TY - JOUR AU - อ่องวุฒิวัฒน์, สิทธิธรรม PY - 2017/12/07 Y2 - 2024/03/29 TI - การตอบรับการแสดงความไม่เห็นด้วยในภาษาไทย: การศึกษากลวิธีทางภาษาและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจ JF - จันทรเกษมสาร JA - chandrakasemsarn VL - 23 IS - 45 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/106460 SP - 81-96 AB - <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่กลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทย ใช้ตอบรับการแสดงความไม่เห็นด้วย และเพื่อศึกษาข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่าง ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบแสดงความไม่เห็นด้วยตามแนวคิดวัจนปฏิบัติศาสตร์แนวปลดปล่อย (Emancipatory Pragmatics) โดยใช้แบบสอบถามประเภท Discourse Completion Test (DCT) จากกลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งจากคณะทางวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ชั้นปีที่1 ถึงชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวน 100 คน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างอีกจำนวน 30 คน (จากกลุ่มตัวอย่างเดิมด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง)</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีทางภาษาแบบลดน้ำหนักความรุนแรงในการตอบแสดงความไม่เห็นด้วยมากกว่ากลวิธีทางภาษาแบบตรงไปตรงมา ส่วนข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบแสดงความไม่เห็นด้วยมี 2 ส่วน คือ 1. ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยในส่วนที่เป็นวัตถุประสงค์ของการสนทนา และ 2. ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยในส่วนที่เป็นปริบทของการสนทนา โดยการรักษาความสัมพันธ์ของคู่สนทนาเป็นข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจหรือปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่คำนึงถึงมากที่สุดในการใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบแสดงความไม่เห็นด้วย พฤติกรรมทางภาษาดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม 5 ประการ ได้แก่ 1) การมีมุมมองตัวตนแบบพึ่งพา 2) ความเป็นสังคมแบบอิงกลุ่ม 3) ความเป็นสังคมแบบไมตรีสัมพันธ์ 4) ความเป็นสังคมแบบให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ 5) ความเป็นวัฒนธรรมปริบทสูง</p> ER -