@article{วราสินธ์_2017, title={ปี่ใน: บทบาทในวงปี่พาทย์}, volume={23}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/90351}, abstractNote={<p>            ดนตรีไทยมีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันทั้งในเรื่องของการปรับเปลี่ยนรูปแบบของวงดนตรีไทย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติมเครื่องดนตรีให้มากชิ้นขึ้น เพื่อเพิ่มอรรถรสในการฟังดนตรี รวมถึงการพัฒนารูปแบบของวงปี่พาทย์ นอกจากนี้ยังมีการรับวัฒนธรรมดนตรีของประเทศเพื่อนบ้านมาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นวงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์มอญ และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ในขณะที่การปรับเปลี่ยนของวงปี่พาทย์เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ นั้น ปี่ใน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เพียงชิ้นเดียวที่มีบทบาทในวงปี่พาทย์ที่เกือบจะครอบคลุมทุกวงปี่พาทย์</p><p>            ปี่ในมีบทบาทในการเป็นผู้ช่วยผู้นำวงและบางเวลาเป็นผู้นำวงเอง มีลักษณะการบรรเลงแบบโหยหวนบ้าง เก็บบ้าง ตามลักษณะของปี่ การสร้างสำนวนยึดจากทำนองหลัก และบางครั้งมีการหยิบยืมสำนวนของเครื่องดนตรีชนิดอื่นมาใช้ นอกจากนี้มีการสอดแทรกเทคนิคเฉพาะ ระหว่างการดำเนินทำนองในทางเสียงยาว คือ การระบายลม เพื่อให้เสียงปี่ดังกังวานอยู่ตลอดเวลา</p>}, number={44}, journal={จันทรเกษมสาร}, author={วราสินธ์ วรวิทย์}, year={2017}, month={มิ.ย.}, pages={1–16} }