@article{เรืองปราชญ์_2013, title={การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าพื้นเมืองชาวลาวเวียงด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ}, volume={19}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/28631}, abstractNote={การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการทอผ้าพื้นเมืองจากภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวลาวเวียง 2) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อการทอผ้าพื้นเมืองตามโครงการฝึกปฏิบัติการทอผ้าฯ 3) พัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบมัลติมีเดียเกี่ยวกับการทอผ้าพื้นเมือง 4) บริหารจัดการโครงการฝึกปฏิบัติการทอผ้าพื้นเมืองเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาวเนินขาม จังหวัดชัยนาท เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้สร้างหลักสูตรโครงการฝึกปฏิบัติการทอผ้าพื้นเมืองเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาวเนินขาม จังหวัดชัยนาท ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ได้ทำการทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1-3 รวม 2 โรงเรียนๆ ละ 15 คน ฝึกปฏิบัติการทอผ้าฯ รวม 8 ครั้งๆ ละ 5 ชั่วโมง โดยใช้หลักการบริหารโครงการ เริ่มตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงานตามแผน ระยะเวลา การสอนของอาจารย์และปราชญ์ชาวบ้าน งบประมาณที่ใช้ วัสดุอุปกรณ์ กี่ทอผ้า  และการติดตามประเมินผล ผลการวิจัย พบว่า ชาวลาวเวียง มีการทอผ้าพื้นเมืองจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นการสืบสานจากบรรพบุรุษ เฉพาะที่มีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าที่ตำบลเนินขาม รวม 7 กลุ่ม จำนวน 62 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และที่ตำบลสุขเดือนห้า มีการทอผ้าเฉพาะที่ หมู่บ้านวังคอไห 1 กลุ่ม จำนวน 5 ครัวเรือนเท่านั้น ผลการทดลองฝึกปฏิบัติการทอผ้าฯของนักเรียน พบว่า หลังการเข้าโครงการมีความรู้ และสามารถทอผ้าพื้นเมืองได้สูงกว่าก่อนเข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการทอผ้าในระดับมากถึงมากที่สุด มีการพัฒนาสื่อการเรียนแบบมัลติมีเดีย เช่น เนื้อหา ภาษา ภาพและตัวอักษรเป็นต้นให้เหมาะสมกับนักเรียน และจากการประเมินผลการบริหารโครงการฝึกปฏิบัติการทอผ้าฯ เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ เป็นผลให้นักเรียนมีความสามารถในการทอผ้าได้อย่างที่ไม่เคยทอมาก่อน การที่นักเรียนทอผ้าพื้นเมืองได้นี้เป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี}, number={37}, journal={จันทรเกษมสาร}, author={เรืองปราชญ์ วรรณา}, year={2013}, month={ธ.ค.}, pages={11–20} }