วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj <p style="text-align: justify;"><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร</strong><strong> </strong></p> <p style="text-align: justify;"> เพื่อเผยแพร่ความรู้และผลงานวิชาการทางด้านการเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมแก่สังคม</p> <p style="text-align: justify;"><strong>ประเภทบทความ </strong></p> <p style="text-align: justify;"> วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวารสารเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย เปิดรับบทความประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ดังนี้สาขาเกษตรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องจัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ตามมาตรฐานวารสารวิชาการ</p> <p style="text-align: justify;"><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong></p> <p style="text-align: justify;"> ปีละ 3 ฉบับ คือ มกราคม – เมษายน, พฤษภาคม - สิงหาคม และ กันยายน - ธันวาคม</p> <p style="text-align: justify;"><strong>ประเภทของการ Peer-review</strong></p> <p style="text-align: justify;"> รูปแบบ (Double blinded) ในการพิจารณาบทความ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็น ขั้นแรกแล้วจัดให้มีกรรมการ ภายนอกร่วมกลั่นกรอง (peer review) 3 ท่าน ประเมินตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนด ในลักษณะเป็น double blinded คือ ปกปิดรายชื่อผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้อง</p> <p style="text-align: justify;"><strong>จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></p> <p style="text-align: justify;"> วารสารมีผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินบทความที่เชี่ยวชาญและตรงตามสาขาฯ (ทั้งภายในและภายนอก) จำนวน 3 ท่านต่อบทความ</p> th-TH <p style="color: #000000; font-family: &amp;quot; noto sans&amp;quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> <p style="color: #000000; font-family: &amp;quot; noto sans&amp;quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ<span style="background-color: #ffffff; color: #000000; cursor: text; display: inline; float: none; font-family: &amp;quot; noto sans&amp;quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">วารสารทดสอบระบบ ThaiJo2</span> หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จาก<span style="background-color: #ffffff; color: #000000; cursor: text; display: inline; float: none; font-family: &amp;quot; noto sans&amp;quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;">วารสารทดสอบระบบ ThaiJo2</span> ก่อนเท่านั้น</p> atj.rmuti@gmail.com (วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน) atj.rmuti@gmail.com (นางสาวจุฑามาศ พอกพูน) Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การตอบสนองของพันธุ์มันสำปะหลังต่อการเจริญเติบโตในช่วงต้น ต่อชนิดของปุ๋ยคอก ที่แตกต่างกัน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/260289 <p>ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจในอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น การเลือกชนิดปุ๋ยคอกที่เหมาะสมกับพันธุ์จะเป็นแนวทางในการผลิตอาหารปลอดภัยได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยคอกชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตในช่วงต้นของมันสำปะหลัง 3 พันธุ์ โดยออกแบบการทดลองแบบ factorial in completely randomized design (CRD) ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ชนิดปุ๋ย 4 ชนิด (ไม่ใส่ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยมูลไก่, มูลสุกร, และมูลโค) และพันธุ์มันสำปะหลัง 3 พันธุ์ (ระยอง 9, ระยอง 11 และเกษตรศาสตร์ 50) ทำการทดลองในกระถางจำนวน 4 ซ้ำ ภายใต้สภาพโรงเรือนสาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม โดยทำการวิเคราะห์คุณสมบัติดินก่อนปลูก และใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 500 กก./ไร่ เมื่อมันสำปะหลังมีอายุ 30 วันหลังปลูก ทำการเก็บข้อมูลที่อายุ 30, 60 และ 90 วันหลังปลูก ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยมูลไก่ส่งผลให้น้ำหนักแห้งรวมและน้ำหนักรากสะสมอาหารสูงที่สุด พันธุ์ระยอง 9 มีน้ำหนักแห้งรวม น้ำหนักแห้งต้น และน้ำหนักแห้งรากสะสมอาหารสูงที่สุด พบปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างการใช้ปุ๋ยมูลไก่ในพันธุ์ระยอง 9 โดยส่งผลให้มีมวลชีวภาพ น้ำหนักแห้งรากสะสมอาหารและน้ำหนักแห้งต้น ที่อายุ 60 และ 90 วันหลังปลูก และอัตราการเจริญเติบโตในช่วง 30–60 วันหลังปลูก สูงที่สุด ในขณะที่การใช้ปุ๋ยมูลสุกรในพันธุ์ระยอง 11 ทำให้มีน้ำหนักแห้งใบที่อายุ 60 และ 90 วันหลังปลูก และอัตราการเจริญเติบโตของใบในช่วง 30–60 และ 60–90 วันหลังปลูก สูงที่สุด ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปลูกมันสำปะหลังแบบอินทรีย์ได้</p> ภากร พันธุพาน, ภาณุพงศ์ ผลเจริญ, ชัชวาล แสงฤทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/260289 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับช้างบาดเจ็บ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/262236 <p>งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับช้างที่ได้รับบาดเจ็บ เป้าหมายหลักของงานวิจัยคือการออกแบบระบบที่สามารถใช้เพื่อช่วยเหลือช้างที่ได้รับบาดเจ็บและไม่สามารถลุกยืนได้ด้วยตัวเองให้ได้รับการรักษาเบื้องต้นก่อนที่จะนำช้างไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล กระบวนการเข้าช่วยเหลือช้างบาดเจ็บต้องกระทำอย่างรวดเร็วและปลอดภัยทั้งสำหรับผู้ปฏิบัติงานและช้างเอง ระบบพยุงน้ำหนักนี้มีการออกแบบเพื่อให้การช่วยเหลือช้างนั้นเป็นไปอย่างสะดวก สามารถลากจูงได้ด้วยรถกระบะทั่วไปที่ความเร็วในการลากจูงไม่เกิน 60 km/hr น้ำหนักออกแบบระบบพยุงนี้พิจารณาที่น้ำหนักยกเท่ากับ 14.7 kN ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักพยุงประมาณ 30% ของน้ำหนักเฉลี่ยของช้างไทยเต็มวัย 49.1 kN เส้นรอบอกและความสูงของช้างไทยเต็มวัยที่ใช้ในการออกแบบนี้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 400 และ 300 cm ตามลำดับ ผลจากการทดสอบระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนในห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่าระบบนี้สามารถยกน้ำหนักได้สูงสุดถึง 19.6 kN ที่ความสูงยก 3.5 m เมื่อระบบนี้ไปใช้งานกับช้างบาดเจ็บที่มีน้ำหนักเท่ากับ 49.1 kN จะมีค่าความเสถียรภาพ (N) เท่ากับ 1.33</p> ภาคย์ พราหมณ์แก้ว , ปรัชญา มุขดา , กังสดาล สกุลพงษ์มาลี , ช่วงชัย ชุปวา , อิทธิพัฒน์ รูปคม , กฤษณ์ ไชยวงศ์ , อลงกรณ์ ฉัตรเมืองปัก , บัณฑิตพงษ์ ศรีอำนวย , มหิศร ประภาสะโนบล , ขวัญชัย หนาแน่น Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/262236 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบและการใช้งานระบบตรวจสอบมลพิษทางอากาศ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/262468 <p>ปัญหามลพิษในอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบหลากหลายด้านรวมถึงสุขภาพของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น การรับรู้และการระบุคุณภาพของอากาศจึงมีความสำคัญต่อการวางแผนและการจัดการปัญหานี้อย่างเหมาะสม บทความนี้นำเสนอการออกแบบระบบตรวจวัดมลพิษในอากาศโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เพื่อวัดค่าอุณหภูมิและค่าความชื้นด้วยเซ็นเซอร์ DHT11 และวัดปริมาณแก๊สหุงต้ม แก๊สไฮโดรเจน และแก๊สบิวเทน ด้วยเซ็นเซอร์ MQ2 โดยระบบดังกล่าวควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ Node MCU ในการควบคุมการทำงานของพัดลมเพื่อระบายอากาศเมื่ออุณหภูมิเกิน 36 องศาเซลเซียส และแสดงสัญญาณการเตือนเมื่อค่าความเข้มข้นของแก๊สมากกว่า 200 ส่วนต่อล้าน ผลการทดลองพบว่า ช่วงเวลาในการทดลองมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิอยู่ที่ 33.48 องศาเซลเซียส ค่าความชื้นเฉลี่ยที่ 47 เปอร์เซ็นต์ และค่าเฉลี่ยของแก๊สที่ 262 ส่วนต่อล้าน โดยข้อมูลถูกแสดงผลบนแดชบอร์ดผ่านเว็บไซต์ของบลิงก์ และยังแสดงผลผ่านมือถือที่ติดตั้งแอปพลิเคชันบลิงก์ด้วย</p> ปิยพัฒน์ พานเมือง, จักรกฤษณ์ ศรีทอง, สุรกิจ อภิรักษากร, กิตติ ทูลธรรม Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/262468 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของสภาวะการเก็บรักษาต่อการเปลี่ยนแปลงภายหลังการเก็บเกี่ยวของใบผักโขมสวนสด https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/261544 <p>ใบผักโขมสวนสดมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวได้เร็วส่งผลให้ความสามารถทางการตลาดลดลง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสภาวะการเก็บรักษาประกอบด้วยอุณหภูมิ (10-35°C) และเวลา (10 วัน) ต่ออัตราการหายใจ น้ำหนักสด และกรดแอสคอร์บิกภายหลังการเก็บเกี่ยวของใบผักโขมสวนสด ผลทดลอง พบว่า การเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวดังกล่าวที่อุณหภูมิ 10°C เกิดขึ้นได้ช้ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิ 25°C และ 35°C การเพิ่มขึ้นของอัตราการหายใจสัมพันธ์กับอุณหภูมิในลักษณะของเอกซ์โปเนนเชียล (Exponential) และทำนายได้ดีด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ของอาร์รีเนียส (Arrhenius model) มีค่า R<sup>2</sup> และ RMSE (Root Mean Square of Errors) เท่ากับ 0.98 และ 0.08 ตามลำดับ และค่า energy of activation เท่ากับ 32.65 kJ mol<sup>-1</sup> ใบผักโขมสูญเสียน้ำหนักสดอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะที่ 25°C และ 35°C มีร้อยละการสูญเสียน้ำหนักสดสูงกว่า 2.50 ภายหลังเก็บรักษา 3 วัน ใบผักโขมเหี่ยวเฉาและไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ในทางตรงกันข้ามที่ 10°C ใบผักโขมสูญเสียน้ำหนักสดต่ำกว่าร้อยละ 3.50 และมีลักษณะปรากฏที่สดตลอดการเก็บรักษา ปริมาณกรดแอสคอร์บิกลดลงอย่างต่อเนื่องจากค่าเริ่มต้น (11.48 mg 100g<sup>-1</sup>) และเกิดขึ้นได้เร็วมากที่ 25°C และ 35°C ปริมาณกรดแอสคอร์บิกในแต่ละช่วงเวลาทำนายได้ดีด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ First Order Fractional Conversion (FOFC model) มีค่า R<sup>2</sup> และ RMSE เท่ากับ 0.99 และ 0.001-0.120 ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของค่าสัมประสิทธิ์ FOFC model มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิแบบเอกซ์โปเนนเชียลและทำนายได้ดีด้วย Arrhenius model มีค่า R<sup>2</sup> และ RMSE เท่ากับ 0.99 และ 0.02 ตามลำดับ และมีค่า energy of activation เท่ากับ 93.10 kJ mol<sup>-1</sup> ข้อมูลจากผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางเพื่อวางแผนชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผักโขมสดในระหว่างการเก็บรักษา</p> สุกัญญา บุญตะนัย, หทัยพร กัมพวงค์, กฤตยา อุทโธ, วีรเวทย์ อุทโธ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/261544 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของอุณหภูมิและระยะเวลาการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งต่อคุณภาพกล้วยหอมทองอบกรอบ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/261590 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการผลิตกล้วยหอมทองอบกรอบด้วยวิธีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง โดยศึกษาสภาวะอุณหภูมิและเวลาของการทำแห้งขั้นต้นที่อุณหภูมิ -15 องศาเซลเซียส และ -20 องศาเซลเซียส เวลา 12 14 และ 16 ชั่วโมง ตามลำดับ และการทำแห้งขั้นที่สองที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เวลา 14 16 และ 18 ชั่วโมง ผลการประเมินสภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการทำแห้ง พบว่า คุณภาพด้านประสาทสัมผัสของกล้วยหอมทองอบกรอบทำแห้งขั้นต้นที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เวลา 16 ชั่วโมง และทำแห้งขั้นที่สองที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เวลา 18 ชั่วโมง ผู้ทดสอบให้คะแนนด้านสี และเนื้อสัมผัสอยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p£0.05) ส่วนด้านลักษณะปรากฏ รสชาติและความชอบโดยรวมมีคะแนนไม่แตกต่างกันอยู่ในระดับชอบปานกลาง (p&gt;0.05) คุณภาพทางกายภาพด้านค่าสีมีค่า L* a* และ b* ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณกรด ปริมาณความชื้น และปริมาณน้ำอิสระของกล้วยหอมทองอบกรอบที่ทำแห้งทั้ง 2 สภาวะนั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&gt;0.05) ส่วนคุณภาพด้านเนื้อสัมผัส พบว่า ค่าความแข็งของกล้วยหอมทองอบกรอบที่ทำแห้งทั้ง 2 สภาวะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p£0.05) มีค่าที่ 19.42 และ 16.61 นิวตัน ตามลำดับ</p> ประกาศ ชมภู่ทอง, กัญญา รัชตชัยยศ, บำเพ็ญ นิ่มเขียน , สุภัทรา กล่ำสกุล Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/261590 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตและวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ของดอกสายหยุด https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/263084 <p>การใช้สารพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตเพื่อกระตุ้นตาดอก และให้จำนวนดอกดก และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในดอกสายหยุด โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (Randomized complete block design: RCBD) ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ประกอบด้วยระดับความเข้มข้นของสารพาโคลบิวทราโซล จำนวน 5 ระดับ ได้แก่ 0 5.5 6.5 7.5 และ 8.5 กรัมต่อลิตร โดยปลูกลงกระถางดำขนาด 20 นิ้ว ใช้วัสดุปลูก ได้แก่ มะพร้าวสับร่วมกับดินผสมใบก้ามปู อัตราส่วน 1:1 ราดสารพาโคลบิวทราโซลลงดินทุก 15 วันหลังปลูก บันทึกการเจริญเติบโตทุก 15 วัน เป็นเวลา 2 เดือน และบันทึกจำนวนดอกเป็นเวลา 3 เดือน จากการทดลอง พบว่า ต้นสายหยุดอายุ 2 เดือน ส่งผลให้ต้นควบคุมมีความสูงต้น จำนวนยอด ขนาดทรงพุ่ม มากที่สุด เท่ากับ 99.9 เซนติเมตร 11 ยอดต่อต้น 58.5 เซนติเมตร ส่วนจำนวนดอก และน้ำหนักสดดอก มีค่าเท่ากับ 85 และ 8.98 กรัม ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า การใช้สารพาโคลบิวทราโซลสามารถชะลอการเจริญเติบโต ทำให้พืชมีความสูง และความกว้างทรงพุ่มลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ ส่วนสารที่เป็นองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหย พบว่า มีจำนวน 35 ชนิด เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ Asarone (50.50%) ᵦ-Asarone (16.65%) Isohomogenol (9.06%) 6-Epishyobunone (4.33%) (+)-2-Bornanone (1.98%) Trans-ᵦ-Ocimene (1.74%) 3-Carene (1.10%) และพบสารประกอบอื่นที่เป็นประโยชน์อีกหลายชนิด</p> อนันต์ พิริยะภัทรกิจ, พรกมล รูปเลิศ , มารียาห์ แสนแก้ว , พัชรี เดชเลย์, นิรันดร์ วิพันธุ์เงิน Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/263084 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 Enhancing water quality monitoring in shrimp ponds using machine learning and bio-inspired optimization https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/263318 <p>This work investigates how to improve water quality monitoring in shrimp ponds by combining machine learning and bio-inspired optimization techniques. Preprocessing the dataset is crucial before applying and evaluating classifiers like LR, DT, RF, SVM, KNN, NB and GBC against water quality indicators. Using criteria such as accuracy, precision, recall, F1-score and AUC, as well as computational aspects like as model size and CPU time, the study concludes that the RF model is clearly superior. It is further enhanced using approaches such as EBAO, EACO, ECBOA and EPSO, resulting in significant gains in prediction performance, particularly precision and recall. Among optimization methodologies, EACO stands out for striking a balance between performance enhancement and computing efficiency. The results highlight the importance of merging machine learning with bio-inspired algorithms in environmental monitoring, demonstrating a compelling methodology for improving water quality management in aquaculture. This complete approach not only enhances the precision of water quality assessments in shrimp farming but also establishes a precedent for future applications in environmental science and technology.</p> surasit songma, Watcharakorn Netharn, Rungkiat Kawpet Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/263318 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของวัสดุปลูกต่อผลผลิตของฟักทองบัตเตอร์นัท https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/261333 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสูตรวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการปลูกฟักทองบัตเตอร์นัท วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) ทำการปลูกฟักทองบัตเตอร์นัทในดินและวัสดุปลูกที่พัฒนาขึ้น จำนวน 4 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 คือหน้าดิน ส่วนสูตรที่ 2 ที่ใช้ขุยมะพร้าว สูตรที่ 3 ที่มีส่วนผสมของขุยมะพร้าว แกลบดำ มูลโคนม อัตราส่วน 1:1:1 และสูตรที่ 4 ที่มีส่วนผสมของมูลโคนม ½ ส่วน หน้าดิน ½ ส่วน ขุยมะพร้าว 2 ส่วน แกลบดำ ½ ส่วน แกลบไก่ ¼ ส่วน ผสมให้เข้ากันปรุงแต่งด้วยรำละเอียด กากถั่วเหลือง จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง และกากน้ำตาล ทดสอบปลูกกับฟักทองบัตเตอร์นัทสายพันธุ์สควอช จำนวน 4 ซ้ำ ๆ ละ 10 ต้น ในกระถางสีดำเจาะรู ขนาดปากกระถางเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 นิ้ว ความสูงกระถาง 10.5 นิ้ว และ ก้นกระถางเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.5 นิ้ว จากการทดลองพบว่าวัสดุปลูกสูตรที่ 4 มีคุณสมบัติทางเคมีและธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการปลูกมากที่สุด รองลงมา คือ สูตรที่ 3 และ สูตรที่ 1 ส่วนสูตรที่ 2 ที่ใช้ขุยมะพร้าวเพียงอย่างเดียวมีความเหมาะสมน้อยที่สุด เมื่อนำมาทดลองปลูก พบว่า ฟักทองบัตเตอร์นัทมีการเจริญเติบโตและคุณภาพผลผลิตดีที่สุดที่ปลูกโดยใช้วัสดุปลูกสูตรที่ 4 รองลงมา คือ สูตรที่ 3 สูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 ตามลำดับ ดังนั้นแนะนำให้ใช้วัสดุปลูกสูตรที่ 4 ปลูกฟักทองบัตเตอร์นัท</p> วิณากร ที่รัก, ฉัตรชัย เสนขวัญแก้ว , ภาคิณ หมั่นทุ่ง Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/261333 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทอง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/262237 <p>วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อแข็งที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดถั่งเช่าสีทอง และปริมาณที่เหมาะสมของแกลบและน้ำมะพร้าวในสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทอง พบว่า สูตรอาหารแข็งที่ให้การเจริญของเส้นใยเห็ดถั่งเช่าสีทองดีที่สุดคือ สูตรที่ 6 โดยใช้ไข่ไก่ผสมกับน้ำมะพร้าวร้อยละ 5 ต่อปริมาตรน้ำ 100 มิลลิลิตร ให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยเห็ดถั่งเช่าสีทองมากที่สุด 4.73 เซนติเมตร ซึ่งมากกว่า (p≤0.05) สูตรควบคุม (PDA) และสูตรอื่น ๆ การใช้แกลบปริมาณร้อยละ 0.83, 1.67, 2.50, 3.33 และ 4.17 ในอาหารเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองไม่มีความแตกต่าง (p&gt;0.05) ในจำนวนก้านดอก น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง แต่การใช้แกลบร้อยละ 2.50 ให้ความยาวของดอกเห็ดมากที่สุด (7.19 เซนติเมตร) แตกต่าง (p≤0.05) จากสูตรที่เติมแกลบในปริมาณน้อยกว่า ในงานวิจัยนี้พบว่า การเติมน้ำมะพร้าวแก่ให้ปริมาณก้านดอกเห็ด ความยาว และน้ำหนักมากกว่าการเติมน้ำมะพร้าวอ่อน นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้น้ำมะพร้าวแก่ร้อยละ 33.33 และ 41.67 ให้จำนวนก้านดอกเห็ดสูงสุดเท่ากับ 19.67 และ 19.33 ก้าน ตามลำดับ (p&gt;0.05) และให้น้ำหนักมากที่สุดแตกต่างจากตัวอย่างอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะเห็นได้ว่าการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรทั้งแกลบและน้ำมะพร้าว มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดถั่งเช่าสีทอง ซึ่งน้ำมะพร้าวแก่ช่วยให้การเจริญเติบโตของเห็ดถั่งเช่าสีทองดีกว่าน้ำมะพร้าวอ่อน นับเป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น</p> อรลัดา เจือจันทร์, นิภาวรรณ์ จิตโสภากุล , อุไรลักษณ์ พงษ์เกษ , หยาดนภา เจนรอบ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/262237 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 The study on the adaptation of light spectrum control in broiler barns https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/262359 <p>This study examined the effects of light intensity and duration in closed broiler barns, comparing traditional and dimmable lamps on broiler performance. Four groups of Arbor Acres female broilers (n=100,000 per group) were subjected to different lighting conditions for 45 days: (A) traditional lamp, 18-24h; (B) traditional lamp, 18-23h; (C) dimmable LED, 18-24h, fixed 56% intensity; (D) dimmable LED, 18-23h, adjusted 20-80% intensity. Body weight (BW), average daily gain (ADG), feed conversion ratio (FCR), and mortality rate (% Mortality) were evaluated using a randomized complete block design. Group D achieved the lowest FCR (1.6) and highest ADG (69.2 g/day), while group A had the highest final BW (2,823.0 g/bird) and lowest mortality rate (1.2%), though differences were not statistically significant (p&gt;0.05). Notably, groups with dimmable LEDs showed higher early-stage mortality. While controlling both light intensity and duration produced the best FCR results, the increased early mortality in these groups necessitates further investigation to optimize lighting programs that balance efficiency and bird welfare, particularly during the critical early growth phase.</p> Navavit Ponganan, Teerayut Horanont, Autsawin Suttiwichienchot, Ravipan Saleepon, Nattaya Prapaipanich Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/atj/article/view/262359 Wed, 22 Jan 2025 00:00:00 +0700