@article{พวงกำหยาด_2017, title={การนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1}, volume={23}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/90360}, abstractNote={<p>               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 4) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 5) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 จำนวน 338 คน ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติเบื้องต้น ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์ข้อมูลถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาล แห่งละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์โดยการตีความ</p><p>        ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับธรรมาภิบาลของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ มีความสัมพันธ์กับการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติทั้ง 10 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยด้านการวางแผน ด้านสภาพแวดล้อมด้านการประเมินผล ด้านองค์การ/หน่วยงาน ด้านบุคลากร ด้านนโยบาย และด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ที่สามารถทำนายความเป็นไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ ได้แก่ปัญหาด้านนโยบาย ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาการขาดความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ปัญหาการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาลปัญหาด้านการประเมินผล การปฏิบัติงานและปัญหาด้านผู้บริหารของเทศบาล</p>}, number={44}, journal={จันทรเกษมสาร}, author={พวงกำหยาด ชาญยุทธ}, year={2017}, month={มิ.ย.}, pages={49–63} }