทยาทั้งหมด 24 ลักษณะ ใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแตกกอเต็มที่ ระยะออกรวงร้อยละ 50 และระยะออกรวงแล้ว 20-25 วัน ผลศึกษาพบว่า ข้าวพันธุ์พื้นเมืองทั้ง 7 พันธุ์ มีสัณฐานวิทยาแตกต่างกันอย่างชัดเจนเกือบทุกลักษณะ ยกเว้น ทรงกอและการแตกระแง้ ซึ่งมีเพียงรูปแบบเดียว มีข้าว 3 พันธุ์ที่มีลักษณะใบเป็นสีม่วงซึ่งเป็นลักษณะที่บ่งบอกถึงการมีสารแอนโทไซยานิน ได้แก่ ข้าวหอมนิล ข้าวเหนียวดำ และข้าวเหนียวก่ำไร่ และมีข้าว 3 พันธุ์ที่มีลักษณะขนที่แผ่นใบซึ่งเป็นลักษณะที่ช่วยลดการ ได้แก่ ข้าวเจ้าแดง ข้าวเหนียวหอม และข้าวเหนียวก่ำไร่ และพันธุ์ไก่น้อยมีความยาวของใบธงและจำนวนเมล็ดต่อต้นสูงซึ่งเป็นลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับผลผลิต ข้อมูลสัณฐานวิทยาเหล่านี้อาจนำไปใช้ประโยชน์ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคต</p>
ภากร พันธุพาน
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
5 2
14
29
-
หุ่นยนต์เดินตามเส้นสำหรับระบบการจัดการหนังสือห้องสมุด
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/261143
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามเส้นอัตโนมัติเคลื่อนย้ายหนังสือ เพื่อของบุคลากรในการเคลื่อนย้ายหนังสือในห้องสมุด หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ในบริเวณพื้นผิวเรียบแนวราบ มี 5 สถานีในการจอดเพื่อรับการจัดการหนังสือระยะทางรวม 200 เมตร ออกแบบหุ่นยนต์ขนาด 30 x 48 x 80 เซนติเมตร ขับเคลื่อน 4 ล้อ พบว่า จำนวนรอบที่เหมาะสมในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์คือจำนวน 4 รอบ โดยอ้างอิงจาก 70 กิโลกรัม แบตเตอรี่จากการชาร์จประจุเต็มคงเหลือ 8 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนัก 50 กิโลกรัม แบตเตอรี่คงเหลือ 10 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักหนังสือ 20 กิโลกรัม แบตเตอรี่คงเหลือ 15 เปอร์เซ็นต์ หุ่นยนต์สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวางได้ในระยะ 50 เซนติเมตร และหยุดตามจุดที่กำหนดเป็นระยะเวลา 2 นาที พร้อมทั้งส่งเสียงเตือน ซึ่งช่วยและทำให้งานการจัดเตรียมง่ายขึ้นหนังสือและยังช่วยลดงานประจำของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดอีกด้วย</p>
ปิยพัฒน์ พานเมือง
จารุวรรณ ธาระศัพท์
กิตติ ทูลธรรม
สุรกิจ อภิรักษากร
มีโชค ตั้งตระกูล
ชุมพล เสนาพันธ์
จักรกฤษณ์ ศรีทอง
อังศิมา งามดี
ปิยะพงษ์ ฤทธิธรรม
วรางคณา เหนือคูเมือง
พิสิฐ โมกขาว
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
5 2
30
39
-
ผลของการใช้สีน้ำเทียม (ชนิดสี และระดับความเข้มข้น) ต่อการลดอัตราการตาย เนื่องจากการกินกันเองของลูกปูม้า (Portunus pelagicus) ระยะ First crab
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/261483
<p>การศึกษานี้มี 2 วัตถุประสงค์ คือ ศึกษาผลของการใช้สีน้ำเทียมต่อการลดอัตราการตายเนื่องจากการกินกันเองของลูกปูม้า (<em>Portunus pelagicus</em>) ระยะ First crab โดยแบ่งเป็น 3 ชุดการทดลอง ได้แก่ ชุดควบคุม คือ ไม่ใส่สีน้ำเทียม (T0), ใส่สีน้ำเทียมสีเขียว (T1), และสีน้ำตาล (T2) ที่ความเข้มข้น 1 ส่วนในล้านส่วน และศึกษาระดับความเข้มข้นของสีน้ำเทียมสีน้ำตาลที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกปูม้าโดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ชุดควบคุม คือ 1 ส่วนในล้านส่วน (T0), 25 ส่วนในล้านส่วน (T1), และ 50 ส่วนในล้านส่วน (T2) ผลการศึกษาผลของการใช้สีน้ำเทียมต่ออัตราการตายเฉลี่ย พบว่า ลูกปูม้าที่เลี้ยงในชุดการทดลอง T2 มีอัตราการตายเฉลี่ยต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับชุดการทดลอง T0 และ T1 โดยมีค่าอัตราการตายเฉลี่ยเท่ากับ 4.62±1.48, 9.75±2.39 และ 11.85±3.31 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ ส่วนผลการใส่สีน้ำเทียมสีน้ำตาลที่ระดับความเข้มข้นต่างกันนั้น พบว่า ลูกปูม้าในชุดการทดลอง T1 และ T2 นั้น มีอัตราการตายเฉลี่ยต่ำกว่า (p<0.05) ชุดการทดลอง T0 โดยมีค่าอัตราการตายเฉลี่ย เท่ากับ 14.91±3.19, 18.13±9.71 และ 32.00±2.52 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ ดังนั้นผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การอนุบาลลูกปูม้าระยะ First crab ด้วยการใส่สีน้ำเทียมสีน้ำตาลจะสามารถลดการกินกันเองของลูกปูม้าได้ดีที่สุด และระดับความเข้มข้นของสีน้ำเทียมสีน้ำตาลที่เหมาะสม คือ 25 ส่วนในล้านส่วน เป็นระดับที่ช่วยลดอัตราการตายของลูกปูม้าและคุ้มค่า</p>
ชลดา ลีอร่าม
รุ่งทิวา คนสันทัด
วาสนา อากรรัตน์
วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
5 2
40
50
-
รูปแบบระบบหมุนเวียนน้ำต่อการเพาะพันธุ์ปลาในบ่อดินด้วยไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/259971
<p>การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำถือเป็นการลดข้อจำกัดด้านพลังงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงโดยตรงซึ่งต้องการคุณภาพน้ำที่ดีสำหรับพัฒนาการของปลาวัยอ่อน ผู้วิจัยจึงใช้ระบบหมุนเวียนน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่แตกต่างกันมาใช้เพาะพันธุ์สัตว์น้ำโดยมีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการใช้งาน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ระบบหมุนเวียนน้ำแบบเหนือน้ำและใต้น้ำ แล้วใช้ระบบดังกล่าวในการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาวขนาด 172.6±113.7 กรัม ทำการทดลองทั้งหมด 3 ซ้ำ เก็บข้อมูลปริมาณไข่ทั้งหมด จำนวนไข่ดี อัตราการปฏิสนธิ จำนวนลูกปลาและอัตราการฟักเป็นตัว ผลการศึกษาระบบหมุนเวียนน้ำทั้งสองแบบพบว่า จำนวนไข่ทั้งหมด จำนวนไข่ดี และอัตราการปฏิสนธิไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) จำนวนลูกปลาพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนด้านอัตราการฟักมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p<0.01) นอกจากนี้ยังพบว่าคุณภาพน้ำทุกค่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แม้ว่าข้อมูลของการศึกษานี้จะสรุปได้ว่าระบบหมุนเวียนน้ำแบบเหนือน้ำให้ผลที่ดีกว่าแบบใต้น้ำ แต่ข้อมูลค่าจำนวนไข่ดี อัตราการปฏิสนธิ จำนวนลูกปลาและอัตราการฟักเป็นตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเมื่อเทียบกับการศึกษาอื่นซึ่งอาจเกิดจากอัตราการไหลของน้ำที่มากเกินไปจนไข่ปลาเกิดความเสียหาย การปรับลดความแรงของน้ำหรือเพิ่มช่องทางออกของท่อน้ำจึงอาจช่วยทำให้ผลการศึกษามีความชัดเจนมากขึ้น</p>
ศตพร โนนคู่เขตโขง
วิจิตรตา อรรถสาร
อดิเทพชัยย์การณ์ ภาชนะวรรณ
วัลจิราพร รอดชุม
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
5 2
51
58
-
การสังเคราะห์และวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของฟิล์มบางซีเซียมไอโอไดด์ ที่ปลูกด้วยเทคนิคสปัตเตอริง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/261600
<p>การพัฒนาอุปกรณ์วัดรังสีของฟิล์มบางซีเซียมไอโอไดด์ (CsI) ปลูกบนฐานรอง Si(100) โดยเทคนิคสปัตเตอริงอาร์เอฟแมกนีตรอนที่ได้มีการปรับค่ากำลังสปัตเตอริงที่ 10, 30 และ 50 วัตต์ ซึ่งใช้เวลาสังเคราะห์ฟิล์มบาง 30 นาที ภายใต้ความดันบรรยากาศก๊าซอาร์กอน 10 มิลลิทอร์ ฟิล์มบางที่ได้มีลักษณะเฉพาะเชิงโครงสร้างโดยวิเคราะห์การเลี้ยวเบนมุมเล็กๆของรังสีเอกซ์ (GIXRD) ลักษณะทางกายภาพโดยวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ชนิดฟิลด์อีมิสชัน (FE-SEM) คุณสมบัติเชิงแสงวิเคราะห์ด้วยการวัดค่าเปล่งแสง (PL) และคุณสมบัติไฟฟ้าวิเคราะห์จากปรากฎการณ์ฮอลล์ (Hall Effect) ผลการวิเคราะห์ GIXRD พบว่าฟิล์มบาง CsI มีโครงสร้างลูกบาศก์ (BCC) โดยแสดงระนาบที่โดดเด่น คือ CsI(100) และ CsI(211) ซึ่งมีค่าคงที่แลตทิชของโครงสร้างผลึกของคือ 4.5622 ± 0.0024 Å ภายใต้ความเค้นแบบยืดออกน้อยมาก ๆ ที่ -0.004% ลักษณะทางกายภาพ FE-SEM แสดงให้เห็นความหนาของฟิล์มบาง CsI ที่ปลูกด้วยกำลังสปัตเตอริง 50 วัตต์ ให้การจัดเรียงตัวของผลึกที่หนาแน่น โดยมีอัตราการเคลือบที่ 400 นาโนเมตรต่อชั่วโมง วัดการเปล่งแสง PL ระบุว่าฟิล์มบาง CsI ดูดกลืนและปลดปล่อยโฟตอนด้วยพลังงานกระตุ้นความยาวคลื่น 200 นาโนเมตร ซึ่งเปล่งแสงออกมาหลายพีคในช่วง 420-470 นาโนเมตร ปรากฎการณ์ฮอลล์แสดงให้เห็นฟิล์มบาง CsI เป็นสารกึ่งตัวนำประเภทพี ที่มีความหนาแน่นของประจุพาหะ 2.935 x 10<sup>15</sup> ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และสภาพความต้านทานไฟฟ้า 0.3735 กิโลโอห์มเซนติเมตร ผลการทดลองทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ฟิล์มบางซีเซียมไอโอไดด์ที่สังเคราะห์จากเทคนิคการสปัตเตอริงมีแนวโน้มที่ดีในการพัฒนาการตรวจจับรังสีได้ในอนาคต</p>
ปริวรรต ลิ่มธนะเมธีกุล
พรรณี แสงแก้ว
มติ ห่อประทุม
ทศพร เลิศวณิชผล
กิตติธัช ธนสิวะวงษ์
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
5 2
59
68
-
การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยนวัตกรรมท่องเที่ยวอัจฉริยะ บนฐานนโยบายประเทศไทย 4.0
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/260131
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีนวัตกรรมท่องเที่ยวอัจฉริยะการท่องเที่ยวเชิงกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีกระบวนการวิจัย คือ 1) เก็บรวบรวมความต้องการ/การมีส่วนร่วมกำหนดรูปแบบและการใช้งานนวัตกรรม 2) วิเคราะห์และออกแบบระบบด้วยหลักการเชิงวัตถุ และใช้แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ 3) พัฒนานวัตกรรมในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน และ 4) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของนักท่องเที่ยวในการใช้นวัตกรรม ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมท่องเที่ยวอัจฉริยะการท่องเที่ยวเชิงกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวโดยรวม ส่วนจัดการข้อมูลท่องเที่ยว ส่วนจัดการสมาชิก ส่วนแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวส่วนบุคคล และแชตบอตส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลการประเมินความสามารถในการใช้งานได้ของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.26, S.D. = 0.54) โดยมีความพึงพอใจด้านความยืดหยุ่นของการใช้งานมากที่สุด ( x= 4.45, S.D. = 0.57) รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการเรียนรู้ได้ ( x= 4.40, S.D. = 0.64) ด้านประสิทธิผล ( x= 4.27, S.D. = 0.47) ด้านประสิทธิภาพของการใช้งาน ( x= 4.13, S.D. = 0.65) และด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ( x= 4.07, S.D. = 0.39) ตามลำดับ ผลการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีตามแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี พบว่า นักท่องเที่ยวมีการยอมรับเทคโนโลยีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x= 4.08, S.D. = 0.72) โดยด้านที่มีระดับการยอมรับเทคโนโลยีสูงที่สุด คือ การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ ( x= 4.15, S.D. = 0.66) รองลงมาคือ การเข้าถึงบริการ ( x= 4.11, S.D. = 0.70) การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ( x= 4.08, S.D. = 0.74) และสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ( x= 3.97, S.D. = 0.80)</p>
วิไลรัตน์ ยาทองไชย
ชูศักดิ์ ยาทองไชย
กมลรัตน์ สมใจ
พวงเพชร ราชประโคน
ปุริม ชฏารัตนฐิติ
วรินทร์พิพัชร วัชรพงษ์เกษม
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
5 2
69
82
-
ผลกระทบของสารกำจัดวัชพืช 2, 4-D ไดเมททิลแอมโมเนียมต่อการเหนี่ยวนำการสังเคราะห์ไวเทลโลเจนินในพลาสมาของปลานิล (Orechromis niloticus) และการศึกษาในภาคสนาม
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/262267
<p>สารกำจัดวัชพืชที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ สามารถรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ โดยชักนำให้ปลาเพศผู้หรือปลาวัยอ่อนสังเคราะห์ไวเทลโลเจนิน งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาการเหนี่ยวนำไวเทลโลเจนินในพลาสมาของปลานิล (<em>Oreochromis niloticus</em>) โดยใช้สารกำจัดวัชพืช 2,4-D ไดเมททิลแอมโมเนียม โดยแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ 1) การศึกษาในห้องปฏิบัติการด้วยการเหนี่ยวนำไวเทลโลเจนินด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน (E<sub>2</sub>) และสารกำจัดวัชพืช 2,4-D ระดับความเข้มข้นที่ไม่ก่อให้เกิดการตาย (2.5 ไมโคลิตรต่อลิตร) โดยวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนรวมในพลาสมา ศึกษารูปแบบของโปรตีนด้วยเทคนิค SDS-PAGE และการแสดงออกของไวเทลโลเจนินด้วยเทคนิคทางแอนติบอดี คือ เวสเทิร์นบลอทและดอทบลอท ร่วมกับการศึกษาภาคสนาม โดยเก็บตัวอย่างปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์ และฟาร์มปลาเอกชนที่ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนงในระบบเพาะเลี้ยง โดยนำมาศึกษาปริมาณโปรตีน การแสดงออกของโปรตีน และการแสดงออกของไวเทลโลเจนิน ร่วมกับการตรวจสอบการปนเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืชในน้ำด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย GT test kit ผลการศึกษาพบว่า ปลานิลที่ได้รับสัมผัสสารกำจัดวัชพืช 2,4-D สามารถเหนี่ยวนำให้มีการสังเคราะห์ไวเทลโลเจนินได้เช่นเดียวกับ E<sub>2</sub> โดยไวเทลโลเจนินที่พบมีขนาด 250 และ 220 กิโลดาลตัน ส่วนปลาธรรมชาติจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง 4 ชนิด ที่ทำการศึกษา คือ ปลาช่อน ปลาดุกรัสเซีย ปลาบู่ และปลาดุกลูกผสม ไม่พบการแสดงออกของไวเทลโลเจนิน ส่วนปลานิลจากฟาร์มเอกชน พบการแสดงออกของไวเทลโลเจนินในทุกตัวอย่างที่ศึกษา สอดคล้องกับผลการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารกำจัดวัชพืชในน้ำให้ผลบวกเช่นเดียวกัน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าสารกำจัดศัตรูพืช 2,4-D มีผลต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อ โดยตรวจสอบได้จากการใช้ไวเทลโลเจนินเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพ ซึ่งการบริโภคปลาที่ได้รับสารเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดการสะสมสารกำจัดวัชพืชเพิ่มขึ้นตามลำดับห่วงโซ่อาหารและเป็นอันตรายกับมนุษย์ได้</p>
น้ำทิพย์ จันถาวร
พงศ์ภัทร เกียรติประเสริฐ
วิชชุดา ประสาทแก้ว
พัชรี มงคลวัย
พอจิต นันทนาวัฒน์
ชุติมา ถนอมสิทธิ์
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
5 2
83
98
-
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกปลาอิมัลชันจากปลาน้ำจืด
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/261622
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกปลาอิมัลชันจากปลาน้ำจืดและศึกษาชนิดของสารยึดเกาะที่เหมาะสม จากการผลิตไส้กรอกจากปลาน้ำจืด 5 ชนิด คือ ปลากราย ปลาช่อน ปลาดุก ปลานิล และปลาทับทิมผลการประเมินทางประสาทสัมผัสโดยใช้สเกลความชอบ 9 ระดับ พบว่า ไส้กรอกปลาช่อนมีคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุด (7.17 คะแนน) เมื่อนำไปศึกษาชนิดของสารยึดเกาะที่เหมาะสมในการผลิตจากสารยึดเกาะ 5 ชนิด คือ แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวโพด แป้งข้าวเจ้า แป้งสาลี และโปรตีนถั่วเหลืองสกัด พบว่า ไส้กรอกสูตรที่ใช้โปรตีนถั่วเหลืองสกัดและไส้กรอกสูตรที่ใช้แป้งมันสำปะหลังมีคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุด (p≤0.05) มีคะแนนอยู่ในช่วง 7.72-7.73 ส่วนค่าแรงเฉือนและค่าความแน่นเนื้ออยู่ในช่วง 2.68-3.03 นิวตัน และ 0.35-0.38 นิวตัน ตามลำดับ ทุกสูตรการผลิตไส้กรอกมีค่าสี L*, a* และ b* ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเลือกใช้โปรตีนถั่วเหลืองสกัดเนื่องจากมีปริมาณโปรตีนมากกว่าแป้งมันสำปะหลัง จากนั้นนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่า ไส้กรอกปลาช่อนที่ใช้โปรตีนถั่วเหลืองสกัดมีปริมาณความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า เส้นใย และคาร์โบไฮเดรต เท่ากับ ร้อยละ 77.66, 15.30, 2.75, 1.92, 0.60 และ 1.77 ตามลำดับ คุณภาพด้านจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเรื่องไส้กรอกปลา(มผช.143/2555)</p>
กัญญา รัชตชัยยศ
บำเพ็ญ นิ่มเขียน
สุภัทรา กล่ำสกุล
ประกาศ ชมภู่ทอง
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
5 2
99
111
-
การพัฒนาต้นแบบวิธีเลี้ยงอึ่งปากขวด (Glyphoglossus molossus Günther, 1869) ในบ่อคอนกรีตแบบกลมและแบบสี่เหลี่ยม
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/258691
<p>อึ่งปากขวด (<em>Glyphoglossus molossus</em> Günther, 1869) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สัตว์ชนิดนี้ถูกจัดอยู่ในประเภทสัตว์เสี่ยงใกล้ถูกคุกคามโดย IUCN เนื่องจากถูกจับมาเป็นอาหารโดยคนในท้องถิ่นมากเกินไป การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตในระยะลูกอึ่งถึงอายุ 225 วัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ทำการทดลองเลี้ยงในบ่อสภาพเลียนแบบธรรมชาติ 2 รูปแบบ ได้แก่ ในบ่อคอนกรีตแบบกลมและในบ่อคอนกรีตแบบสี่เหลี่ยม ผลการทดลองพบว่า การเลี้ยงในบ่อคอนกรีตแบบสี่เหลี่ยมให้ผลการเจริญเติบโตดีกว่าการเลี้ยงในบ่อคอนกรีตแบบกลมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เมื่อเทียบกันแต่ละช่วงอายุ โดยมีน้ำหนักเฉลี่ยที่อายุ 45, 90, 135, 180 และ 225 วัน เท่ากับ 4.15, 10.84, 18.95, 23.66 และ 24.65 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่การเลี้ยงบ่อคอนกรีตแบบกลม มีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 0.64, 1.57, 2.70, 3.84 และ 5.04 กรัม ตามลำดับ โดยสรุป การเลี้ยงอึ่งปากขวดในบ่อคอนกรีตเลียนแบบสภาพธรรมชาติสามารถทำได้โดยใช้ปลวกเป็นอาหารหลัก โดยที่การเลี้ยงในบ่อคอนกรีตแบบสี่เหลี่ยมให้ผลการเจริญเติบโตที่ดีกว่า ขนาดพื้นที่ของบ่อและการจัดสภาพแวดล้อมในบ่อใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุดเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการการเจริญเติบโตของอึ่งปากขวด</p>
ไกรฤกษ์ ทวีเชื้อ
วุฒิชัย ฤทธิ
สุมิตานันท์ จันทะบุรี
ญาณพัฒน์ พรมประสิทธิ์
Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
5 2
112
126