TY - JOUR AU - เชื้อน้อย, อรวรรณ PY - 2020/06/29 Y2 - 2024/03/28 TI - เจดีย์คู่ของศาสนสถานในสมัยอยุธยา JF - จันทรเกษมสาร JA - chandrakasemsarn VL - 26 IS - 1 SE - บทความวิชาการ DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/159752 SP - 45-60 AB - <p>บทความนี้เป็นการศึกษางานศิลปกรรมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี ความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระบบแผนผังของศาสนสถานในสมัยอยุธยา โดยพิจารณาจากรูปแบบ งานศิลปกรรม ขนาดและตำแหน่งที่ตั้งของเจดีย์คู่ที่สามารถนำมาเป็นตัวกำหนดอายุสมัยของ ศาสนสถานแต่ละแห่ง โดยใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ศิลปะในการศึกษาวิเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้ แบ่งประเด็นออกเป็น 1) ความนิยมการทำเจดีย์คู่ พิจารณาจาก 1.1) ตำแหน่งที่ตั้งของเจดีย์คู่ พบทั้งเจดีย์คู่ ที่ตั้งอยู่หน้าอาคารหลังคาคลุมและเจดีย์คู่ ที่ตั้งอยู่ หลังอาคารหลังคาคลุม 1.2) รูปแบบลักษณะของเจดีย์คู่ พบว่า มีหลากหลายลักษณะดังนี้ เจดีย์ ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม เจดีย์ทรงระฆัง และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม แสดงให้เห็น พัฒนาการทางด้านรูปแบบศิลปกรรมที่อยู่ในช่วงสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมา ซึ่งสอดคล้อง กับประเด็นที่ 2) ที่มาและมูลเหตุการทำเจดีย์คู่ ที่สะท้อนถึงพัฒนาการของระบบแผนผังของวัด ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ที่ลดความสำคัญและขนาดของเจดีย์ประธาน แต่กลับให้ความสำคัญกับ อาคารหลังคาคลุม จนทำให้เจดีย์ที่มีขนาดและลักษณะเหมือนกัน 2 องค์ เป็นเพียงเจดีย์ประดับ ของวัด</p> ER -